วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
คุยกัน7วันหน : นักวิทยาศาสตร์เตือน  โลกอยู่ในจุดวิกฤติของสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง

คุยกัน7วันหน : นักวิทยาศาสตร์เตือน โลกอยู่ในจุดวิกฤติของสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง

วันอาทิตย์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : คุยกัน7วันหน
  •  

นักวิทยาศาสตร์นับหมื่นคนทั่วโลก ลงนามในบทความที่เผยแพร่ผ่านนิตยสารวิทยาศาสตร์ BioScience เมื่อไม่กี่วันก่อน ย้ำข้อเรียกร้องที่ให้ผู้นำโลกมีมาตรการที่จริงจัง เพื่อรับมือกับวิกฤติสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง หลังจาก 2 ปีก่อนมีนักวิทยาศาสตร์มากกว่า 10,000 คนจาก 150 ประเทศ ที่ได้ร่วมลงนามประกาศ “ความเร่งด่วนของสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงของโลก” และในปีนี้ มีนักวิทยาศาสตร์เพิ่มอีกกว่า 2,800 คน ที่ร่วมลงนามเรียกร้องให้ปกป้องชีวิตบนโลกใบนี้

ฟิลิป ดัฟฟี่ กรรมการบริหาร สถาบันวิจัยสภาพอากาศวู้ดเวลล์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ของสหรัฐฯ บอกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่เลวร้ายที่เราเผชิญมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยที่ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเหตุน้ำท่วม ไฟป่าที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ ก็แสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนที่เราต้องเร่งดำเนินการต่อวิกฤติสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงนี้แล้ว


นับตั้งแต่การประกาศเมื่อปี 2019 โลกของเราก็ยังเผชิญกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายเกี่ยวข้องกับสภาวะอากาศ โดยในรายงานการศึกษา นักวิจัยได้อาศัย “สัญญาณชีพ”ในการวัดสุขภาพของดาวเคราะห์ดวงนี้ ซึ่งรวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, ความหนาแน่นของธารน้ำแข็ง, ขอบเขตน้ำแข็งในทะเล และการตัดไม้ทำลายป่า โดยพบว่า จาก 31 สัญญาณเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า มีอย่างน้อย 18 สัณญาณ ที่พบว่ากำลังทำสถิติสูงสุด หรือต่ำสุด เป็นประวัติการณ์ ขณะที่ปี 2020 ที่ผ่านมา เป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับที่ 2 นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการบันทึกอุณหภูมิ และพบว่าช่วงต้นปีนี้ ความหนาแน่นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนชั้นบรรยากาศของโลก สูงกว่าช่วงเวลาใดๆนับตั้งแต่ที่เริ่มต้นวัดค่ากันมา

คณะนักวิจัยยังระบุด้วยว่า ปริมาตรของนำแข็งในกรีนแลนด์ และแอนตาร์กติกา อยู่ในระดับ“ต่ำ” ที่สุด นับตั้งแต่มีการบันทึกมาโดยพบว่า น้ำแข็งละลายเร็วขึ้นกว่าเมื่อ 15 ปีที่แล้วถึง 31% และขณะเดียวกัน ปี 2020 ป่าแอมะซอนในบราซิลยังถูกทำลายไปมากที่สุดในรอบ 12 ปี

ทิม เลนทัน ผู้อำนวยการ Global Systems Institute แห่งมหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ในอังกฤษ และเป็นผู้ร่วมเขียนงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า คลื่นความร้อนที่ทำสถิติในแถบตะวันตกของสหรัฐฯและแคนาดาก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า สภาวะอากาศ พร้อมที่จะเริ่ม “รุนแรงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้” เลนทัน บอกว่า เราต้องตอบสนองต่อหลักฐานที่ว่า เรากำลังอยู่ในจุด “วิกฤติ” ด้วยการเดินหน้ามาตรการที่เป็นรูปธรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเริ่มต้นการฟื้นคืนธรรมชาติ มากกว่าที่จะทำลาย

ขณะเดียวกัน รายงานวิจัยจากสถาบันโลก แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจในวารสาร Nature Communications ว่า ในสิ้นทศวรรษนี้ หรือปี 2100 อาจมีประชากรโลกต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อนมากถึง 83 ล้านคน เทียบเท่ากับจำนวนประชากรในเยอรมนีทั้งประเทศ โดยการปล่อยก๊าซคาร์บอนทุกๆ 4,434 ตัน สู่ชั้นบรรยากาศโลกจะคร่าชีวิต 1 คน ในสิ้นทศวรรษนี้ และมีโอกาสที่โลกใบนี้จะร้อนขึ้นถึง 4.1 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100

แล้วเราจะตอบสนองได้อย่างไร?

นักวิจัยย้ำถึงข้อเรียกร้องในการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี 3 ข้อเรียกร้องฉุกเฉินที่ต้องจัดการในทันที คือ

1.ยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

2.เริ่มต้นการเก็บภาษีคาร์บอน

3.ฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น คาร์บอน ซิงค์ (carbon sinks) หรือ อ่างเก็บคาร์บอน และ พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity hotspots)

นักวิจัยยังย้ำด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ควรรวมอยู่ในหลักสูตรการเรียนในโรงเรียนทั่วโลก เพื่อสร้างความตระหนักตั้งแต่วัยเด็ก และควรบอกถึงสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้เกิดวิกฤติสภาพภูมิกาศ นั่นคือ “การที่มนุษย์ใช้ประโยชน์จากโลกใบนี้มากจนเกินไป”

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คุยกัน7วันหน : ทรัมป์ยิ้มรับเครื่องบินจากกาตาร์ ระบุ \'คนโง่เท่านั้น\' ที่ปฏิเสธของขวัญชิ้นนี้ คุยกัน7วันหน : ทรัมป์ยิ้มรับเครื่องบินจากกาตาร์ ระบุ 'คนโง่เท่านั้น' ที่ปฏิเสธของขวัญชิ้นนี้
  • คุยกัน7วันหน : เมื่อชาวจีนเปิดใจพูดคุยเกี่ยวกับ ‘ความตาย’ มากขึ้น คุยกัน7วันหน : เมื่อชาวจีนเปิดใจพูดคุยเกี่ยวกับ ‘ความตาย’ มากขึ้น
  • คุยกัน7วันหน : ​วิเคราะห์-เจาะลึก ใครจะได้เป็น ‘สมเด็จพระสันตะปาปา’ พระองค์ใหม่ คุยกัน7วันหน : ​วิเคราะห์-เจาะลึก ใครจะได้เป็น ‘สมเด็จพระสันตะปาปา’ พระองค์ใหม่
  • คุยกัน7วันหน : จีนผนึกกำลัง ‘อาเซียน’ รับมือกำแพงภาษีทรัมป์ คุยกัน7วันหน : จีนผนึกกำลัง ‘อาเซียน’ รับมือกำแพงภาษีทรัมป์
  • คุยกัน7วันหน : จับตาศึกยก 2 สังเวียนการค้าโลก คุยกัน7วันหน : จับตาศึกยก 2 สังเวียนการค้าโลก
  • คุยกัน7วันหน : มิน อ่อง หล่าย เยือนไทย  ประชุม BIMSTEC ‘ได้หรือเสีย’ คุยกัน7วันหน : มิน อ่อง หล่าย เยือนไทย ประชุม BIMSTEC ‘ได้หรือเสีย’
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved