วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
คุยกัน7วันหน : สงครามภาษีถล่มโลก ทรัมป์ 2.0 จุดไฟสงครามเศรษฐกิจ

คุยกัน7วันหน : สงครามภาษีถล่มโลก ทรัมป์ 2.0 จุดไฟสงครามเศรษฐกิจ

วันอาทิตย์ ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2568, 07.42 น.
Tag : ภาษี เศรษฐกิจโลก คุยกัน7วันหน
  •  

หลังจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ สมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา เขาได้ย้ำถึงนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” (America First) ที่เคยเป็นจุดขายหลักตั้งแต่ดำรงตำแหน่งสมัยแรก ทรัมป์ระบุชัดเจนว่า จะใช้มาตรการภาษีนำเข้าเป็นเครื่องมือหลัก ในการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ ลดการขาดดุลการค้า และจัดการปัญหายาเสพติดกับผู้อพยพผิดกฎหมาย

ในวันเดียวกัน เขาเซ็นคำสั่งบริหารแรกในฐานะประธานาธิบดี โดยสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) จัดทำรายงานเกี่ยวกับนโยบายการค้าและข้อเสนอแนะเรื่องภาษีภายในวันที่ 1 เมษายน 2568 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินนโยบายต่อไป


จากนั้นเป็นต้นมา ทรัมป์เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าอย่างดุเดือด เริ่มจากแคนาดา-เม็กซิโก 25% จีน 10-20% เหล็ก-อะลูมิเนียมทั่วโลก 25% และล่าสุดขู่เก็บ 200% กับไวน์-สุรายุโรป มาตรการเหล่านี้ สะท้อนถึงความเร่งด่วนของทรัมป์ในการเริ่มต้นนโยบายกีดกันทางการค้า ซึ่งชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายที่มุ่งเน้นการกดดันคู่ค้าหลักอย่าง จีน แคนาดา และเม็กซิโก รวมถึงสหภาพยุโรป ที่ทรัมป์มองว่า เอาเปรียบสหรัฐฯ ทางการค้ามาโดยตลอด

ติดตามไทม์ไลน์นโยบายขึ้นภาษีของทรัมป์ ที่กำลังจุดชนวนสงครามการค้าโลกให้ระอุอยู่ในขณะนี้

1 ก.พ. 2568 : ประกาศขึ้นภาษีรอบแรก

ทรัมป์ประกาศผ่านโฆษกทำเนียบขาว ว่า จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโกในอัตราร้อยละ 25 และจากจีนร้อยละ 10 โดยใช้เหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ อ้างว่าการลักลอบนำเข้าเฟนทานิล และผู้อพยพผิดกฎหมายจากชายแดนเป็น “ภัยคุกคามฉุกเฉิน” ตามอำนาจของกฎหมายInternational Emergency Economic Powers Act (IEEPA) มาตรการนี้ถูกกำหนดให้มีผลทันทีในวันที่ 4 ก.พ. แต่หลังจากการเจรจาระดับสูงกับแคนาดาและเม็กซิโก ทั้ง 2 ประเทศได้รับการผ่อนผันชั่วคราว 30 วัน ขณะที่ภาษีจีนยังคงเริ่มตามกำหนด

การตัดสินใจนี้ส่งผลกระทบต่อสินค้าทุกประเภทจากจีน รวมถึงสินค้าอุปโภค-บริโภค เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเสื้อผ้า ส่วนแคนาดาและเม็กซิโกได้รับคำมั่นว่าจะเพิ่มการควบคุมชายแดนเพื่อลดการไหลเข้าของยาเสพติด

-จัสติน ทรูโด อดีตนายกรัฐมนตรีของแคนาดา เรียกประชุมฉุกเฉินและประกาศแผนเก็บภาษีตอบโต้สินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 107,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะทยอยบังคับใช้ เช่น เหล็กกล้า อะลูมิเนียม และสินค้าเกษตร

-ประธานาธิบดีม็กซิโก ออกคำแถลงว่าจะตอบโต้ในระดับที่เหมาะสม พุ่งเป้าไปที่สินค้าส่งออกหลักของสหรัฐฯ เช่น ข้าวโพดและเนื้อหมู

-กระทรวงพาณิชย์จีนยื่นฟ้องต่อ WTO ทันที และเพิ่มภาษีสินค้าสหรัฐฯ เช่น ถ่านหินร้อยละ 15 ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ร้อยละ 15 และน้ำมันดิบร้อยละ 10มีผลตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา

27 ก.พ. 2568 : ทรัมป์ยันขึ้นภาษีแคนาดา-เม็กซิโก

ทรัมป์ยืนยันผ่านการแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวว่าจะเดินหน้าภาษีร้อยละ 25 กับแคนาดาและเม็กซิโกตามกำหนดวันที่ 4 มี.ค. พร้อมเพิ่มภาษีจีนอีกร้อยละ10 (รวมเป็นร้อยละ 20) โดยระบุว่า “เราให้โอกาสแล้ว แต่พวกเขาไม่ทำตามสัญญาเรื่องชายแดน” การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นหลังรายงานจากกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิระบุว่าการลักลอบนำเข้าเฟนทานิลยังคงสูงเกินเป้าที่ตกลงไว้

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ผลักดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนัก โดยดัชนี S&P 500 ปิดลบร้อยละ 1.7 ซึ่งเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ ธ.ค. 2567 เนื่องจากความกังวลต่อต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น

ส่วนแคนาดาเริ่มแคมเปญบอยคอตต์สินค้าสหรัฐฯ ในระดับประชาชนโดยเฉพาะสินค้าอย่าง โคคา-โคล่า สุรา ไวน์ เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ และผลิตภัณฑ์จากฟอร์ด

4 มี.ค. 2568 : ภาษีแคนาดา-เม็กซิโกมีผล

มาตรการขึ้นภาษีร้อยละ 25 กับสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโก เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ตามเวลาสหรัฐฯ พร้อมกับภาษีจีนที่เพิ่มเป็นร้อยละ 20ส่งผลกระทบต่อสินค้ามูลค่ากว่า 900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น รถยนต์จากเม็กซิโกและน้ำมันจากแคนาดา มาตรการนี้ทำให้ราคาน้ำมันและสินค้าอุปโภคในสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นทันที โดยเฉพาะในรัฐที่พึ่งพาการนำเข้าจากทั้ง 2 ประเทศ

ด้านเม็กซิโก ประกาศเก็บภาษีตอบโต้สินค้าสหรัฐฯ เช่น ผลไม้และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มูลค่า 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแคนาดา ออกมาตรการเฟสแรก มูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ราว 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พุ่งเป้าไปที่สินค้าอย่างเหล็กและชีส

6 มี.ค. 2568 : ผ่อนผันบางส่วน

หลังจากทรัมป์พบปะกับผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ เช่น ฟอร์ด, GM และ สเตลลันติส ทรัมป์เซ็นคำสั่งยกเว้นภาษีชั่วคราวสำหรับสินค้ายานยนต์จากแคนาดาและเม็กซิโกจนถึงวันที่2 เม.ย. รวมถึงผ่อนผันสินค้าที่สอดคล้องกับข้อตกลง USMCA (United States-Mexico-Canada Agreement) ซึ่งครอบคลุมการค้าประมาณร้อยละ 38 จากทั้ง 2 ประเทศ การตัดสินใจนี้เกิดจากแรงกดดันของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ระบุว่าภาษีจะกระทบ Supply chain ข้ามชาติอย่างหนัก

12 มี.ค .2568 : ภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมทั่วโลก

ทรัมป์ประกาศเก็บภาษีร้อยละ 25 กับเหล็กและอะลูมิเนียมที่นำเข้าจากทุกประเทศทั่วโลก โดยใช้ Section 232 ของ Trade Expansion Act of 1962 อ้างถึงความมั่นคงแห่งชาติ มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2568 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อแคนาดา เนื่องจากเป็นผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ และเม็กซิโก มาตรการนี้คล้ายกับนโยบายในสมัยแรกของทรัมป์ แต่คราวนี้ยกเลิกข้อยกเว้นทั้งหมดที่เคยให้ไว้กับบางประเทศ

14 มี.ค. 2568 : ขู่ภาษีไวน์และสุรายุโรปร้อยละ 200

ทรัมป์ขู่เก็บภาษีนำเข้าร้อยละ200 กับไวน์ คอนญัก และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากยุโรป เขาระบุว่าเป็นการตอบโต้แผนของอียูที่จะเก็บภาษีวิสกี้อเมริกันร้อยละ 50 ในเดือนเม.ย. ซึ่งอียูเองก็ตั้งใจตอบโต้ภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมของสหรัฐฯ ที่เริ่มเมื่อ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา

อุตสาหกรรมสุราข้อมูลปี 2566 สหรัฐฯ ส่งออกไปอียูราวร้อยละ 40 ของทั้งหมด ขณะที่ยุโรปส่งออกไวน์และสุราร้อยละ 31 มายังสหรัฐฯ การขู่ขึ้นภาษีร้อยละ 200 จะทำให้ราคาไวน์ฝรั่งเศสและคอนญักพุ่งสูงในสหรัฐฯ

อียูไม่นิ่งเฉย เตรียมมาตรการตอบโต้ มูลค่า 26,000 ล้านยูโร ครอบคลุมสินค้าหลากหลาย เช่น ไหมขัดฟัน เสื้อคลุมอาบน้ำ และ สินค้าอุปโภค

ทำไมทรัมป์รีดภาษีสินค้าต่างประเทศดุเดือด?

ที่มาสำคัญน่าจะมาจากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า ตัวเลขขาดดุลงบประมาณในช่วง5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2568ระหว่างเดือนตุลาคมปีที่แล้วถึงกุมภาพันธ์ปีนี้ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่1.147 ล้านล้านดอลลาร์ รวมถึงตัวเลขขาดดุลงบประมาณ 3.07 แสนล้านดอลลาร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นเดือนแรกที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งครบเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4จากปีก่อน

ตัวเลขขาดดุลงบประมาณในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งรวมถึงเวลาเกือบ 4 เดือน จนถึงวันที่ 20 มกราคม ภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ทำลายสถิติเดิมที่ 1.047ล้านล้านดอลลาร์ ระหว่างเดือนตุลาคมปี 2563 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลใช้จ่ายมหาศาลกับวิกฤตโควิดและมีรายรับจำกัด

ตัวเลขขาดดุลงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้น 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว เนื่องจากรายจ่ายดอกเบี้ยหนี้ที่กู้ยืมมา รวมถึงประกันสังคม และสวัสดิการด้านสาธารณสุข สูงกว่ารายรับของรัฐบาล

แล้วผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องทำอย่างไร?

-เตรียมรับราคาที่สูงขึ้น เช่น รถยนต์ อาหาร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ Tax Foundation ประเมินว่าภาษีจากจีนอาจเพิ่มต้นทุนครัวเรือนละ 329 ดอลลาร์/ปี

-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ ไปเป็นการซื้อสินค้าท้องถิ่น ที่อาจช่วยลดผลกระทบ แต่ผู้เชี่ยวชาญก็เตือนว่าผู้ผลิตในสหรัฐฯ มักมีพฤติกรรมปรับราคาขึ้นตามคู่แข่งนำเข้า ทำให้การ “ซื้อของอเมริกัน” หรือสินค้าท้องถิ่น อาจไม่ได้ช่วยมากนัก และอาจก่อให้เกิดปัญหาการซื้อล่วงหน้าหรือกักตุนสินค้าขึ้นมาได้

-วางแผนทางการเงิน ผู้บริโภคต้องคอยติดตามสถานการณ์เนื่องจาก การเจรจาของทั้งทรัมป์และประเทศคู่ค้าที่ปรับเปลี่ยนได้ในแต่ละวัน

โดย ดาโน โทนาลี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คุยกัน7วันหน : ทรัมป์ยิ้มรับเครื่องบินจากกาตาร์ ระบุ \'คนโง่เท่านั้น\' ที่ปฏิเสธของขวัญชิ้นนี้ คุยกัน7วันหน : ทรัมป์ยิ้มรับเครื่องบินจากกาตาร์ ระบุ 'คนโง่เท่านั้น' ที่ปฏิเสธของขวัญชิ้นนี้
  • คุยกัน7วันหน : เมื่อชาวจีนเปิดใจพูดคุยเกี่ยวกับ ‘ความตาย’ มากขึ้น คุยกัน7วันหน : เมื่อชาวจีนเปิดใจพูดคุยเกี่ยวกับ ‘ความตาย’ มากขึ้น
  • คุยกัน7วันหน : ​วิเคราะห์-เจาะลึก ใครจะได้เป็น ‘สมเด็จพระสันตะปาปา’ พระองค์ใหม่ คุยกัน7วันหน : ​วิเคราะห์-เจาะลึก ใครจะได้เป็น ‘สมเด็จพระสันตะปาปา’ พระองค์ใหม่
  • คุยกัน7วันหน : จีนผนึกกำลัง ‘อาเซียน’ รับมือกำแพงภาษีทรัมป์ คุยกัน7วันหน : จีนผนึกกำลัง ‘อาเซียน’ รับมือกำแพงภาษีทรัมป์
  • คุยกัน7วันหน : จับตาศึกยก 2 สังเวียนการค้าโลก คุยกัน7วันหน : จับตาศึกยก 2 สังเวียนการค้าโลก
  • คุยกัน7วันหน : มิน อ่อง หล่าย เยือนไทย  ประชุม BIMSTEC ‘ได้หรือเสีย’ คุยกัน7วันหน : มิน อ่อง หล่าย เยือนไทย ประชุม BIMSTEC ‘ได้หรือเสีย’
  •  

Breaking News

‘อิ๊งค์’ให้กำลังใจ3ทหารบาดเจ็บช่องบก-ครอบครัว รับปากรบ.จะไม่ให้เกิดเหตุกระทบขวัญกำลังใจผู้ปฏิบัติงานไปมากกว่านี้

เขย่ามหาดไทย!‘ภูมิธรรม’สั่งสอบ‘สถ.’ปมเอกสารแจงงบกระตุ้นศก.หลุด พร้อมสั่งเกลี่ยใหม่

‘ภูมิธรรม’รอ‘สมช.’เสนอขอใช้งบกลางช่วยเหลือ‘แคมป์ผู้ลี้ภัย’หลังสหรัฐตัดงบ

'สิริพงศ์'ฟาดกลับ'ทักษิณ'ไม่รู้ผู้นำเขมรมีจริยธรรมหรือไม่ แต่ผู้นำไทยเรียก'อังเคิล' อยากได้ไรบอก!

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved