วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / สถานีพัฒนาสังคม
สถานีพัฒนาสังคม

สถานีพัฒนาสังคม

สถานีพัฒนาสังคม
วันเสาร์ ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

ดูทั้งหมด

  •  

(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)

นิยาม “คนพิการทางจิตสังคม”


“คนพิการทางจิตสังคม” มีนิยามในแต่ละกฎหมายแตกต่างกัน อาทิ (๑) กฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้แก่ คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ตามเกณฑ์การประเมินของจิตแพทย์ ซึ่งต้องเป็นคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคจิตเวชอย่างน้อย ๑ ปี ได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเหมาะสมแล้ว แต่ยังไม่กลับคืนมาเหมือนเดิม (๒) กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต จะใช้คำว่า“ผู้ป่วย” โดยรวมถึงคนพิการทางจิตสังคมด้วย (๓) สมาคมคนพิการ เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ผู้บกพร่องทางจิต”

ประเด็นทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการของคนพิการทางจิตสังคม

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ มีข้อบทที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทางจิตสังคม ที่สำคัญ ดังนี้

ข้อบทที่ ๑๒ เรื่อง การยอมรับอย่างเท่าเทียมกันเบื้องหน้ากฎหมายความสามารถทางกฎหมาย (LegalCapacity) การตัดสินใจโดยได้รับการสนับสนุน (Supported Decision-Making) ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ยังสับสนในเรื่องคนพิการทางจิตสังคมกับบุคคลไรความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ทำให้ผู้ดูแลหรือคนแวดล้อม กระทั่งนักวิชาชีพจำนวนไม่น้อยก็ยับยั้งการขอมีบัตรคนพิการ ด้วยความปรารถนาดีเพราะเกรงว่าบุคคลนั้นจะเสียสิทธิตามกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ตัดสินใจแทนคนพิการ ทางจิตสังคมในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย การรักษาพยาบาล ส่วนอีกด้านหนึ่งผู้บังคับใช้กฎหมายส่วนหนึ่งก็เข้าใจผิดว่าคนพิการทางจิตสังคมไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของตน ทำให้มีการใช้เรื่องนี้ในทางที่ผิด

(๒)ข้อบทที่ ๕ เรื่อง ความเท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ ในประเด็นด้านการศึกษาและการจ้างงาน คนพิการทางจิตสังคมจำนวนมากต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากผลกระทบจากโรคจิตเวชขณะอยู่ในวัยเรียน โดยบุคลากรและเพื่อนนักเรียน นักศึกษามักไม่เข้าใจสภาวะของผู้ป่วย ไม่มีกลไกสนับสนุนเพียงพอ ด้วยเหตุผลเดียวกันคนพิการทางจิตสังคม จึงมีโอกาสได้รับเข้าทำงานน้อยกว่าคนอื่นๆ แม้กระทั่งเมื่อเทียบกับคนพิการด้านอื่นๆ

(๓)ข้อบทที่ ๑๔ เรื่อง เสรีภาพและความมั่นคงของบุคคล คนพิการทางจิตมักถูกกักขัง จำกัดเสรีภาพ ขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล อีกจำนวนหนึ่งก็จะถูกคนในครอบครัวที่ขาดความรู้ความเข้าใจล่ามขัง การขาดการศึกษาและหน้าที่การงานก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนพิการทางจิตต้องพึ่งพิงผู้อื่นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ขาดความมั่นคง

(๔)ข้อบทที่ ๑๕ เรื่อง เสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการลงโทษ หรือการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ตราบาปและความรุนแรงต่อคนพิการทางจิตด้วยวาจาและการกระทำในระบบการดูแล การรักษาพยาบาล ระบบการผูกมัดยังมีอยู่

(๕)ข้อบทที่ ๑๖ เรื่อง เสรีภาพจากการแสวงประโยชน์ การใช้ความรุนแรง และการล่วงละเมิด คนพิการทางจิตสังคมตกเป็นเหยื่อเนื่องจากข้อจำกัดในการคิด การรับรู้และการตัดสินใจ ทั้งๆ ที่สังคมส่วนใหญ่ตีตราว่าคนพิการทางจิตเป็นคนที่ใช้ความรุนแรง

(๖)ข้อบทที่ ๑๙ เรื่อง การอยู่อย่างอิสระและเป็นส่วนหนึ่งในชุมชน ในปัจจุบันนอกจากการส่งต่อยาจิตเวชไปยังคนในชุมชนผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แล้ว บริการในชุมชนที่จะสนับสนุนคนพิการทางจิตสังคมให้อยู่ได้อย่างราบรื่นในชุมชนยังไม่มี รวมทั้งบริการดูแลของภาคเอกชนซึ่งยังไม่มีการจดทะเบียนก็ยังเป็นไปในลักษณะจำกัดอิสรภาพคนพิการทางจิตเช่นเดียวกัน

(๗) ข้อบทที่ ๒๓ เรื่อง การเคารพสิทธิในการสร้างครอบครัว คนพิการทางจิตสังคมส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว โดยคนส่วนใหญ่ยังมองว่าคนพิการทางจิตสังคมไม่ควรมีครอบครัว อันเป็นที่มาของการทำหมันโดยผู้ดูแลตัดสินใจแทน

(๘) ข้อบทที่ ๒๕ เรื่อง การเข้าถึงบริการสุขภาพและประกันสุขภาพ การแยกส่วนการรักษาสุขภาพจิตกับสุขภาพกาย ทำให้คนพิการทางจิตหลายครั้งถูกปฏิเสธหรือถูกละเลยการรักษาสุขภาพกาย สำหรับเรื่องประกันชีวิตและสุขภาพ ประกันชีวิตเอกชนไม่คุ้มครองสุขภาพและชีวิตคนพิการทางจิตสังคม/ผู้ป่วยทางจิต ทั้งการมีประวัติการรักษาทางจิตเวชอาจทำให้กรมธรรม์ที่ถืออยู่เป็นโมฆะได้

(๙) ข้อบทที่ ๒๖ เรื่อง การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยเร็วในชุมชน ซึ่งปัจจุบันกรมสุขภาพจิตมีนโยบายบูรณาการบริการจิตเวชเข้ากับระบบการดูแลรักษาปฐมภูมิ แต่การส่งเสริมป้องกัน การดูแลรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนก็ยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากความจำกัดด้านงบประมาณ สถานบริการ และบุคลากรในการให้บริการทางสุขภาพจิต

(๑๐) ข้อบทที่ ๒๗ เรื่อง งานและการจ้างงานสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการเชิงบวกเรื่องโควตาการจ้างงานคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็ยังไม่ค่อยเปิดโอกาสให้คนพิการทางจิตสังคม โดยระเบียบการรับสมัครงานของภาครัฐมักกำหนดเรื่องลักษณะต้องห้ามข้อหนึ่งไว้ว่า “คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ” โดยเหมารวมคนที่มีประวัติการรักษาพยาบาลทางจิตเวชด้วย ซึ่งส่งผลกระทบให้ปฏิเสธการรับคนพิการทางจิตสังคมเข้าทำงาน

(๑๑) ข้อบทที่ ๒๘ เรื่อง มาตรฐานความเป็นอยู่และความคุ้มครองทางสังคมอย่างเพียงพอ ความจำกัดทางการศึกษาและการจ้างงานส่งผลอย่างมากต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนพิการทางจิตสังคม แม้ปัจจุบันภาครัฐได้จัดสวัสดิการหลายอย่างสำหรับคนที่ยากลำบากรวมถึงคนพิการแต่ก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

(๑๒ )ข้อบทที่ ๒๙ เรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองและเรื่องสาธารณะ เนื่องด้วยคนพิการทางจิตสังคมจำนวนมากโดยเฉพาะคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคจิตเภท ประเด็นสำคัญๆ ทางสังคมและการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นสิ่งหนึ่งที่ได้รับการขยายความสำคัญในความคิดหลงผิด แต่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงนั้น อาจถูกจำกัดด้วยลักษณะต้องห้ามว่า “วิกลจริตจิตฟั่นเฟือน”

(๑๓) ข้อบทที่ ๓๐ เรื่อง การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม นันทนาการ การผ่อนคลายยามว่างและกีฬา ความพิการทางจิตสังคมเป็นความพิการที่มองไม่เห็นทำให้คนพิการทางจิตสังคมไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาคนพิการ และผลกระทบจากโรคส่งให้คนพิการทางจิตสังคมมีแนวโน้มจะแยกตัวจากชุมชน จึงต้องมีมาตรการส่งเสริมจริงจังให้ทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมและนันทนาการต่างๆ

(๑๔) ข้อบทที่ ๓๑ เรื่อง สถิติและการเก็บรวบรวมข้อมูล คนพิการทางจิตสังคมเป็นความพิการที่มองไม่เห็นและคนพิการเกรงว่าจะถูกตีตราจากสังคม จึงมักไม่ยอมทำบัตรคนพิการ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความคุ้มครองทางสังคมที่จัดให้คพิการ การค้นหา จำแนกทางสถิติว่ามีคนพิการทางจิตสังคมจำนวนเท่าไร ในช่วงวัย เพศสภาพ และมีความต้องการจำเป็นอย่างใดบ้างจึงเป็นเรื่องจำเป็นตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. 10300 email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook: กมธ.พัฒนาสังคม หรือ กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.02-831-9225-6 แฟกซ์ 02-831-9226

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
06:00 น. ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน
06:00 น. ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’
06:00 น. ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา
06:00 น. ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้
06:00 น. เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รวบเขมรลอบเข้าเมือง! ซิมเถื่อน200เบอร์-เงินแสนในมือ คาดโยงแก๊งอาชญากรข้ามชาติ!

ศาลสั่งคุก 3 ปีไม่รอลงอาญา 2 ผู้ต้องหาแก๊งเถื่อน ลอบขุดดิน‘ร่อนทอง’อุทยานฯทองผาภูมิ

ล่าตัวลูกชายโหด! โมโหแทนแม่ ยิงเจ้าหนี้ทวงเงินหน้าบ้าน

จยย.เฉี่ยวรถยนต์ ร่างลอยกระแทกขอบปูนหมดสติ ยื้อไม่ไหวเสียชีวิต

แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน

(คลิป) จับตา! 1 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญ 'อุ๊งอิ๊งค์' พ้นเก้าอี้ 'นายกฯ'

  • Breaking News
  • ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน
  • ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’ ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’
  • ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา
  • ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้ ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้
  • เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์ เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

มิชลิน เปิดเวทีเยาวชนประชันภาพวาด ‘สมาร์ทซิตี้’  ผลักดัน Gen Z สะท้อนไอเดีย ‘อนาคตเมืองอัจฉริยะของไทย’

มิชลิน เปิดเวทีเยาวชนประชันภาพวาด ‘สมาร์ทซิตี้’ ผลักดัน Gen Z สะท้อนไอเดีย ‘อนาคตเมืองอัจฉริยะของไทย’

7 ธ.ค. 2562

มหัศจรรย์ !!! เด็กเล่นอิสระความสุขพื้นฐานสู่การพัฒนาสมอง

มหัศจรรย์ !!! เด็กเล่นอิสระความสุขพื้นฐานสู่การพัฒนาสมอง

5 ต.ค. 2562

บราเดอร์ ร่วมปลูกชีวิต ฟื้นคืนพื้นที่ป่าชายเลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11

บราเดอร์ ร่วมปลูกชีวิต ฟื้นคืนพื้นที่ป่าชายเลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11

21 ก.ย. 2562

จิตอาสาในสถานสงเคราะห์เด็ก  ‘นางฟ้า’ เติมพลังมหัศจรรย์1,000 วัน

จิตอาสาในสถานสงเคราะห์เด็ก ‘นางฟ้า’ เติมพลังมหัศจรรย์1,000 วัน

7 ก.ย. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

31 ส.ค. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

24 ส.ค. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

17 ส.ค. 2562

แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม  ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

10 ส.ค. 2562

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved