วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ใช้ไม่ระวังก็อันตราย!! หมอยก7ข้อควรทราบ ก่อนดูแลสุขภาพด้วย'สมุนไพร'

ใช้ไม่ระวังก็อันตราย!! หมอยก7ข้อควรทราบ ก่อนดูแลสุขภาพด้วย'สมุนไพร'

วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 15.32 น.
Tag : นพ.กฤษดา ศิรามพุช ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย สมุนไพร สุขภาพ หมอ อันตราย
  •  

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย กล่าวว่า สมุนไพรคือของขวัญจากธรรมชาติหากใช้อย่างไม่ประมาทความสามารถของแพทย์ไทยเราในการรักษาโรคด้วยยานั้นมีชื่อเสียงมานานจากการทำงานด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยในด้านการสอนนิสิตเภสัชมหิดลทำให้ได้ทราบความก้าวหน้าด้านสมุนไพรรักษาในบ้านเราเป็นอย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้หลายประเทศทั่วโลกก็มีงานวิจัย ดังมีบทความจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ให้ข้อมูลน่าสนใจไว้ว่าอาหารเสริมสมุนไพรนั้นไม่เหมือนยาแผนปัจจุบันอย่างหนึ่งคือแต่ละรุ่นของสมุนไพรหรือการผลิตนั้นไม่ได้มีกฏว่าต้องทำมาตรฐานเหมือนกันเป๊ะๆรุ่นต่อรุ่น เพราะมันเป็นของธรรมชาติ ทุกวันนี้มีคนใช้สมุนไพรมีทุกเพศวัย ไม่ใช่เพียงคนแก่หัวเก่าเท่านั้น เรียกว่าคนสมัยใหม่มีฐานะไปจนถึงครูบาอาจารย์คนมีการศึกษาระดับด็อกเตอร์ก็ใช้กัน

นพ.กฤษดา กล่าวว่า ดังนั้นมันจึงควรต้องรู้การ “เตรียมตัว” ไว้ก่อนกินสมุนไพรบ้าง นพ.กฤษดา กล่าวว่า แนวทางปฏิบัติจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในเรื่องความปลอดภัยของสมุนไพรบำบัดและการติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยา คือให้คิดถึงยาสมุนไพรว่าเหมือนกับยาแผนปัจจุบันที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน ซึ่งปัญหาใหญ่ที่มักพบคือการใส่ “ส่วนประกอบลับ” ที่เป็นสารอันตรายเข้าไป เช่น สเตียรอยด์ หรือยาแก้ปวดพวกเอ็นเสด


ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ได้ยกตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยจากยาสมุนไพรที่ขอเลือกมาชนิดที่อาจพบในบ้านเราได้ อาทิ อาการจากพิษสเตียรอยด์เรื้อรัง ดังเช่น ตัวบวม ความดันตาขึ้น กดต่อมหมวกไต ทำให้ติดเชื้อง่าย เพราะเคยมีพบสาร betamethasone ราว 0.1-0.3 มิลลิกรัมในผลิตภัณฑ์สมุนไพรบางชนิด อีกหนึ่งอาการคือ เลือดไหลง่าย หยุดยาก มีรอยช้ำจ้ำเลือดใต้ผิวหนังรวมทั้งเลือดออกในสมอง ดังมีรายงานจาก WHO ว่าอาการเลือดออกที่ว่านี้มาจากการใช้ “แปะก๊วย” ทั้งนี้ มียาสมุนไพรยอดนิยมบางชนิดที่ใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันอย่างยา interferon ที่เป็นโปรตีนไปสู้กับการติดเชื้อในร่างกายแล้วทำให้เกิดอาการอักเสบในเนื้อปอดอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตาม นพ.กฤษดา บอกว่า เมื่อฟังแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะสมุนไพรนั้นถ้าใช้ให้ดีให้รอบคอบก็จะตอบโจทย์ได้ไม่เสี่ยงจนเกินไป แค่ขอให้ยึดหลัก “อัปมาทธรรม” ไว้คือความไม่ประมาทในการใช้ยาสมุนไพรด้วยหลักง่ายๆ คือ 1.ต้องรู้ในสิ่งที่เราใช้ ให้ทราบว่าเรากำลังใช้สมุนไพรอะไรอยู่บ้าง อย่างยาแผนไทยก็ควรรู้ว่าสูตรนี้มีสมุนไพรใดประกอบ ควรต้องตอบโจทย์ได้ว่าเราใช้เพื่ออะไร ไม่ใช่กินตามเพื่อนหรือแค่อยากลองเพราะว่าเป็นสูตรลับระดับตำนาน เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงโดยไม่จำเป็นได้ 2.ให้ระวังในคนท้อง สตรีตั้งครรภ์ควรฝากท้องและต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์ประจำตัวถ้ามีอะไรไม่ชัวร์หรือจะใช้ยาสมุนไพรในระหว่างตั้งครรภ์ ตัวอย่างเช่น “ตังกุย” ที่ใช้รักษาอาการปวดท้องประจำเดือนไปจนถึงความดันสูงแต่ถ้าระหว่างตั้งครรภ์อาจไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวแทน

3.ต้องใส่ใจในเด็ก มนุษย์เด็กมีความต่างจากผู้ใหญ่ในแง่เมตาโบลิซึม,ภูมิคุ้มกัน,ระบบย่อยอาหารและระบบประสาทซึ่งกำลังพัฒนา ยาสมุนไพรหลายชนิดจึงต้องใช้อย่างรอบคอบเช่นสมุนไพรฝรั่งตัวหนึ่งชื่อ St.John’s wort อาจตีกันกับยากันชักในเด็กได้ หรือสมุนไพรที่มีวิตามินซีอาจมีผลกับกระบวนการจัดการยาพาราเซตามอลที่เด็กกินให้ช้าลง 4.เช็คความคลีนไม่ปนเปื้อน ให้ดูแลเรื่องของสารปนเปื้อนและปลอมปนที่คนอาจใส่เข้ามาในกระบวนการผลิตยาสมุนไพร ไม่ใช่แค่ดูความสะอาดอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องดูให้ลึกถึงมาตรฐานการผลิต เช่นยาลดความอ้วนที่มาจากสมุนไพรก็ต้องแน่ใจว่าไม่ได้มียาลดอ้วนที่เป็นยาควบคุมถูกใส่เข้ามาอย่างเฟนเทอร์มีนและเฟนฟลูรามีน

5.เตือนตัวเองเรื่องตับ-ไต สมุนไพรและยาที่รับประทานจำนวนมากที่ไหลเวียนเข้ากระแสเลือดผ่านตับ-ไตของเรา ดังมีภาวะตับอักเสบจากสารพิษ(toxic hepatitis)ที่นำไปสู่ตับแข็งและตับวายได้ซึ่งอาจเกิดได้จากสมุนไพร หรืออย่างสมุนไพรลดน้ำหนักตระกูลไคร้เครือ(Aristolochia)ที่ทำให้เกิดภาวะไตอักเสบและนำไปสู่ไตวายได้ 6.อย่านอนใจอาจแพ้ได้ สมุนไพรก็ไม่ต่างจากยาแผนปัจจุบันที่เราท่านอาจแพ้ได้ ดังนั้นจึงควรต้องรอบคอบไว้ หากมีอาการแพ้รุนแรงเช่นมีผื่นลมพิษขึ้น หายใจเหนื่อย แน่นหน้าอก มีเสียงหวีดเวลาหายใจ ก็ควรต้องรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอาการแพ้รุนแรงแบบ anaphylaxis และ 7.สมุนไพรช่วยได้แต่อย่าเทยาหมอ ยาจากธรรมชาติเป็นของดีที่ช่วยชีวิตเรามานับแต่สมัยพ่อแม่บรรพบุรุษนับพันปี แต่ยุคนี้ก็มียาแผนปัจจุบันที่ช่วยเราได้อยู่ จึงขอให้ดูใช้ยาสมุนไพรแบบไม่ประมาทนั่นคือการไม่หยุดยาประจำที่รักษาโรคอยู่เอง เช่นเป็นเบาหวานอยู่ก็อย่าเพิ่งไปหยุดยาของคุณหมอเขาเพราะเราอยากกินยาสมุนไพรที่เพื่อนแนะนำ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แนวหน้าวิเคราะห์ : ระวัง 5 อาหารอันตรายหน้าฝน แนะเคล็ดลับสุขภาพดีห่างโรค แนวหน้าวิเคราะห์ : ระวัง 5 อาหารอันตรายหน้าฝน แนะเคล็ดลับสุขภาพดีห่างโรค
  • รายงานพิเศษ : ‘ความปลอดภัยและสุขภาพ’ เรื่องสำคัญต้องดูแล‘แรงงาน’ รายงานพิเศษ : ‘ความปลอดภัยและสุขภาพ’ เรื่องสำคัญต้องดูแล‘แรงงาน’
  • \'โสมภูลังกา\'สมุนไพรหนึ่งเดียวในโลก ม.นครพนมเตรียมวิจัยเพาะขยายพันธุ์รองรับหลักสูตรแพทย์แผนไทย 'โสมภูลังกา'สมุนไพรหนึ่งเดียวในโลก ม.นครพนมเตรียมวิจัยเพาะขยายพันธุ์รองรับหลักสูตรแพทย์แผนไทย
  • \'หนุ่มชุมพร\' สุดทึ่งใช้ \'สมุนไพรหมอเณร\' รักษาเบาหวานหายโดยไม่ต้องตัดขา 'หนุ่มชุมพร' สุดทึ่งใช้ 'สมุนไพรหมอเณร' รักษาเบาหวานหายโดยไม่ต้องตัดขา
  • ‘สปสช.’ร่วมดูแลเด็กไทย  ให้มี‘สุขภาพกายและใจที่ดี’ ‘สปสช.’ร่วมดูแลเด็กไทย ให้มี‘สุขภาพกายและใจที่ดี’
  • สมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพที่ไทยกำลังเผชิญ พร้อมข้อเสนอนโยบาย เชิงรุกเพื่อการเปลี่ยนแปลง สมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพที่ไทยกำลังเผชิญ พร้อมข้อเสนอนโยบาย เชิงรุกเพื่อการเปลี่ยนแปลง
  •  

Breaking News

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved