วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
หวั่นสับสน! มาตรการเยียวยา ‘แรงงาน’ จากพิษโควิด-19 แนะเร่งทำความเข้าใจ

หวั่นสับสน! มาตรการเยียวยา ‘แรงงาน’ จากพิษโควิด-19 แนะเร่งทำความเข้าใจ

วันพฤหัสบดี ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563, 17.31 น.
Tag : แนวหน้าออนไลน์ มาตรการเยียวยา แรงงาน ไวรัสโคโรนา โควิด-19
  •  

26 มีนาคม 2563 น.ส.อรุณี ศรีโต ผู้นำแรงงานและ 1 ในคณะกรรมการประกันสังคม ให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า มีลูกจ้างจำนวนมากได้สอบถามตนเนื่องจากแต่ละมาตรการค่อนข้างซับซ้อน เพราะไม่ได้มีสิทธิทุกคน บางคนถามว่าขายของจะได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ และผู้ประกันตนในมาตรา 39และ มาตรา40 ต้องไปรับเงินเยียวยากับกระทรวงการคลังจะมีสิทธิหรือไม่

“ถ้ามีคนได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็จะเป็นปัญหา มันมีประเด็นปลีกย่อยเยอะ จริงๆแล้วสถานการณ์แบบนี้รัฐต้องใจกว้าง คือในเมื่อจะให้ก็ต้องให้จริงๆ ไม่ใช่เกณฑ์นั้น เกณฑ์นี้มากีดกันคนบางกลุ่ม เพราะจะมีผลกระทบในวงกว้าง คนต้องหากินทุกวัน แต่ตอนนี้หากินไม่ได้กันแล้ว ถ้าไม่มีมาตรการชดเชย อย่าว่าให้ถึง 6 เดือนเลย เพียงแค่เดือนเดียวก็อยู่ไม่ได้แล้ว พวกเรายังต้องเช่าบ้าน ทำอย่างไรรัฐจะไปต่อรองกับเจ้าของบ้านให้พักเก็บค่าเช่าบ้างได้หรือไม่ ชาวบ้านเจรจาต่อรองเองไม่ได้” น.ส.อรุณี กล่าว


ผู้นำแรงงานกล่าวว่า ยังมีลูกจ้างเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อพักงานหรือตกงานจากพิษโควิดแล้วจะได้เงินเยียวยาครึ่งหนึ่งของเงินเดือน แท้จริงแล้วได้รับครึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่จ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งขณะนี้เพดานการจ่ายเงินสมทบสูงสุดอยู่ที่ 1.5 หมื่นบาท หรือจ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาท หากรับค่าเยียวยาก็จะได้ 7,500 บาท ถ้าได้ค่าจ้างวันละ 300 บาทก็จะได้เพียง 150 บาท ซึ่งไม่พอค่าเช่าและค่ากินอยู่ในครอบครัว

“ตอนนี้ลูกจ้างอพยพกลับต่างจังหวัดกันไปเกือบหมดแล้ว ดิฉันคุยกับวินมอเตอร์ไซ เขาบอกว่าอยู่ก็อดตาย ขอกลับไปตายบ้านดีกว่า การออกนโยบายใดๆ ต้องไปปลดล็อคในหลายเรื่อง เช่น คนขับแท็กซี่ต้องผ่อนรถเดือนละ 1 หมื่น รัฐต้องคุยกับไฟแนนซ์ให้เขาด้วย ว่าช่วงนี้พักชำระหนี้ไปก่อนได้ไหม อย่างเรื่องค่าเช่าบ้าน ต้องสำรวจว่ามีใครเช่าบ้านอยู่บ้าง ตอนนี้เก็บค่าเช่าครึ่งเดียวได้หรือไม่ เพื่อให้คนอยู่ในที่เดิม ที่สำคัญอย่าให้ล่าช้าเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่ทันกับความเดือนร้อนของคนจน จำเป็นต้องสนับสนุนเรื่องอาหารหรือไม่ สามารถซื้อข้าวสารครึ่งราคามีหรือไม่” น.ส.อรุณี กล่าว

น.ส.อรุณีกล่าวว่า ตนเองเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ซึ่งไม่เข้าใจเช่นกันว่าทำไมรัฐบาลถึงเอาความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา39 และมาตรา 40 ไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง เพราะจริงๆแล้ว สำนักงานประกันสังคมได้เก็บข้อมูลคนกลุ่มนี้ซึ่งมีราว 5 ล้านคนไว้หมดแล้ว แต่เมื่อไปอยู่กระทรวงการคลังต้องให้ข้อมูลและลงทะเบียนใหม่ทางเวบไซต์ ซึ่งพวกตนทำไม่เป็น

ด้าน น.ส.ไหม จันทร์ตา ตัวแทนพนักงานบริการ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนพนักงานบริการทั่วประเทศราว 3 แสนคน โดยมาตรการที่รัฐบาลออกมานั้น ช่วยเหลือคนที่มีสัญชาติไทยรายละ 5 พันบาท และผู้ประกันตน 50% แต่พนักงานบริการส่วนมากไม่อยู่ในระบบประกันสังคม เพราะเจ้าของธุรกิจบันเทิงมักไม่ได้ทำประกันสังคมให้ เพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ ดังนั้นจึงเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือใดๆ และที่ผ่านมากฎหมายมักเน้นแต่เอาผิด แต่ไม่ได้คุ้มครอง หน่วยงานรัฐจึงปล่อยปละละเลยมาโดยตลอด

“ตอนนี้ทุกคนเครียดมาก เพราะไม่รู้จะได้กลับมาทำงานเมื่อไร และเงินออมที่มีอยู่ใกล้หมดแล้ว พวกเราต้องผ่อนบ้านผ่อนรถมีภาระเยอะแยะ ที่ทำมาหากินเก็บออมได้ทั้งหมดอยู่ได้ไม่เกิน 2 เดือน แค่เดือนเดียวก็เครียดแย่แล้ว ทั้งๆที่พวกเราเป็นคนกลุ่มแรกๆที่ได้รับผลกระทบเพราะรัฐปิดสถานบันเทิงและสถานบริการตั้งแต่ต้น แต่พวกเรากลับไม่ได้รับเงินเยียวยาใดๆ” น.ส.ไหมกล่าว

น.ส.ไหมกล่าวว่า ได้อ่านข่าวต่างประเทศ ในประเทศบังคลาเทศและมาเลเซีย รัฐบาลเอาเงินแจกผู้หญิงที่เป็นพนักงานบริการคนละ 2 พันบาททันทีเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด เพื่อให้ทุกคนหยุดงานกักตัวเอง ที่ผ่านมาพวกเราเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว สามารถดึงเงินเข้าประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเม็ดเงินการท่องเที่ยว แต่พอเกิดปัญหาพวกเรากลับเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ เมื่อครั้งที่รัฐบาลบุกทลายอาบอบนวดนาตารีและวิคตอเรียซีเครทซึ่งยึดเงิน 500 ล้านบาทไว้และบอกว่าจะเอามาช่วยเหลือพนักงานบริการ แต่จนถึงบัดนี้เรื่องก็เงียบหายไป จริงๆควรนำเงินก้อนนี้มาช่วยเหลือพนักงานบริการในช่วงนี้ซึ่งสามารถแจกได้คนละ 2,000 บาท

นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน กล่าวว่าคนงานข้ามชาติมักเข้าไม่ถึงระบบประกันสังคมและไม่เข้าใจว่าใช้สิทธิได้หรือไม่ แม้รัฐบาลบอกมีสิทธิเท่ากัน แต่ความเป็นจริงก็ไม่เท่ากับคนไทย โดยก่อนหน้านี้มีกลุ่มแรงงานข้ามชาติเดินทางกลับไปประเทศต้นทางจำนวนมากสาเหตุเนื่องจากการเข้าสู่ระบบไม่ได้จึงกลับไปก่อน และเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นในช่วงปลายมีนาคมถึงต้นเมษายน ส่วนกลุ่มที่ทำงานในโรงงานใหญ่ยังอยู่ในพื้นที และปกติพวกเขาไม่ได้ขยับไปเที่ยวเหมือนคนไทย แค่เดินไปตลาดปากซอย ขณะนี้เมื่อรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินช่วยไม่ให้พวกเขาขยับไปที่ใด เชื่อว่าแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เข้าใจสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด เพราะต่างมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และเข้าถึงโลกโซเชียล ซึ่งมีเพจที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้ และยังมีกลุ่มอาสาสมัครคอยป้อนข้อมูลให้พวกเขา

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติ มีสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือเยียวยา 50% เช่นเดียวกับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทย ทั้งในกรณีที่ถูกกักตัวและสถานประกอบการของนายจ้างปิดกิจการเนื่องจากคำสั่งของรัฐบาล โดยนายจ้างจะต้องแจ้งรายชื่อลูกจ้างมายัง สปส.ซึ่งมีรายชื่ออยู่แล้ว และตามขั้นตอนต้องให้กรอกข้อมูลด้วยซึ่งหากลูกจ้างแรงงานข้ามชาติไม่สามารถทำได้ก็ให้นายจ้างเป็นผู้กรอกบข้อมูลให้แทน ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ 1.2 ล้านคน

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แนวหน้าวิเคราะห์ : การันตี 3 ปราสาทเป็นของไทย ตรวจสอบประวัติความเป็นมา แนวหน้าวิเคราะห์ : การันตี 3 ปราสาทเป็นของไทย ตรวจสอบประวัติความเป็นมา
  • ‘ฮุนเซน’ช่วยจ่ายมั้ย ‘กัมพูชา’ค้างค่ารักษา‘รพ.ไทย’กว่า 277 ล้าน ‘ฮุนเซน’ช่วยจ่ายมั้ย ‘กัมพูชา’ค้างค่ารักษา‘รพ.ไทย’กว่า 277 ล้าน
  • แนวหน้าวิเคราะห์ : ‘ถนนปลอดภัย’สำเร็จได้ด้วยสำนึก ร่วมสร้างสังคมที่มีความรับผิดชอบ แนวหน้าวิเคราะห์ : ‘ถนนปลอดภัย’สำเร็จได้ด้วยสำนึก ร่วมสร้างสังคมที่มีความรับผิดชอบ
  • แนวหน้าวิเคราะห์ : 7 วันป่วยโควิด 1.1 แสนคน-ตาย 31 ศพ อิทธิฤทธิ์โรคประจำถิ่นที่ยังอันตราย แนวหน้าวิเคราะห์ : 7 วันป่วยโควิด 1.1 แสนคน-ตาย 31 ศพ อิทธิฤทธิ์โรคประจำถิ่นที่ยังอันตราย
  • ไทม์ไลน์\'ช่องบก\' จุดเริ่มต้น...สู่การปะทะ\'ถูกรุกล้ำ 651 ครั้ง\' ไทม์ไลน์'ช่องบก' จุดเริ่มต้น...สู่การปะทะ'ถูกรุกล้ำ 651 ครั้ง'
  • แนวหน้าวิเคราะห์ : ย้อนคดีโกงกระฉ่อน‘เงินทอนวัด’ ปิดฉากลี้ภัย 7 ปี...‘อดีตพระพรหมเมธี’กลับไทยสู้คดี แนวหน้าวิเคราะห์ : ย้อนคดีโกงกระฉ่อน‘เงินทอนวัด’ ปิดฉากลี้ภัย 7 ปี...‘อดีตพระพรหมเมธี’กลับไทยสู้คดี
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved