วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
แลผลงาน‘คนรุ่นใหม่’  สร้าง‘สื่อ’เล่าเรื่อง‘สิทธิ’

แลผลงาน‘คนรุ่นใหม่’ สร้าง‘สื่อ’เล่าเรื่อง‘สิทธิ’

วันพฤหัสบดี ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
Tag :
  •  

เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 2532 (Convention on the Rights of the Child 1989)” เมื่อปี 2562 ซึ่ง องค์การสหประชาชาติ (UN) รณรงค์ให้ทั่วโลก
เห็นความสำคัญของ “เยาวชนคนรุ่นใหม่” ที่จะต้องมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมเกิดการเคารพสิทธิและเสรีภาพ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญไทย จึงจัดโครงการ “เยาวชนคนรุ่นใหม่ใส่ใจและยืนเคียงข้างสิทธิมนุษยชน (Youth Standing Up for Human Rights)” ขึ้นมาตามหัวข้อรณรงค์ดังกล่าว

โดยเป็นการ “ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน” เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน พ.ค. 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 พอดี การตั้งโจทย์จึงผนวกประเด็นดังกล่าวเข้าไปด้วย กระทั่งมีการจัดพิธีมอบรางวัลไปเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2563 ที่ผ่านมา และในวันเดียวกันยังมีการเสวนาเรื่อง “ทศวรรษใหม่ของเยาวชนผู้ใส่ใจและยืน
เคียงข้างสิทธิมนุษยชน” มีตัวแทนนักเรียน-นักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ มาบอกเล่าเรื่องราวกว่าจะมาเป็นผลงาน


บทมากร พรประสิทธิ์ นักเรียนโรงเรียนศรียาภัย จ.ชุมพร ตัวแทนทีมเยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา จากผลงานภาพยนตร์สั้น “กระสุนฝังใจ...The Imprint” เล่าว่า หนังสั้นเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริงในช่วงที่สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มรุนแรง โดยเวลานั้นมีชาว จ.ชุมพร ที่เดินทางกลับมาจากกรุงเทพฯ ถูกสังคมหวาดระแวงว่าจะนำโรคร้ายมาระบาดในพื้นที่ มีการใช้ถ้อยคำรุนแรงด่าทอบนโลกออนไลน์ รวมถึงการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ว่าเป็นใคร จนส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ซึ่งเมื่อได้โจทย์จากสำนักงาน กสม. มาก็เริ่มประชุมทีมกับเพื่อนๆ ศึกษาหาความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้เข้าใจ และระดมความคิดว่าจะใช้วิธีการนำเสนอแบบใด “สาเหตุที่เลือกหนังสั้นเพราะเป็นสื่อที่เข้าใจง่ายสำหรับยุคนี้” การเข้าร่วมโครงการทำให้ได้รับความรู้ ได้ฝึกการวางแผน และได้ประสบการณ์การทำงานทั้งกับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าไปรับชมได้ที่เฟซบุ๊คแฟนเพจ “คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนศรียาภัย” ที่มีการอัพโหลดหนังสั้นเรื่องนี้ไว้เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2563

“ผมเห็นเพื่อนๆ หรือคนรอบข้าง เขาจะรู้จักว่าสิทธิของเรามีอะไรบ้าง แต่ไม่รู้ว่าสิทธิที่เขาทำไปละเมิดสิทธิของคนอื่นหรือเปล่าถูกต้องหรือเปล่า ผมอยากให้เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่าสิทธิมนุษยชนให้เข้าใจก่อนว่ามีรูปแบบไหนบ้างที่เราสามารถปฏิบัติได้ผมเชื่อว่าถ้าเยาวชนเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างแน่นอน” บทมากร กล่าว

ขณะที่ กำพล ชุ่มจันทร์ อาจารย์โรงเรียนศรียาภัย จ.ชุมพร ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาของเยาวชนทีมได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษา กล่าวอย่างภูมิใจว่า “หนังสั้นเรื่องนี้เป็นฝีมือของนักเรียนชั้น ม.6 อย่างแท้จริง” ทั้งการแสดง ตัดต่อและถ่ายทำ แต่กว่าจะมาเป็นผลงานคุณภาพก็ไม่ใช่เรื่องง่ายตั้งแต่ด่านแรกคือ 1.การขออนุมัติจากผู้บริหารโรงเรียน เพราะเมื่อมีคำว่า “สิทธิ” อยู่ในโครงการ “ในตอนแรกผู้บริหารโรงเรียนรู้สึกกังวลใจเพราะอาจเกี่ยวข้องกับสถานการณ์บางอย่างในบ้านเมือง” ทำให้ต้องชี้แจงว่าเป็นประเด็นโควิด-19 จึงดำเนินการได้

ประการต่อมา 2.อุปสรรคด้านสภาพแวดล้อมระหว่างการถ่ายทำ ตั้งแต่การเรียนการสอนในระดับมัธยมแต่ละวันมีตารางเต็มตลอดวัน ไม่ได้มีเวลายืดหยุ่นมากเท่ากับในระดับมหาวิทยาลัย ทำให้การประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าการทำงานต้องอาศัยช่วงหลังเลิกเรียนและหลายครั้งต้องกลับบ้าน 3-4 ทุ่ม หรือตอนแรกวางแผนจะถ่ายทำในโบกี้รถไฟที่กำลังแล่นอยู่ แต่วันจริงฝนตกไม่มีขบวนรถไฟแล่น ก็ต้องถ่ายในขบวนที่จอดแล้วใช้เทคนิคพิเศษช่วย หรือการไปถ่ายทำในตลาด ก็ต้องไปตั้งแต่ช่วงที่แม่ค้ายังจัดร้าน เพื่อไม่ให้รบกวนเวลาขายของ เป็นต้น

“อย่างน้อยเราปลุกกระแสเยาวชนในเรื่องของการใช้โซเชียลมีเดีย ว่าสื่อที่ถูกต้องมันใช้สื่ออย่างนี้ ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช่แค่กดไลค์กดแชร์ ตอนนี้เราอาจจะได้ยินคำว่าวัยรุ่นหรือนักเรียนสมัยนี้อ่านหนังสือไม่เกิน 3 บรรทัด อันนี้เรื่องจริง ผมเป็นครูภาษาไทยผมพิสูจน์มาแล้วว่าใช่ แม้กระทั่งในหน้าเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ อะไรต่างๆแม้จะเป็นบรรทัดสั้นๆ 3 บรรทัดก็อ่านไม่ถึง ฉะนั้นทำอย่างไรจะทำให้เขารู้สึกว่ายิงไปแล้วให้เขาสนใจมากที่สุด

ฉะนั้นชื่อเรื่องก็สำคัญ ชื่อกระสุนฝังใจเด็กๆ มาเสนอผมยังงงเลย เขาก็พยายามอธิบาย แสดงว่าก็ถูกต้องแล้ว เพราะยิงหัวข้อมาผมตั้งคำถามว่ามันคืออะไร มันเกิดความน่าสนใจ เกิดประเด็นคำถามขึ้นมา ตรงนี้ก็มองเห็นว่าวิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงทางสังคมมันทำให้เรารู้ว่า การรับรู้การสื่อสารมันไวมาก แต่ทำอย่างไรให้มันเป็นประโยชน์” อาจารย์กำพล กล่าว

อีกด้านหนึ่ง ธนกฤต ภูดีทิพย์ นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ตัวแทนทีมเยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอุดมศึกษา จากผลงานการฟ้อนรำประกอบบทเพลง “สิทธิมนุษยชนลำเพลิน” โดยผู้สนใจสามารถรับชมได้ผ่านเว็บไซต์ยูทูบ กล่าวว่า การออกแบบการแสดงชุดนี้ใช้เนื้อร้องเป็นภาษาถิ่นอีสานพร้อมกับนำภาษามือมาใช้เป็นท่าทาง เพราะต้องการสื่อสารให้เข้าถึงผู้คนอย่างกว้างขวางที่สุดรวมถึงผู้พิการทางการได้ยินด้วย ซึ่งทีมงานมีการประสานกับ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ขอให้ช่วยแปลเนื้อเพลงจากภาษาพูดเป็นภาษามือ

“หลายคนอาจจะมองว่าเราเป็นเด็กนาฏศิลป์ มีแค่ฟ้อนรำไปวันๆ เมื่อพวกผมได้มาทำเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนก็เหมือนเปิดโลกใหม่ให้กับตัวเองและเพื่อนๆ ให้เขาเห็นว่าเราเป็นนาฏศิลป์ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนเช่นกัน อย่างเราที่สนใจเกี่ยวกับความเท่าเทียม เพราะเป็นปัญหาในสังคมไทยและต่างชาติ ในการรังแก (Bully) หรือเหยียดเพศ ผิว ฐานะ อะไรต่างๆ จึงให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องความเท่าเทียม ถ้าเกิดเขาไม่ให้เกียรติเรา เราก็ไม่จำเป็นต้องให้เกียรติเขา มันจะต้องแฟร์ๆทั้ง 2 ฝ่าย เราจะต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ธนกฤต ระบุ

ปิดท้ายด้วย กิตติศักดิ์ สินธุโคตร อาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาของเยาวชนทีมได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอุดมศึกษา เล่าว่า ตนเป็น
ผู้แต่งเนื้อเพลงในขั้นแรก ก่อนจะนำไปให้อาจารย์อีกท่านที่เชี่ยวชาญเพลงแนวหมอลำช่วยเกลาให้เนียนขึ้น ซึ่งการนำดนตรีเข้าไปบอกเล่าเรื่องราวของโควิด-19 และสิทธิมนุษยชน เป็นการนำความบันเทิงเข้าไปช่วยผ่อนคลายพร้อมๆ กับแทรกสาระความรู้เข้าไป

“เป็นความภาคภูมิใจของวิทยาลัยด้วยที่ได้มาอยู่จุดนี้ เพราะปกติวิทยาลัยก็จะไปแข่งขันโปงลาง แข่งขันศิลปะการแสดง ซึ่งวัดด้วยการเล่นดนตรีหรือการแสดง แต่อันนี้คือวัดทั้งความสามารถ ทั้งวิธีคิด ทั้งการนำเสนอ” อาจารย์กิตติศักดิ์ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เผยเส้นทางปริศนา\'เจ้าคุณอาชว์\'ลาสิกขาหลังกลับจากเดนมาร์ก ตำรวจยังไร้วี่แววในไทย เผยเส้นทางปริศนา'เจ้าคุณอาชว์'ลาสิกขาหลังกลับจากเดนมาร์ก ตำรวจยังไร้วี่แววในไทย
  • เปิดปมปริศนา \'เจ้าคุณอาชว์\' อดีตเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพฯลาสิกขาด่วนก่อนหลบเข้าลาว เปิดปมปริศนา 'เจ้าคุณอาชว์' อดีตเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพฯลาสิกขาด่วนก่อนหลบเข้าลาว
  • ย้อนรอย 7 ปี \'13 หมูป่าติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน\' ปาฏิหาริย์ที่โลกไม่ลืม ย้อนรอย 7 ปี '13 หมูป่าติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน' ปาฏิหาริย์ที่โลกไม่ลืม
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  • รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา
  • รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ
  •  

Breaking News

ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน

‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’

ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา

‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved