วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

บทความพิเศษ : การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้าน ได้ร่วมกันเข้าชื่อเสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออภิปรายตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เมื่อเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยทุจริต หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติ และประชาชน

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เป็นไปตามหลักการคานอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ก็ด้วยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นตัวแทนที่ได้รับเลือกมาจากประชาชน โดยหลักการเช่นนี้จึงมีกฎหมายบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของทุกประเทศ ที่มีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นประเทศอังกฤษ,เยอรมนีฝรั่งเศส,เบลเยียม,ญี่ปุ่น หรือประเทศอื่นๆ


สำหรับประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 151ก็ได้มีบัญญัติเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้ โดยจำแนกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้คือ 1.การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 2.การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ ซึ่งกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภา ตามจำนวนสมาชิกสภาฯ ขณะนี้ ต้องมีจำนวน 100 คน เพราะสมาชิกสภาฯมี 500 คน สมาชิกจำนวนดังกล่าวมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะได้ โดยเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้รัฐมนตรีเหล่านั้นหลีกหนีการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนการออกเสียงลงมติ ห้ามมิให้ลงมติในวันเดียวกันกับวันที่สิ้นสุดการอภิปราย ทั้งนี้ก็เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มีเวลาไตร่ตรองก่อนการลงมติ โดยมติไม่ไว้วางใจจะต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ ซึ่งต้องเท่ากับหรือเกินกว่า 251 เสียงนั่นเอง หากสภาลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีท่านใด รัฐมนตรีผู้นั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งทันทีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (3) หากนายกรัฐมนตรีถูกลงมติไม่ไว้วางใจ คณะรัฐมนตรีก็ต้องพ้นตำแหน่งไปทั้งคณะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 (1) นี่คือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่ผู้เขียนสรุปโดยย่อมาให้ทราบ ก็เพื่อผู้อ่านและประชาชนทั้งหลายจะได้ติดตามการอภิปรายที่กำลังดำเนินอยู่ขณะนี้ แบบดูมวยชกโดยรู้กฎและกติกาการติดตามการอภิปรายจึงจะได้อรรถรสและเข้าใจในสาระสำคัญ

นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา รัฐสภาของไทยเคยมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจมาแล้วไม่น้อยกว่า 41 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยเฉพาะที่ใช้บังคับในช่วงเวลาที่ประเทศเป็นประชาธิปไตย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 12 ฉบับ ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไว้ทุกฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฯปี พ.ศ.2475, 2489, 2490, 2492, 2475 แก้ไขเพิ่มเติมปี 2495, 2511, 2517, 2521, 2534, 2540, 2550 และ 2560 ที่ใช้บังคับในการอภิปรายครั้งปัจจุบัน

แม้ว่าประเทศไทยจะมีการอภิปรายมาแล้วหลายครั้งดังกล่าว แต่ก็ไม่เคยมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งใด สามารถลบสถิติการอภิปรายที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19-26 พฤษภาคม 2490 รวม 7 วัน ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กับคณะ อันเนื่องมาจากปัญหาข้าวปลาอาหารราคาแพง รัฐบาลมีการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมถึงที่มีสถานการณ์กรณีการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงเวลานั้น ประชาชนคนในชาติเกิดความแตกแยกอย่างกว้างขวาง โดยที่รัฐบาลไม่สามารถให้ความกระจ่างแก่ประชาชนได้ แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปถึง 1 ปีก็ตาม

การอภิปรายครั้งนั้น ใช้เวลาต่อเนื่องยาวนานทั้งสิ้นถึง 8 วัน 7 คืน โดยมีนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรค และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช รองหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรคคนสำคัญๆ อื่น เป็นผู้นำการอภิปรายอย่างคึกคักเข้มข้นและเข้มแข็งด้วยข้อมูลในการอภิปราย แม้รัฐบาลจะชนะในการโหวตลงมติ แต่ต่อมาอีกเพียง 2 วัน รัฐบาลก็จำต้องลาออกทั้งคณะ เป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่บันทึกไว้ให้พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีฝีปากในการอภิปรายที่เข้มแข็งและดีที่สุด ของพรรคการเมืองไทย เป็นผลให้คอการเมือง มักจะพูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นพรรคการเมืองที่เก่งกล้าสามารถในการเป็นฝ่ายค้านมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ของพรรคฝ่ายค้าน ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ที่มีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรคผู้นำฝ่ายค้านและพันธมิตรฝ่ายค้านพรรคอื่น จะแสดงบทบาทความเป็นฝ่ายค้านได้ดีมีประสิทธิภาพในการค้านได้แค่ไหน สมราคาคุยโวเอาไว้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ประชาชนทั้งหลายต้องติดตามว่า จะฝากผีฝากไข้กับฝ่ายค้านชุดนี้ได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาพรรคนี้ก็เพิ่งจะได้มาเล่นบทฝ่ายค้านหมาดๆ ครั้งแรก แถมภายในพรรคก็ล้วนแต่มีบาดแผลเดิมเหวอะหวะในช่วงที่เคยเป็นฝ่ายบริหารมามากมาย ฟังจากการอภิปรายวันแรกที่ผ่านมา จึงยังวนเวียนซ้ำซากพูดแต่เรื่องเก่าๆ เหตุผลข้อมูลข้อเท็จจริงใหม่ๆ ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาลนี้ ยังไม่มีข้อมูลเด่นชัดการอภิปราย ยังไม่เด็ดขาดหนักแน่นตรงเป้าเข้าประเด็น ตามที่กล่าวหาสักเท่าไร อาการออกจะวนเวียนซ้ำซาก หนักไปในทางบรรยาย มากกว่าที่จะอภิปรายแบบตรงเป้าเข้าประเด็น เรียกว่ายังหาหมัดน็อกรัฐบาลยังไม่เจอ บางคนอภิปรายไปยังถูกสวนกลับจับเท็จเอาคืนจากรัฐบาลเสียรังวัดเสียอีก คงต้องติดตามรับฟังต่อไปจนจบถึงวันสุดท้าย เพื่อเราท่านทั้งหลายจะได้รับรู้ถึงคุณภาพนักการเมืองไทยว่า สมควรที่เราจะมอบอำนาจให้มาปกครองบ้านเมืองได้หรือไม่ หรือสมควรจะเป็นฝ่ายค้านไปเช่นนี้ตลอดกาล

ประพันธุ์ คูณมี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  • บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์ บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์
  •  

Breaking News

นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น

'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก

รวบ3หญิงไทย อ้างหลบหนีแก๊งคอลฯ มุดชายแดนจากปอยเปตเข้าไทย

แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved