วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
มองประวัติศาสตร์อเมริกัน  ‘เหยียดคนเอเชีย’เรื่องนี้มีที่มา

มองประวัติศาสตร์อเมริกัน ‘เหยียดคนเอเชีย’เรื่องนี้มีที่มา

วันพฤหัสบดี ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.
Tag :
  •  

“Hate Crime” หรืออาชญากรรมที่มีแรงจูงใจมาจากความเกลียดชังในอัตลักษณ์ของบุคคล เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว กำลังเป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงมากใน สหรัฐอเมริกา ที่ในระยะหลังๆ ปรากฏข่าวคนเชื้อสายเอเชียถูกทำร้ายร่างกายบ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดงานเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ “Hate Crime อาชญากรรมจากความเกลียดชังและการเหยียดคนเอเชียในสหรัฐอเมริกา” โดยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว

ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU) วิทยาเขตอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เล่าประวัติศาสตร์การตั้งรกรากของชาวเอเชียบนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา ซึ่งย้อนไปได้ถึง “ยุคตื่นทอง (Gold Rush)” ช่วงปี 2373-2393 ในพื้นที่ฝั่งตะวันตก (West Coast เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย) ต่อมาในปี 2413 เมื่อเศรษฐกิจเริ่มซบเซาและคนผิวขาวกังวลว่าจะตกงาน ความกังวลนั้นได้ถูกผลักไปลงกับคนเอเชีย ถึงขั้นใช้ทั้งความรุนแรง เช่น วางเพลิงชุมชนคนจีน และใช้ทั้งกฎหมาย เช่น ห้ามผู้หญิงจีนเข้าประเทศเพื่อไม่ให้คนจีนตั้งรกรากสร้างครอบครัว


ยุคต่อมาคือ “สงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 2484-2488)”มีการบังคับคนญี่ปุ่นเข้าค่ายกักกัน เพราะรัฐบาลสหรัฐอเมริกากังวลว่าคนเหล่านี้จะไม่จงรักภักดี ทั้งที่เป็นคนญี่ปุ่นรุ่นที่ 2-3 ซึ่งหลายคนก็ใช้ภาษาญี่ปุ่นไม่ได้แล้ว ทั้งนี้ หากแบ่งการเข้าไปตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาของคนเอเชีย จะแบ่งได้เป็น 2 ยุคคือ 1.ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่มักเป็นคนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) กับ 2.หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคนี้เริ่มมีคนเอเชียจากหลายภูมิภาคมากขึ้น เช่น เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาจารย์ดวงยิหวา เล่าต่อไปถึง “การตั้งชุมชนคนเอเชียในสหรัฐอเมริกาของคนแต่ละเชื้อชาติ” ว่ามีเหตุผลคือ “การรวมตัวเป็นชุมชนเมื่อเกิดอะไรขึ้นยังดูแลช่วยเหลือกันเองได้” ซึ่งมีลักษณะกลไกไม่เป็นทางการ (Informal) เพราะไม่เชื่อมั่นในกฎหมายของรัฐเนื่องจากมีประวัติศาสตร์ถูกเลือกปฏิบัติมาก่อน เช่น ชุมชนชาวจีนในเมืองนิวยอร์ก จะมีโรงเรียนสำหรับบุตรหลานคนจีนโดยเฉพาะเพื่อหลีกเลี่ยงการเรียนร่วมกับคนผิวขาวแล้วอาจถูกรังแก กระทั่งบุตรหลานเติบโตในระดับหนึ่งจึงค่อยไปเรียนร่วมกับชาวอเมริกันอื่นๆ เช่น ศึกษาต่อในระดับวิทยาลัย

“ก่อนที่จะไปอนาคตขอพูดเรื่องอดีตนิดหนึ่ง พ่อพากลับไปเมืองไทยตอนอายุ 9 ขวบ ตอนหลังเราก็คุยกับแกว่าทำไมไม่ให้เราโตที่นั่น พ่อก็พูดเลยและยังจำได้ ตอนนี้พ่อเสียไปแล้ว..ลูก! เราเกิดที่นั่นอยู่ที่นั่น อย่างไรไม่มีวันและไม่มีทางที่เขาจะรับเราเป็นอเมริกัน อย่างไรเราก็จะเป็น Second Level Citizen เป็นพลเมืองชั้นสอง ไม่มีทางที่เขาจะยอมรับ..อันนี้พ่อพูดกับเรา ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไร

แต่พอเราโตขึ้นกลับไปทำงาน ในแง่การทำงานอย่างไรเราก็เป็น Minority (ชนกลุ่มน้อย) ในการที่ทำให้เขายอมรับเราต้องสู้ในระดับที่คนทั่วไปอาจจะอยู่ที่ระดับหนึ่ง เราต้องพยายามทำอีกเท่าตัวเพื่อให้เขายอมรับเรา อนาคตไม่ได้มีหวังอะไรมากนักในแง่ของความสัมพันธ์ในแง่ที่เป็นอยู่ ในแง่ Asian American (ชาวเอเชียในสหรัฐอเมริกา) ก็จะเป็นแบบนี้ มีขึ้นมีลงตามบริบทเหตุการณ์ในประเทศและระหว่างประเทศ” อาจารย์ดวงยิหวา ยกตัวอย่างของตนเอง ซึ่งเกิดและเคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในวัยเด็กที่สหรัฐอเมริกา

ขณะที่ ภาณุภัทร จิตเที่ยง อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน รัฐวิสคอนซิน กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาในยุคสมัยของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มีการใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง เช่น เมื่อเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็มีการสร้างวาทกรรมว่าต้นตอของโรคระบาดมาจากคนจีน แต่ก็ส่งผลไปถึงคนเอเชียที่เป็นพลเมืองอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ (Asian American) ด้วย

ทั้งนี้ “การเหยียดคนเอเชียในสหรัฐอเมริกา ไม่ได้กระทำโดยคนผิวขาวเท่านั้น แต่ยังมีคนผิวสีอื่นๆ ร่วมด้วย” อาทิ กรณีทำร้ายร่างกายหญิงวัย 65 ปีชาวฟิลิปปินส์ในเมืองนิวยอร์ก พบว่าผู้ก่อเหตุเป็นคนผิวดำ เป็นต้น ขณะที่การรวมตัวของคนเอเชีย พบว่า “คนเอเชียมักตั้งชุมชนตามอัตลักษณ์เชื้อชาติของตน จึงไม่มีการรวมตัวใหญ่โตจนมีพลังเท่ากับชุมชนคนผิวดำ ที่ไม่ว่ามาจากไหนก็รวมเป็นกลุ่มเดียวกันหมด”นอกจากนี้ การที่คนอเมริกันเชื้อสายเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกทำงานในสายเทคโนโลยีกันมาก ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความกังวล

“คนเอเชียเก่ง พอเก่งปุ๊บทำงานใน Tech Company (บริษัทด้านเทคโนโลยี) กลายเป็นโอกาสงานของคนขาวลดน้อยลงหรือเปล่า? ซึ่งอันนี้มันทำให้ Dynamic (พลวัต) ของ Hate Crime (อาชญากรรมจากความเกลียดชัง) มัน Lively (มีชีวิต) มากยิ่งขึ้น แล้วเดี๋ยวถ้าคนพวกนี้มาครองมาคุม Tech ทั้งหมด แล้วที่ยืนของเราอยู่ตรงไหน ถ้าเกิดมีการแชร์ข้อมูลกับรัฐบาลจีนขึ้นมา ตรงนี้อาจจะเป็นอีกส่วนที่เพิ่ม Layer (ชั้น) เข้าไปให้ประเด็นว่าด้วย Hate Crime มันซับซ้อนขึ้น”อาจารย์ภาณุภัทร กล่าว

ด้าน ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียรัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งข้อสังเกตว่า “ท่าทีต่อคนเอเชียขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกา ต้องการวางบทบาทของประเทศตนเองอย่างไรในเวทีโลก” เช่น ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรต่อต้านการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ ก็มีการสร้างภาพให้คนญี่ปุ่นดูดีขึ้นพร้อมๆ ไปกับภาพของสหรัฐอเมริกาในฐานะดินแดนแห่งเสรีภาพที่ให้โอกาสกับคนทุกเชื้อชาติ

ถึงกระนั้น “การที่คนเอเชียประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจบนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา มีฐานะดีขึ้นระดับเดียวกับคนผิวขาว อีกมุมหนึ่งก็อาจหมายถึงการถูกแบ่งแยกแล้วปกครองด้วย” เพราะคนเอเชียถูกแยกออกจากคนเชื้อชาติหรือสีผิวอื่นๆ ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพามาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ ขณะเดียวกัน “ชาวเอเชียเองก็ไปยึดมั่นเรื่องการเรียนและทำงานหนักเพื่อหวังประสบความสำเร็จเทียบเท่าคนผิวขาว จึงไม่ค่อยลุกขึ้นมาต่อสู้กับโครงสร้างสังคมที่เป็นปัญหา” เมื่อเทียบกับคนผิวดำ

“แม้แต่ตอนนี้เข้าใจว่าการที่รัฐบาลไบเดน (โจ ไบเดน-ปธน.สหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน) พยายามมีปฏิกิริยากับจีนก็อาจจะทำให้พลเมืองอเมริกันส่วนหนึ่งไม่ใช่ทุกคน รู้สึกว่าจีนเป็นภัยคุกคาม แล้วก็อาจมองคนที่หน้าตาเหมือนจีนเป็นศัตรูของตัวเองได้ เรื่องการแย่งงานอะไรอย่างนี้ที่มันมาตั้งแต่สมัยทรัมป์ มันก็อาจยังคงส่งผลต่อความเชื่อของคนอเมริกันส่วนหนึ่ง ดังนั้นเข้าใจว่าเป็นงานของผู้นำมากๆเลยที่จะสร้างความเข้าใจอันนี้ว่ารัฐบาลกับคนไม่เหมือนกันแล้วคนส่วนหนึ่งก็ไม่ได้มีความผูกพันกับประเทศจีน” อาจารย์ปองขวัญ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • 3 โรคยอดฮิตของเด็ก ในช่วงฤดูฝน ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม 3 โรคยอดฮิตของเด็ก ในช่วงฤดูฝน ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม
  • ย้อนวิบากกรรม‘อิ๊งค์’ หยุดปฏิบัติหน้าที่แค่ยกแรก ‘มรสุม’เรื่องร้องรอถล่มอื้อ ย้อนวิบากกรรม‘อิ๊งค์’ หยุดปฏิบัติหน้าที่แค่ยกแรก ‘มรสุม’เรื่องร้องรอถล่มอื้อ
  • เผยเส้นทางปริศนา\'เจ้าคุณอาชว์\'ลาสิกขาหลังกลับจากเดนมาร์ก ตำรวจยังไร้วี่แววในไทย เผยเส้นทางปริศนา'เจ้าคุณอาชว์'ลาสิกขาหลังกลับจากเดนมาร์ก ตำรวจยังไร้วี่แววในไทย
  • เปิดปมปริศนา \'เจ้าคุณอาชว์\' อดีตเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพฯลาสิกขาด่วนก่อนหลบเข้าลาว เปิดปมปริศนา 'เจ้าคุณอาชว์' อดีตเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพฯลาสิกขาด่วนก่อนหลบเข้าลาว
  • ย้อนรอย 7 ปี \'13 หมูป่าติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน\' ปาฏิหาริย์ที่โลกไม่ลืม ย้อนรอย 7 ปี '13 หมูป่าติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน' ปาฏิหาริย์ที่โลกไม่ลืม
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  •  

Breaking News

เผชิญหน้าครั้งแรก! 'ฟิล์ม-ดีเจแมน'นัดไกล่เกลี่ยคดีหมิ่นประมาทฯ ปมเรียกเงิน 14 ล้าน

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันพุธ 2​ กรกฎาคม 2568

'แอ๊ด คาราบาว'ฟันธง! ถ้าเพื่อไทยดันทุรังสร้างกาสิโน 'พรรค-ตระกูลเจ้าปัญหา'สาปสูญแน่

ลุงพลาดท่าถูกหลานชายป่วยทางจิตกระทืบดับ หลังทะเลาะกันในวงเหล้า

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved