วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ‘สกลนครโมเดล’  ความสำเร็จที่‘ชาวบ้าน’จับต้องได้ และให้ความยั่งยืน

บทความพิเศษ : ‘สกลนครโมเดล’ ความสำเร็จที่‘ชาวบ้าน’จับต้องได้ และให้ความยั่งยืน

วันอังคาร ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

26 กันยายน 2564 ผมในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม คนที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ได้เดินทางไปที่จังหวัดสกลนคร ในพื้นที่ อ.วานรนิวาส และ อ.บ้านม่วง เพื่อต่อยอดความสำเร็จใน “โครงการสกลนครโมเดล” สู่รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารวัฒนธรรม (แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) หรือ Esan Gastronomy Tourism

นอกเหนือไปจากการรับทราบการยกระดับของสายงานย่อยต่างๆ ที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชาวบ้านตามเป้าหมายที่วางไว้ 1 หมื่นบาทต่อเดือน ต่อครัวเรือนแล้ว พวกเราก็มาลงรายะเอียดเกี่ยวกับการขยายกรอบของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายออกไป เพื่อเปิดโอกาสให้ชุดความรู้ต่างๆ ที่ร่วมกันทำมาตลอด 1 ปี กระจายออกไปตามกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ รวมไปถึงแรงงานคืนถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ร่วมด้วยที่สำคัญ หน่วยงานในระดับจังหวัดก็ร่วมเข้าหารือถึงการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวที่ควรจะเกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ในความเป็นไปได้เกี่ยวกับสกลนครในฐานะเมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสาน ทั้งในเรื่องอาหาร และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่น่าสนใจ


สำหรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากสายงานย่อยต่างๆ ในโครงการ อันเชื่อมโยงไปถึงความแข็งแรงของภาคการเกษตร และชุมชนท้องถิ่นของพื้นที่เป้าหมาย มีดังนี้

1. เราเริ่มต้นที่ปัญหาด้านการเพาะปลูก ด้วยลักษณะของดินที่นี่ ซึ่งเป็นดินลูกรังอันไม่เอื้ออำนวยทางการเกษตร การปรับปรุงดินจึงเกิดขึ้นด้วยองค์ความรู้
ทางวิทยาศาสตร์จากทีมงานสกลนครโมเดล จนได้ “นวัตกรรมดินมีชีวิต” ที่ประกอบไปด้วย ดินลูกรัง ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ถ่านกัมมันต์ และหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น
คู่แฝด มาผสมผสานเติมธาตุอาหารและคุณประโยชน์ให้กับดินในพื้นที่เป้าหมายของโครงการ ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรเจริญงอกงาม และดิน ถ่านกัมมันต์ รวมไปถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นคู่แฝด ยังกลายเป็นสินค้าขายดีสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ และนอกพื้นที่อีกด้วย

2. ส่วนเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ก็เป็นอีกโครงสร้างหลักของการทำเกษตรในโครงการ ทีมงานสกลนครโมเดลก็จะศึกษาพื้นที่เป้าหมาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ จำนวนไร่ ผลผลิต ความต้องการของเกษตรกร จากนั้นก็จะออกแบบแนวทางการใช้น้ำที่เหมาะสมออกมาตามปัจจัยที่กำหนด โดยนำนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาประกอบเพื่อลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่าย และแรงงาน ที่สำคัญ การใช้น้ำเท่าที่จำเป็น คือ หลักชัยของทีมงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนของการเพาะปลูกแบบผสมผสานให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี ถึงตรงนี้ทุกความสำเร็จของการเพาะปลูก ก็มาจากระบบน้ำที่ได้รับการออกแบบไว้

3. การเพาะปลูกนั้น เราเลือกพืชผักสวนครัว และสมุนไพร เข้ามาเสริมพืชหลัก เพราะพืชผักสวนครัวสามารถปลุกได้ทุกฤดูกาล และสามารถเก็บผลผลิตมารับประทาน หรือมีตลาดรองรับในการนำมาขายเสมอ ส่วนสมุนไพร เราเริ่มต้นที่ “ฟ้าทะลายโจร” ด้วยดินมีชีวิต ระบบน้ำที่ได้รับการออกแบบ และมาตรฐานของกระบวนการดูแลที่แม่นยำ จึงทำให้เรามีสารสำคัญอย่างแอนโดรกราโฟไลด์สูงมากหลังผ่านการตรวจวิจัย ปัจจุบัน ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายสามารถสร้างรายได้จากสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมหาศาล มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มาเป็นคู่ค้าเพื่อรับผลผลิตในรูปแบบต่างๆ ส่วนทางโครงการกำลังเดินหน้าจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างตราสินค้าให้แก่ชาวบ้านกลุ่มนี้ต่อไป เพื่อรองรับฟ้าทะลายโจร และสมุนไพรตัวอื่นๆ ที่จะแนะนำ โดยจะขยับไปที่การเกษตรแบบสารสกัดมากขึ้นในปีต่อไป

4. ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณป่า ซึ่งมีความสมบูรณ์ของธรรมชาติเหมาะสมอยู่แล้วนั้น การสร้างป่าครอบครัวด้วยการผลักดันการปลูกสมุนไพร การเลี้ยงมดแดง การเพาะเห็ด การเลี้ยงอึ่ง ปูนา ฯลฯ กลายเป็นกิจกรรมที่มีชีวิตของชาวบ้านในตอนนี้ไปเสียแล้ว เพราะความที่ผลผลิตสามารถหล่อเลี้ยงการดำเนินชีวิตได้
ความผูกพันที่มีต่อป่าจึงเหนียวแน่นยิ่งขึ้น ในปีต่อไปทางโครงการสกลนครโมเดล จะยกระดับต่อไปเป็นป่าเศรษฐกิจชุมชน โดยหยิบแนวทางของการท่องเที่ยวเข้ามาเสริม และใช้ช่องทางการตลาดในแบบต่างๆ เข้ามากระจายสินค้าที่ได้จากป่าให้กว้างขึ้น

5. มาตรฐานผ้าคราม ซึ่งถือว่าเป็นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแรงอยู่แล้วสำหรับชาวสกลนคร ในสิ่งที่ทีมงานได้ลงไปช่วยก็คือ การสร้างมาตรฐานของเฉดสีต่างๆ ให้เป็นสากล สามารถกำหนด และเลือกเฉดสีตามที่ตลาดต้องการได้อย่างแม่นยำ จากนั้นก็เพิ่มเติมเรื่องทักษะการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เติมเต็มอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้ผสมผสานกับความทันสมัยนิยมอย่างลงตัว เพื่อเปิดกว้างแก่กลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง หรือตลาดต่างประเทศ ได้เข้าถึง และมีความมั่นใจในคุณภาพ นอกจากนั้น ยังได้ส่งเสริมการบริหารช่องทางการตลาดต่างๆ ตามความเหมาะสม รวมไปถึงการรวมกลุ่มเพื่อสร้างตราสินค้า และการักษามาตรฐานมิให้ลดทอนลง

อันที่จริง นอกเหนือจากสายงานหลักๆ ตามที่เล่ามานี้ ยังมีสายงานย่อยๆ แตกแขนงออกไปอีกมากมาย ทั้งเรื่องของอาหาร สิ่งทอ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ต้องบอกว่า ทีมงานสกลนครโมเดล มีฐานของความเป็นชุมชนที่แข็งแกร่งมาก และด้วยตรงนี้เองที่ทำให้ความสำเร็จทุกอย่างขยับไปได้ไกลกว่าที่คาดหวังไว้ หลังจากที่พวกเราได้พิสูจน์ให้ชาวบ้านสามารถเชื่อใจได้ว่า ไม่ใช่แค่เอาเงินมาให้แล้วก็ไป แต่มาแล้วร่วมสร้างความยั่งยืนของสกลนครไปด้วยกัน

สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่ผมอยากฝากให้รัฐบาล และประชาชนคนไทยทุกคน ได้พิจารณามาเป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับนโยบายการฟื้นฟูประเทศทางด้านเศรษฐกิจฐานรากและการสร้างความมั่นคงให้กับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้นตามแนวทางที่นำเสนอมานั้น ได้รับการพิสูจน์จนกลายเป็นที่ประจักษ์แล้ว ผมจึงไม่เห็นเหตุผลอันใดที่รัฐบาลจะไม่ต่อยอดความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ให้กลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในอีกหลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศไทย เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านตามท้องถิ่นต่างๆ ได้มีพัฒนาการไปในทางที่ดียิ่งขึ้น และนี่เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ผมพยายามสื่อสารถึงแนวทางของโครงการ “จังหวัดโมเดล” อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็หวังว่าจะได้รับความสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นจากทุกคนครับ

กนก วงษ์ตระหง่าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : หลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพ  ยกระดับ‘ท้องถิ่น’ดูแลประชาชน บทความพิเศษ : หลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับ‘ท้องถิ่น’ดูแลประชาชน
  • บทความพิเศษ : ที่มา ของผู้ใช้อำนาจบริหาร  แทนปวงชนชาวไทย (2) บทความพิเศษ : ที่มา ของผู้ใช้อำนาจบริหาร แทนปวงชนชาวไทย (2)
  • บทความพิเศษ : ‘ท้องถิ่น’บทบาทสำคัญ  ดูแล‘เด็ก-เยาวชนด้อยโอกาส’ บทความพิเศษ : ‘ท้องถิ่น’บทบาทสำคัญ ดูแล‘เด็ก-เยาวชนด้อยโอกาส’
  • บทความพิเศษ : คุณประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ บทความพิเศษ : คุณประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์
  • บทความพิเศษ : เมื่อวันหนึ่งครม.อาจไฟเขียวฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวชาวจีน? บทความพิเศษ : เมื่อวันหนึ่งครม.อาจไฟเขียวฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวชาวจีน?
  • บทความพิเศษ  : ยก ‘BDMS-บางจาก’ กรณีศึกษา...ไม่เปลี่ยนก็ไม่รอด บทความพิเศษ : ยก ‘BDMS-บางจาก’ กรณีศึกษา...ไม่เปลี่ยนก็ไม่รอด
  •  

Breaking News

‘สาธิต’พ้อ!เสียเวลาคว่ำหาร500 ฝาก‘กกต.’พิจารณานำข้อมูลเข้าออนไลน์

'ชัชชาติ'จี้แก้ 100 จุดเสี่ยงอุบัติเหตุสูงสุด พร้อมรณรงค์จิตสำนึก

เปิดตลาด'ชม ชิม ช็อป'แนบชิดแม่น้ำโขงชมวิวทิวทัศน์ 2 ฝั่งไทยลาวที่นครพนม

กทม.แจ้งเตือนชุมชนริมคลอง หนองจอก-ลาดกระบัง เสี่ยงน้ำเอ่อล้น ผลพ่วงน้ำเหนือ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved