วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ทีมวิจัย สวทช.-พันธมิตรทำสำเร็จ  สกัดสารพันธุกรรมเชื้อโควิดถูกกว่านำเข้า2เท่า

สกู๊ปพิเศษ : ทีมวิจัย สวทช.-พันธมิตรทำสำเร็จ สกัดสารพันธุกรรมเชื้อโควิดถูกกว่านำเข้า2เท่า

วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

แม้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะเป็นภัยคุกคามโลกอย่างหนักแต่ในขณะเดียวกัน มนุษย์ต่างก็คิดค้น สรรหาวิธีมาต่อสู้ ตอบโต้ไวรัสร้ายตัวนี้อย่างเต็มที่เช่นกัน โดยมีทั้งมาตรการป้องกันการติดเชื้อในแบบต่างๆ และวิธีการรักษาโรคให้หายขาด เพื่อที่จะสามารถเอาชนะวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

โดยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่โถงอาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โยธี ถนนพระรามที่ 6 กทม. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. นำโดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช., ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำนวยการ สวทช., ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. และทีมวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.พรสวรรค์ เหลืองวุฒิวงษ์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล และ ดร.พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมแถลงข่าวในพิธีมอบ “ชุดสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019”


โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบชุดสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้แก่ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ รวมจำนวน 82,000 ชุด มูลค่า 8.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่องพร้อมระบุว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวง อว. เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ด้วยการระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานวิจัยและสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด มาคิดค้น วิจัย และพัฒนานวัตกรรม กระทั่งนำไปสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ด่านหน้าได้เป็นอย่างดี

กระทรวง อว. มีการแก้ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ตลอดจนการสร้างผลประโยชน์ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวให้แก่ประเทศ โดยระยะสั้น โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศหรือ U2T เพื่อแก้ปัญหาการว่างงานจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้แรงงานกว่า 60,000 คน มีงานทำกระจายไป 3,000 ตำบลทั่วประเทศ และเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัย 76 แห่งทั่วประเทศ ทำงานร่วมกับชุมชนในระดับตำบล ก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในชุมชนหลายร้อยล้านบาท ส่วนระยะที่ 2จะพัฒนาขึ้นและต่อยอดจากระยะที่ 1 ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ 1.การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 2.การดูแลเศรษฐกิจชุมชนแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามบริบทของชุมชน และ 3.การจ้างงานบุคลากรที่มีความรู้ มุ่งเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เป็นประเด็นสำคัญจะมีการปฏิบัติงาน 7,435 ตำบลทั่วประเทศ จ้างงาน 150,000 คน

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์

นอกจากนี้ ยังได้ส่งยาสมุนไพรและอุปกรณ์ของใช้ที่จำเป็น ที่เรียกว่า “อว. พารอด” โดยมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากที่ช่วยบริจาคสิ่งของ และยังพัฒนายา วัคซีน และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะเดียวกันก็พัฒนาประเทศตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) ที่เป็นวาระของชาติ ซึ่งครอบคลุมเรื่องการพัฒนายา วัคซีน และเครื่องมือแพทย์ด้วย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

“ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับความสำเร็จล่าสุดของผลงานวิจัยชุดสกัดอาร์เอ็นเอ ของศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. ที่พัฒนาชุดสกัดอาร์เอ็นเอที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพเทียบเท่าชุดสกัดอาร์เอ็นเอที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ราคาถูกกว่ามาก และมีการส่งมอบให้แก่ 3 หน่วยงาน คือ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมราชทัณฑ์ ที่จะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป”ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว พร้อมกันนี้ยังได้ขอบคุณทีมวิจัยและผู้อยู่เบื้องหลังทุกคนที่ทำงานด้วยความลำบาก จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่แค่วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสำเร็จเท่านั้น แต่ยังสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายได้ด้วย

ทางด้าน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. มีเป้าหมายที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมทางด้านสุขภาพและการแพทย์ ตามเป้าหมายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบาย BCG Economy Model ในสาขายุทธศาสตร์ สุขภาพและการแพทย์ ซึ่งที่ผ่านมา สวทช. ได้เร่งพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม สำหรับรองรับการระบาดของโรคโควิด-19 มีการส่งมอบผลงานมากกว่า 20 ผลงาน ครอบคลุมทั้งด้านการป้องกัน การลดการแพร่กระจายและฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งการตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยโรคเบื้องต้นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีหลายผลงานที่พร้อมทางด้านเทคโนโลยีการผลิตจนสามารถนำไปต่อยอดและเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศ

ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ส่งมอบชุดสกัด RNA (Viral RNA Extraction Kit) ของศูนย์โอมิกส์แห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด สวทช. ที่ได้รับเงินกู้ฉุกเฉินภายใต้“พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563” เพื่อดำเนินการพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยชุดสกัด RNA ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วเหมาะสมกับการใช้งานจริง รวมถึงการขยายผลในการผลิตเพื่อส่งมอบให้หน่วยงานที่ใช้ประโยชน์โดยตรงได้นำไปใช้สกัดอาร์เอ็นเอ ก่อนส่งตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยใช้ตัวอย่างจากสารคัดหลั่ง หรือ swab ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคนิค Real-time RT-PCR ในราคาที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศอย่างน้อย 2 เท่า (ราคานำเข้าอยู่ที่ 120-200 บาท)

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

“การวิจัยและพัฒนานี้ถือเป็นจุดแข็งของประเทศที่จะช่วยสนับสนุนความมั่นคงด้านสุขภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าชุดสกัด ช่วยให้ประเทศมีความพร้อมในการรับมือต่อการระบาดของโรคอุบัติใหม่ และยังเป็นส่วนสำคัญของการวิจัยพัฒนาเพื่อตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลใช้เป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว

ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. กล่าวเสริมว่าการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรกเมื่อปีที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คิดค้นและพัฒนา “วิธีสกัดอาร์เอ็นเอ (RNA) ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) จากตัวอย่างแบบง่าย” ขึ้น โดยใช้อนุภาคแม่เหล็ก (Magnetic bead) จับกับสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอของไวรัส ซึ่งอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสที่สกัดได้มีความบริสุทธิ์สูง สามารถนำไปตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี RT-PCR

ทั้งนี้ วิธีในการสกัดสารพันธุกรรม ที่คิดค้นมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การทำให้เซลล์แตกตัวแล้วปล่อยสารพันธุกรรมออกมา 2.การเข้าจับสารพันธุกรรมและทำความสะอาดสารพันธุกรรม และ 3.การละลายสารพันธุกรรมบริสุทธิ์นั้นออกมาจากตัวจับ และทำความสะอาดสารพันธุกรรมที่อยู่ในตัวอย่าง ซึ่งสามารถทำการสกัดได้เร็ว ราคาถูก ที่สำคัญยังปรับวิธีให้ใช้ได้กับเครื่องสกัดอัตโนมัติที่มีอยู่ในท้องตลาดได้ค่อนข้างง่าย ทั้งนี้ วิธีสกัดอาร์เอ็นเอดังกล่าว ยังสามารถนำไปใช้ในการสกัดสารพันธุกรรม ในสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้ ไม่จำกัดเพียงไวรัสก่อโรคโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงไวรัสก่อโรคในพืช สัตว์และมนุษย์

“วิธีการสกัดที่พัฒนาขึ้น ถือเป็นวิธีที่ง่าย สามารถใช้งานกับสารเคมีและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการด้านพันธุกรรม ซึ่งทีมนักวิจัยได้มีการนำไปทดสอบใช้งานจริงกับตัวอย่างตรวจของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว พบว่าให้ผลไม่แตกต่างจากการใช้ชุดสกัดที่นำเข้าจากต่างประเทศ” ดร.สิทธิโชค กล่าว

ปัจจุบันทีมวิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท After Labและ Bioentist เป็นผู้รับอนุญาตให้สิทธิใช้ประโยชน์เพื่อเตรียมผลิตและจำหน่ายทางการค้าครั้งแรกในไทย ทั้งนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าวทีมวิจัย สวทช. ได้ร่วมกับบริษัท After Lab ในการปรับวิธีให้สามารถใช้ได้กับเครื่องสกัดแบบอัตโนมัติ และมีทีมของ รองศาสตราจารย์ ดร.พรสวรรค์ เหลืองวุฒิวงษ์ จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดลและทีมของ ดร.พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมในโครงการเพื่อทำการทดสอบการใช้งานในตัวอย่างจริง ซึ่งได้รับการสนับสนุนการใช้เครื่องสกัดสารพันธุกรรมแบบอัตโนมัติ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากบริษัท After Lab

เป็นอีกหนึ่งในผลงานของคนไทยที่ได้ช่วยกันคิดค้น วิจัย และพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นสำหรับประเทศชาติต่อไป

ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง (คนกลาง) และทีมวิจัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน. สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน.
  • สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ  เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : สานต่อปีที่ 7 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานฯ 2025  ‘เพื่อนกัน มันส์โนแอล ไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน’ สกู๊ปพิเศษ : สานต่อปีที่ 7 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานฯ 2025 ‘เพื่อนกัน มันส์โนแอล ไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน’
  •  

Breaking News

สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’

ปล่อยรัว 3 เพลงติด ‘loserpop’ กับเพลงรักคอมโบเซ็ท

‘ใบเฟิร์น สุทธิยา’ สลัดลุคหวาน สาดความแซ่บ! พร้อมคัมแบ็กสุดปังในเพลงใหม่ ‘นัดฟิน’

‘เอิร์น’ปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘ซัพพอร์ตผู้หญิงคนนี้ได้ไหมคะ’ แนวน่ารัก สดใส เอาใจสาวไร้คู่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved