วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ‘คณะราษฎร’

บทความพิเศษ : ‘คณะราษฎร’

วันศุกร์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag :
  •  

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเมื่อปีพ.ศ.2475 ซึ่งนำโดย “คณะราษฎร” จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ(ตามแบบการปกครองในประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ที่กำลังเจริญก้าวหน้าภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี)

การเปลี่ยนแปลง “การปกครอง” ได้มีเสียงเรียกร้อง “วิวัฒนาการ” มาเป็นลำดับ ได้มี
คณะเจ้านายและข้าราชการสถานทูตไทยในยุโรปตะวันตก “ผู้กล้าหาญ” ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้ทรงพิจารณา “ปฏิรูป”การปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน


ข้อความในหนังสือนั้นแถลงว่า “อำนาจบริหารทั้งหมดตกอยู่กับพระเจ้าอยู่หัวองค์เดียว ย่อมเท่ากับทรงมีทางสายเดียวที่จะปกครองประเทศ

เป็นของจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนการปกครองให้ไทยเรามีระบอบรัฐธรรมนูญ...ควรจะมีการปกครองโดยความรับผิดชอบรวมของคณะเสนาบดี คือคาบิเนต (Cabinet) ซึ่งมีเอกอัครมหาเสนาบดี (Prime Minister) เป็นประธาน....”

ในคำแถลงนี้ได้ยอมรับว่า “ยังไม่ถึงเวลาที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปสำหรับรัฐสภา”... ลายลักษณ์อักษรความเห็นตรงไปตรงมาฉบับนี้ยาวถึง 60 หน้ากระดาษ มีผู้เปิดเผยตัวลงพระนามและนาม รวม 11 ท่าน
ด้วยกัน

กฎหมายสมัยนั้น ผู้ลงนามทุกๆ ท่านนับได้ว่า มีความผิดฐานดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อาจจะถูกลงโทษได้อย่างหนักถึงขั้น “ประหารชีวิต”

แต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็น “นักประชาธิปไตย” ทรงไม่ได้ถือโทษโกรธ “ความเป็นปราชญ์” ของพระองค์ท่านทรงอ่านสาส์น 60 หน้าอย่างละเอียดลออ ด้วยความสนพระทัยและทรงตอบอธิบายด้วยพระเมตตา ที่สำคัญพระองค์ท่านมีความรู้ในระบอบรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ เป็นอย่างดีจากการศึกษาและเสด็จฯ เยือน

ทรงเล่าในพระราชนิพนธ์ “ไกลบ้าน” (จดหมายที่ทรงมีถึงสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล พระราชธิดา) ถึงข้อสังเกตการเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ...“การเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ดูน่าจะสบายมาก แต่ต้องเป็นผู้ที่ไม่ฝักใฝ่ในการที่จะทำอะไร ทำตามชอบใจตัว ปล่อยให้เขาทำ เขาคิดจะทำอย่างไร เขามาบอกให้รู้

ถ้ามีความเห็นอย่างอื่น จะโต้ทานบ้างก็ได้ แต่ถ้าความเห็นยืนยันกันไปคนละทาง เป็นต้องอพยพแพ้เขาเสีย

อย่าไปดึงดันให้ถึงเกิดวิวาทกันขึ้น การที่จะวางได้เช่นนี้ ก็เฉพาะเมืองอังกฤษเป็นอย่างวิเศษ...
ด้วยเหตุฉะนั้น เป็น
เจ้าแผ่นดินอังกฤษ ถึงจะไม่เอาธุระอะไรด้วยการงาน คอยแต่พยักอย่างเดียว การก็ไม่มีเสีย

ถ้าทำอะไรได้บ้างก็ยิ่งดีขึ้น พ่อจึงได้กล่าวว่า สบายดี...”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงตอบสาส์น “คณะผู้กล้าหาญ” ที่เรียกร้องให้ “ปฏิรูป” การปกครองฉบับนั้นไปว่า

ทรงเคยเป็นทั้ง “ตุ๊กตา” ไม่มีอำนาจอันใดเลย นอกจากชื่อ (สมัยต้นรัชกาลที่มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ) ต่อมามีอำนาจเต็มบริบูรณ์ ได้ผ่านความลำบากมาอย่างไร ทรงรู้ดี จำได้ดี “เพราะที่จำได้อยู่อย่างนี้ เหตุใดเล่า เราจึงไม่มีความปรารถนา (อำนาจปานกลาง)”

ทรงมีพระเมตตาอธิบายสถานการณ์บ้านเมืองขณะนั้นและความเร่งด่วนที่ต้องทำอีกหลายข้อ

ในรัชสมัยต่อมา ได้มีคณะบุคคลพยายามยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปีพ.ศ.2454 หากไม่เป็นผลสำเร็จ

24 มิถุนายน พ.ศ.2475 “คณะราษฎร” สามารถเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

เปลี่ยนการปกครองของกษัตริย์เหนือกฎหมายมาเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย

ความสำเร็จส่วนหนึ่งเชื่อกันว่ามาจาก “วิวัฒนาการสังคม” โลกเปลี่ยนประเทศสังคมเปลี่ยน

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475

หลังพระราชทานธรรมนูญ ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ เมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ.2478 โดยมีพระราชหัตถเลขาประวัติศาสตร์ว่า

“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไปแต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด แต่โดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร...”

จากวันนั้นถึงวันนี้ เรามีการปฏิวัติรัฐประหารถึง 13 ครั้ง มีการฉีกรัฐธรรมนูญและเปลี่ยนใหม่ไปถึง 20 ฉบับ

จากฉบับแรกที่ชาวบ้านสยามคิดว่า รัฐธรรมนูญคือ ลูก “พระยาพหล” ถึง “ฉบับ 3 ป” ล่าสุด

บ้านเมืองยังหนีไม่พ้น “วงจรอุบาทว์” และราชการบ้านเมืองที่บริหารโดย “ผู้ใหญ่ไม่กี่คน มีความคิดอย่างเก่าๆ แคบๆ นำสู่ความเสื่อมและความล่มจมได้ง่าย” ดังที่ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้า “คณะราษฎร” อ้างเป็นเหตุล้มล้างการปกครองในปีพ.ศ.2475


กฤษณ์ ศิรประภาศิริ
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้ เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้
  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • ‘ชุมชนนำ’โอบอุ้มเด็กและครอบครัว ‘ชุมชนนำ’โอบอุ้มเด็กและครอบครัว
  • รายงานพิเศษ : ‘ความปลอดภัยและสุขภาพ’ เรื่องสำคัญต้องดูแล‘แรงงาน’ รายงานพิเศษ : ‘ความปลอดภัยและสุขภาพ’ เรื่องสำคัญต้องดูแล‘แรงงาน’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  •  

Breaking News

เมียนมาทิ้งบอมบ์! ถล่มโรงงานแร่คาเรนนี ทัพกะเหรี่ยงรุกกลับตีค่ายทหารยับ

เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้

‘นายกฯ’เตรียมบิน‘ฮานอย’ ยกระดับความสัมพันธ์‘ไทย-เวียดนาม’สู่หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์

หมาหอนเกลียว! ตะครุบหัวคะแนนพรรคดัง แจกเงิน‘ซื้อเสียง’เลือกตั้งเทศบาลนครนนท์

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved