วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า :  ไทยควรกังวลแค่ไหน?  เด็กเกิดน้อย-ประชากรลด

สกู๊ปแนวหน้า : ไทยควรกังวลแค่ไหน? เด็กเกิดน้อย-ประชากรลด

วันอาทิตย์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565, 07.15 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“ปี 2506-2526 ช่วง 20 ปีนี้มีเด็กเกิดในประเทศไทยปีละเกินกว่าล้านคน ผมเรียกว่าประชากรรุ่นเกิดล้าน หรือตอนหลังก็มาเรียกกันว่าสึนามิประชากร ใน 50 ปีก่อนพอดีเลยนะ ในปี 2514 มีเด็กเกิดในประเทศไทย 1,200,000 คน เป็นจุดยอดที่สุด สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เกิดได้อย่างไรปีละ 1,200,000 คน ตอนนั้นประเทศไทยมีประชากรอยู่ 34 ล้านคน แต่เกิดตั้ง 1,200,000 คนแต่พอหลังจากปี 2527 เป็นต้นมา จำนวนเกิดจะลดลงเรื่อยๆ มาถึงปี 2562 มาแตะ 6 แสนคนเท่านั้น แล้วพอมาเจอปี 2563 ลงมาถึง 580,000 คน ผมก็ว่ามันลงเร็วเหมือนกัน”

ศ.(เกียรติคุณ) ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการเสวนา (ออนไลน์) “โควิด-19 ทำให้อัตราเพิ่มประชากรติดลบ เร็วเกินคาด” ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจของสถาบันฯ เมื่อช่วงค่ำวันที่ 13 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยในปี 2563 มีประชากรเกิดใหม่ 587,368 คน ในขณะที่ปี 2564 ก็ยิ่งน้อยลงไปอีกโดยมีประชากรเกิดใหม่ 544,570 คน


อาจารย์ปราโมทย์ กล่าวต่อไปถึงความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย “การแต่งงานลดลง” สาเหตุไล่ตั้งแต่ผู้หญิงไทยได้รับการศึกษาสูงขึ้น มีสถานภาพดีขึ้น (จนหลายคนบอกว่าหาคู่ยาก) ตลอดจนความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับมากขึ้น และเพศสภาพเหล่านั้นไม่อยู่ในสถานะที่จะมีลูกเหมือนกับคู่ชาย-หญิงที่แต่งงานกัน “แต่งงานแล้วก็ไม่อยากมีลูก” ด้วยข้อจำกัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา นั่นทำให้อัตราการเกิดลดลง นอกจากนั้น การระบาดของไวรัสโควิด-19ในช่วง 2 ปีล่าสุดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เนื่องจากมีข้อจำกัดในการไปโรงพยาบาล

ในทางกลับกัน อัตราการตายกลับสูงขึ้น เช่น ในปี 2563มีผู้เสียชีวิต 501,438 ราย และปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 563,650 ราย ซึ่งสาเหตุไม่ได้มาจากปัญหาสุขภาพแต่เป็นเพราะโครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและแน่นอนว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องจากโลกนี้ไปตามอายุขัย ซึ่งก็เป็นไปได้ที่สถานการณ์โควิด-19 อาจมีผลต่อการตายที่เพิ่มขึ้น ทั้งโดยตรงคือการติดเชื้อ และโดยอ้อมคือตายเพราะอาการเจ็บป่วยอื่นๆ แล้วรักษาไม่ทันเพราะผู้ป่วยโควิด-19 ล้นโรงพยาบาล รวมถึงฆ่าตัวตายเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจจากมาตรการล็อกดาวน์ เช่น ตกงานขาดรายได้

“ทุกอย่างมันเกินคาดไปหมด โควิดนอกจากจะทำให้การเพิ่มของประชากรไทยติดลบเป็นครั้งแรกแล้ว ซึ่งอันนี้มันเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ อย่างตัวเลขของการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยโดยสภาพัฒน์ทำไว้ เราจะเริ่มติดลบกันในปี 2571 เหตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงประชากรประเทศไทยติดลบเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 7 ปี คืออย่างเราก็ตามเรารู้ว่าประเทศไทยเกิดลดลง-ตายเพิ่มขึ้นแน่ๆ อย่างไรไม่มีโควิดมันก็จะเป็นอย่างนั้น แต่อย่างนี้ผมก็ต้องโทษโควิดแล้วว่ามันทำให้การเปลี่ยนเปลงนี้มันเร็วขึ้น 7 ปี” อาจารย์ปราโมทย์ ระบุ

จากสถิติการเกิดที่ปรากฏข้างต้นรวมถึงอัตราการเจริญพันธุ์ หมายถึงจำนวนบุตรที่หญิงคนหนึ่งให้กำเนิดตลอดช่วงอายุที่เป็นวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันหญิงไทย
มีบุตรเฉลี่ย 1.2 คน ระดับเดียวกับญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน อาจารย์ปราโมทย์ ย้ำถึงความสำคัญของ “นโยบายส่งเสริมการเกิด” แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม เพื่อไม่ให้อัตราการเกิดของประชากรลดต่ำลงไปมากกว่านี้

อาทิ สวัสดิการในการเลี้ยงดู ไปจนถึงค่าใช้จ่ายในการใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์กรณีผู้มีบุตรยาก อย่างไรก็ตาม “แม้อัตราการเกิดน้อยจะน่าเป็นห่วงว่าแรงงานอาจขาดแคลน” แต่อีกด้านหนึ่ง “คุณภาพของประชากรที่เกิดมาแล้วก็สำคัญ” เพื่อให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกัน ยังสามารถนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศได้ทั้งแรงงานไร้ฝีมือและมีฝีมือ รวมถึงนำเทคโนโลยีจักรกลและปัญญาประดิษฐ์ (Robot & AI) เข้ามาทดแทนแรงงานคน

ในช่วงท้ายของการเสวนา อาจารย์ปราโมทย์ ยังได้คำถามจากผู้ชมทางบ้าน เช่น 1.สถานการณ์โควิด-19 คนอยู่บ้านมากขึ้น คู่รักมีโอกาสอยู่ร่วมกันมากขึ้น จะมีผลต่อการเพิ่มประชากรหรือไม่? เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคู่ และเป็นประเด็นที่น่าศึกษาว่ามีผลมาก-น้อยเพียงใด 2.หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ อัตราการเกิดจะกลับมาเพิ่มเท่ากับอัตรการตายหรือไม่? ประเด็นนี้ต้องไม่ลืมว่านอกจากโควิด-19 แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนมีลูกน้อยลง ทั้งการแต่งงาน ความหลากหลายทางเพศ ปัญหาการมีบุตรยาก ผู้หญิงมีเสรีภาพในชีวิตสูงขึ้น ฯลฯ

3.หากนโยบายส่งเสริมการเกิดไม่ทำให้คนมีลูกมากขึ้นเพราะวิถีชีวิตคนยุคใหม่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้อัตราการเกิดลดลงไปเรื่อยๆ ท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อประเทศ นอกเหนือจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน? ประเด็นนี้จริงๆ แล้วการพัฒนาประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรแต่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ จะเกิดน้อยไม่ก็เป็นอะไรหากทำให้คนที่เกิดมาเติบโตอย่างมีคุณภาพ

“ที่เราทำการศึกษามา แน่นอนถ้าเป็นไปอย่างนี้ถ้าไม่นับแรงงานหรือคนที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เอาเฉพาะการเกิดและการตาย ในอนาคตอีก 50 ปีข้างหน้าที่เราทำการศึกษาไว้ ประชากรไทยก็จะลดลงเหลือประมาณ 50 ล้านคน แล้วอีก 100 ปีข้างหน้า ถ้าไม่เอาเรื่องการย้ายถิ่นเข้ามา ประเทศไทยจะเหลือประชากรอยู่ไม่ถึง 30 ล้านคน” ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงอนาคตประชากรไทย

4.หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ต่อไป การคาดประมาณประชากรที่สภาพัฒน์ (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ทำไว้ต้องคำนวณกันใหม่หรือไม่? การคาดประมาณประชากรใช้สมมุติฐานจากข้อมูลการเกิดและการตาย ทั้งนี้ โดยปกติแล้วประเทศไทยจะสำรวจสำมะโนประชากรทุกๆ 10 ปีเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลประชากร บวกกับดูแนวโน้มการเกิด ดังนั้น หากข้อมูลเปลี่ยนไปก็ต้องมาคาดประมาณกันใหม่

ด้าน ณปภัช สัจนวกุล นักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ดำเนินรายการ กล่าวปิดการเสวนาด้วยการยกบทสัมภาษณ์หนึ่งของ ลี กวนยู อดีตผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของสิงคโปร์ ซึ่งครั้งหนึ่งมีคนไปถามท่านว่า “ท่านเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างชาติ สร้างเศรษฐกิจสิงคโปร์ให้เจริญก้าวหน้า แล้วยังมีอะไรอีกบ้างที่ท่านยังไม่ได้ทำหรือทำไม่สำเร็จ?” ซึ่ง ลี กวนยู ก็ตอบสั้นๆ ว่า “การเพิ่มประชากรสิงคโปร์” และยอมรับว่า “การที่ชาวสิงคโปร์มีลูกกันน้อยเพราะนั่นคือทางเลือกหนึ่งของชีวิต” และคำตอบนี้ก็เป็นข้อคิดที่สำคัญ

“เรื่องแบบนี้ท้ายที่สุดมันไม่มีใครสามารถไปบังคับใครได้ รัฐบอกให้คุณมีลูกคุณก็ต้องมี หรือคนในครอบครัวก็ตาม แต่หน้าที่ของรัฐคืออะไร? สำหรับหน้าที่ของรัฐ
ที่มีผลต่อเงื่อนไขของการมีลูกน้อย คือพยายามทำให้สังคมน่าอยู่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือพยายามสร้างแรงจูงใจผ่านสิ่งที่เรียกว่าระบบสวัสดิการต่างๆ ให้เป็นตัวเร่งคนที่เขาอยากจะมีลูกอยู่แล้วในวันนี้ ให้เขาคิดน้อยลงว่ามันไม่น่าจะมีอุปสรรคอะไรที่ทำให้เขาจะเลี้ยงลูกไม่ได้ ผมคิดว่าอันนี้มากกว่า” อาจารย์ณปภัช กล่าวในท้ายที่สุด

SCOOP@NAEWNA.COM

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'ก่อแก้ว'ขำกลิ้งข่าวดัน'อนุทิน'นั่งนายกฯ ชั่วคราวแก้รธน. ชี้ย้อนแย้ง เหตุภท.ได้ประโยชน์

4X100 พันธุ์ใหม่! บุกจับ ไซรัปผสมกระท่อม 'ปรุงมือ-ไร้มาตรฐาน'

'ตุรกี'อ่วม! ไฟป่ารุนแรงคร่า 2 ชีวิต ประชาชนอพยพหนีตาย

'อภิมหาแผ่นดินไหว'เขย่าญี่ปุุ่นแล้ว1,150ครั้ง ประชาชนเริ่มทยอยอพยพออกจากเกาะ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved