วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก’  ฝันร้ายฝังลึกแม้ผ่านไปนาน

สกู๊ปแนวหน้า : ‘ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก’ ฝันร้ายฝังลึกแม้ผ่านไปนาน

วันอาทิตย์ ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กจะส่งผลกระทบทางจิตใจ หรือเป็นแผลในจิตใจ (Trauma) โดยเกิดจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เด็กพบเจอ ที่ยังส่งผลกระทบด้านลบต่อจิตใจในระยะยาว และไม่ได้เป็นเรื่องของจิตใจเพียงเดียว แต่ร่างกายและสมองตอบสนองกับสิ่งที่เข้ามาคุกคามในอดีต และเข้ามาตอบสนองในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าเรื่องราวในอดีตบางอย่างที่เป็นบาดแผลในจิตใจยังคงอยู่แม้พบเจอในเหตุการณ์ปัจจุบัน แม้เป็นคนละเรื่องราวแต่อาจมีบางอย่างที่เชื่อมโยงกับบาดแผลในใจที่อยู่ในสมอง โดยจะกระตุ้นทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือความกลัวเกิดขึ้น”

ผศ.พญ.พลิสรา ธรรมโชติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวในงานเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กเล็ก : ผู้ใหญ่ต้องปกป้อง เด็กต้องเรียนรู้” จัดโดย 2 หน่วยงานใน มหาวิทยาลัยมหิดลคือ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายผลกระทบของเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งอาจเป็นบาดแผลในใจไปทั้งชีวิต


ซึ่งสาเหตุที่การถูกล่วงละเมิดทางเพศส่งผลกระทบต่อสมอง เนื่องจากสมองจะทำงานร่วมกัน 3 ส่วน แต่ถ้าพบเจอสิ่งทำให้รู้สึกรบกวนหรือเป็นอันตราย สิ่งที่เกิดขึ้นคือสมองจะทำงานทันที แต่สมองส่วนที่คิดจะไม่ทำงานโดยอัตโนมัติ เพราะ “หน้าที่ของสมองที่สำคัญที่สุดคือทำให้เรามีชีวิตรอด” ตัวอย่างเช่น หากเดินอยู่ในป่าแล้วเจอเสือ 1 ตัว แล้วมัวแต่คิดว่ามันคือตัวอะไร อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้

ซึ่งเวลาเกิดบาดแผลในจิตใจบางอย่างถ้าหากเจอคนที่มีหน้าตาหรือลักษณะคล้ายกับคนที่เคยทำร้ายหรือล่วงละเมิด ความทรงจำที่เป็นบาดแผลทางจิตใจจะไม่ได้ถูกย่อยโดยสมอง ฉะนั้นเวลาเจอคนหรือสถานการณ์ที่คล้ายกัน จะรู้ว่าเป็นอันตราย หากไม่หนีก็จะต่อสู้ทันที ซึ่งเรื่องของสมองจะทำให้เข้าใจว่าจริงๆ แล้วเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจจิตใจ ไม่ใช่สิ่งที่บังคับได้

“ผลของบาดแผลทางจิตใจมีตั้งแต่ประสาทสัมผัส อารมณ์ และความคิด ซึ่งเป็นส่วนผสมหลายๆ อย่างมารวมกัน เช่น รู้สึกเศร้า มองตัวเองในแง่ลบ มองโลกไม่น่าไว้วางใจ นอกจากนี้ความทรงจำที่เป็นบาดแผลทางจิตใจ จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากความทรงจำอื่นๆ ซึ่งความทรงจำทั่วไปเราจะจำได้ว่าเกิดขึ้นวันไหน สามารถอธิบายได้ แต่ความทรงจำที่เป็นบาดแผลทางจิตใจเป็นส่วนผสมของ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส” ผศ.พญ.พลิสรา ระบุ

ผศ.พญ.พลิสรา ยังกล่าวอีกว่า เรื่องของการเยียวยาเด็ก เวลาที่มีเรื่องของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จำเป็นต้องมีการจัดการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อาจจะต้องมีกระบวนการในการดูแลรักษาต่างๆ และกระบวนการคุ้มครองเด็กด้วย เพราะว่าถ้าเด็กยังอาศัยอยู่ที่เดิม ยังมีความเสี่ยงที่จะโดนกระทำแบบนั้นอีก จึงทำให้เด็กไม่สามารถรู้สึกปลอดภัยได้ จากการสำรวจการตอบสนองที่เด็กและครอบครัวต้องการ ที่ทำให้รู้สึกว่าได้รับการช่วยเหลือที่ดี พบว่า 1.การให้ข้อมูลคำอธิบายที่ชัดเจน 2.ต้องรวดเร็ว 3.มีการรักษาความเป็นส่วนตัว

4.เคารพให้ความเป็นตัวของตัวเองและไม่กดดันที่จะให้พูด 5.ไม่ตัดสิน 6.ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเด็ก 7.ตั้งใจฟังและเคารพ 8.ให้การช่วยทางจิตใจ 9.ประเมินและรักษาอาการทางกายและจิตใจ และ 10.สิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับเด็ก นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือ “ความสัมพันธ์” ความผูกพันที่ครูมีต่อเด็ก ซึ่งมีผลหลายๆ ด้าน เช่น ด้านสมอง และยังทำให้เด็กเข้าใจตัวตนในการจัดการอารมณ์ของตัวเองดี นอกจากนี้ ครอบครัวและสังคมยังเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือในตัวเด็กได้ และยังสามารถฟื้นคืนสภาวะปกติได้ ถ้าหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือช่วยเหลือกัน

ขณะที่ ทองรำไพ ปุ้ยตระกูล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวถึงรูปแบบการล่วงละเมิดทางเพศ ได้แก่ ได้แก่ 1.แบบสัมผัส เช่น การจับหน้าอก จับก้น จับอวัยวะเพศ ลูบคลำตามร่างกาย และการข่มขืนกระทำชำเรา และ 2.แบบไม่สัมผัส เช่น เปิดหนังโป๊ให้ดู แอบดูตอนเปลี่ยนเสื้อผ้า ถ่ายภาพโป๊ และการใช้คำพูดสื่อไปในทางลามก

“จากสถิติเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศที่ได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ปี 2561-2564 พบว่า เด็กชั้นมัธยมต้นโดนล่วงละเมิดมากที่สุด แต่เด็กถูกกระทำมาตั้งแต่ชั้นประถม จึงเห็นได้ว่ากรณีการล่วงเกินทางเพศจะไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกและไม่มีการช่วยเหลือ และยังพบอีกว่า คนที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศเด็กมากถึงร้อยละ 50 เป็นคนรู้จักและคุ้นเคย ส่วนคนแปลกหน้าอยู่ที่ร้อยละ 16.67 ดังนั้น เวลาที่ครูทำงานกับเด็กต้องอย่าเพิ่งไว้ใจคนรู้จักของเด็ก” หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าว

นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า “เด็ก 9 ใน 10 คนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ จะไม่บอกใครเมื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งผู้ใหญ่มักจะรู้จากการสังเกตเห็นความผิดปกติด้วยตนเอง” โดยที่เด็กไม่ยอมบอกใครเนื่องจาก 1.จะมีคนเชื่อฉันไหม 2.จะโดนพ่อแม่ดุไหม 3.จะถูกทำร้ายหรือฆ่าไหม และ 4.ฉันควรบอกใครไหม ซึ่งเด็กหลายคนไม่รู้ตัวว่ามีภัยอันตรายใกล้ตัว “ผู้ใหญ่จึงจำเป็นต้องสอนและปกป้องเด็กให้รู้ถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้น” ได้แก่

1.ดูแลเด็กในระยะที่เหมาะสม โดยแบ่งเป็นช่วงอายุแรกเกิด-3 ปี จะต้องดูแลเด็กอยู่ในสายตาตลอดเวลา และอยู่ในระยะเอื้อมถึง ช่วงอายุ 4-6 ปี จะต้องดูแลเด็กในระยะสายตาตลอดเวลา ตอบสนองเสียงเรียกได้ทันที ช่วงอายุ 7-9 ปีจะต้องดูแลในระยะอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ ตอบสนองเสียงเรียกได้ ช่วงอายุ 10-12 ปี จะต้องดูแลในระยะที่รู้ว่าเด็กอยู่ที่ไหน กับใคร และติดตามได้ตลอดช่วงอายุ 13-15 ปีจะต้องดูแลในระยะที่รู้ว่าเด็กไปไหนอยู่ที่ไหน กับใคร และติดตามได้ และช่วงอายุ 15-18 ปี จะต้องดูแลติดตามห่างๆ ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่าง และคอยให้คำแนะนำ

2.ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีเรื่องเพศ ซึ่งผู้ใหญ่ไม่ควรสัมผัสอวัยวะปกปิดของเด็ก และไม่เปิดอวัยวะปกปิดให้เด็กเห็น นอกจากนี้ผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเรื่องการสื่อสารความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ ด้วย 3.ทำให้เด็กรู้สึกว่ามีคุณค่า โดยการให้ความรักและความมั่นคงกับเด็ก ให้ความปลอดภัย และให้เด็กได้รู้สึกภาคภูมิใจ และ 4.ฝึกทักษะต่างๆให้กับเด็ก ได้แก่ ทักษะการประเมินความเสี่ยง ทักษะปฏิเสธ ทักษะตัดสินใจ และทักษะขอความช่วยเหลือ!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

‘เพื่อไทย’พร้อมถกงบ69 เปิดสมัยวิสามัญ เริ่มที่‘พ.ร.ก.แก้คอลเซ็นเตอร์ ต่อด้วย‘ตั๋วร่วม 20 บาท’

วิเคราะห์ 7 ข้อตีแสกหน้า‘ภูมิธรรม’ เบี่ยงประเด็นโต้ครหา‘นายกฯ’ใช้เงินหลวงไปต่างประเทศ

’มิ้งค์‘คิวร้อน! ทะลุตัดเชือกชิงแชมป์โลก

หงส์เปิดบ้านฉลองแชมป์ลีก!เช็คเงื่อนไขล่าตั๋วยูซีแอลนัดสุดท้าย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved