วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : เปิด6ข้อค้นพบ‘ข่าวลวง’  ก่อนยุค‘โรคระบาด’ผ่านพ้น

สกู๊ปพิเศษ : เปิด6ข้อค้นพบ‘ข่าวลวง’ ก่อนยุค‘โรคระบาด’ผ่านพ้น

วันพฤหัสบดี ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

“กันยายน 2565” เดือนสุดท้ายก่อนที่โควิด-19 จะถูกปรับลดระดับลงจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง โดยหากไม่มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดแทรกซ้อนเข้ามา แนวทางดังกล่าวก็น่าจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ขณะที่ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 สถานีรถไฟกลางบางซื่อ แหล่งใหญ่ที่ให้บริการฉีดวัคซีนมายาวนานตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 ก็ประกาศให้บริการจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 สอดรับกับแผนปรับลดระดับโควิด-19 ดังกล่าว

ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี นับตั้งแต่ช่วงส่งท้ายปีเก่า 2562-ต้อนรับปีใหม่ 2563 ที่เริ่มมีข่าว “ไวรัสปริศนา” ระบาด ณ เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ก่อนลุกลามไปทั่วโลกและถูกเรียกว่า “โควิด-19” มนุษยชาติได้ผ่านความเจ็บปวดและสูญเสียทั้งในแง่สุขภาพที่ผู้คนล้มตายเพราะโรคร้ายกันเป็นใบไม้ร่วง ในแง่เศรษฐกิจที่มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคส่งผลให้หลายคนต้องตกงานขาดรายได้ รวมถึง “ข่าวลือ-ข่าวลวง” ที่ระบาดอย่างกว้างขวาง จนเกิดคำว่า “Infodemic”เป็นการผสมกันระหว่าง Information (ข้อมูลข่าวสาร)กัน Pandemic (โรคระบาด)


ที่งานเสวนา “จากมะนาวโซดา ถึงกัญชารักษา (ไม่) ทุกโรค บทเรียนการรับมืออินโฟเดอมิกของสังคมไทย”จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ โคแฟค (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กร ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมามีนำเสนอรายงาน “ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกข่าวลวงด้านสุขภาวะในรอบปีที่ผ่านมา” โดย สุนิตย์ เชรษฐาผู้อำนวยการสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น สรุป 6 เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ข่าวลวงหรือข่าวปลอม (Fake News) ซึ่งรวมถึงข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ไว้ดังนี้

1.ข่าวลวงด้านสุขภาพยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นกระแสสังคม เช่น กัญชา วัคซีนไล่ตั้งแต่ ยาแก้ปวดแอสไพรินรักษาโควิดได้, กินวิตามินซีต้านโควิด, หอมแดงจิ้มเกลือป้องกันโควิด, ฉีดวัคซีนโควิดแล้วทำให้เลือดคล้ำ, วัคซีนโควิดเป็นอาวุธชีวภาพ, กินเผือกรักษามะเร็งได้,การลงทะเบียนเป็นผู้ปลูกกัญชา มีประชาชนสงสัยว่า Link เว็บไซต์ที่ส่งต่อกันเป็นเว็บไซต์ปลอมที่มิจฉาชีพทำขึ้น เป็นต้น

2.พื้นที่ข่าวลวงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) แบบเปิดสาธารณะมีแนวโน้มดีขึ้นบ้าง แต่มีแนวโน้มขยายและเพิ่มความลึกขึ้นในพื้นที่เทคโนโลยีแบบปิด เช่น กลุ่มเฉพาะที่ไม่เปิดสาธารณะ (อาทิ กลุ่มเฟซบุ๊คที่ตั้งค่าให้เป็นกลุ่มส่วนตัว หรือห้องสนทนาแบบปิดในแอปพลิเคชั่นไลน์) โดยในพื้นที่ออนไลน์แบบเปิด เมื่อเกิดการแผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่น่าสงสัย จะพบบทบาทของแพลตฟอร์มและสื่อมวลชนที่ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องหากเป็นข่าวปลอม ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริงคงอยู่ได้ไม่นานและหายากขึ้นเรื่อยๆ

แต่ในทางกลับกัน “พื้นที่กลุ่มปิดมักเป็นกลุ่มของผู้คนที่มีความเชื่อ หรือความสนใจ หรือความคิดทางการเมืองคล้ายกัน จึงมีแนวโน้มที่จะเชื่อและปฏิสัมพันธ์กับข้อมูล
ข่าวลวงได้มากกว่าปกติ” สอดคล้องกับการวิจัยในหลายประเทศเกี่ยวกับการที่กลุ่มที่มีตัวตนเฉพาะ (Identify Group) มักมีแนวโน้มที่จะเสาะหาและรับข่าวลวงแล้วเชื่อถือได้มากเพราะสนับสนุนความเหตุผลความคิด ความเชื่อ หรือความเป็นกลุ่มของตน (Motivated Reasoning Account)

“ในประเทศไทยยังมีความรุนแรงของข่าวลวงที่ตอบสนองความเชื่อของกลุ่มเฉพาะน้อยกว่าประเทศตะวันตกหลายประเทศ เช่น ในประเด็นข่าวลวงเรื่องวัคซีนในอเมริกาหรือยุโรป ซึ่งเชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมืองที่มีความแตกแยกอย่างมาก รวมถึงการเมืองระหว่างประเทศ แต่ก็มีแนวโน้มเดียวกันหากไม่มีการเฝ้าระวังและการจัดการที่ดี” สุนิตย์ ระบุในรายงาน

3.ผู้ริเริ่มเผยแพร่ข่าวลวงอาจแบ่งได้เป็นอย่างน้อย 5 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีบทบาทแตกต่างไปในข่าวลวงแต่ละลักษณะ แบ่งเป็น “Joker” หรือพวก “ตัวตลก-สายฮา” คิดว่าทำเอาสนุก มองเป็นเรื่ออำเล่นขำๆ แต่ดันมีคนไปเชื่อว่าข่าวปลอมที่คนกลุ่มนี้เผยแพร่เป็นเรื่องจริง, “Scammer” หรือพวก “นักต้มตุ๋น-18 มงกุฎ” พวกนี้ตั้งใจหลอกลวงโดยหวังผลประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สิน เงินๆ ทองๆ เช่น ในข้อมูลที่คนกลุ่มนี้เผยแพร่ ตอนท้ายมักแนะนำให้ติดต่อสถานประกอบการบางแห่ง หรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์บางอย่างที่อ้างว่าใช้ได้ผลหรือช่วยได้จริง,

“Politicians” หรือพวก “คอการเมือง” เป็นอีกพวกที่หวังผลจากข่าวปลอม-ข้อมูลบิดเบือน แต่เจาะจงว่าเป็นผลด้านการเมืองโดยเฉพาะ, “Conspiracy Theorist” หรือพวก “นักทฤษฎีสมคบคิด” เชื่อมโยงร้อยเรียงเรื่องราวต่างๆ ไปได้เรื่อยๆ แม้ฟังแล้วจะดูไม่เป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกันเลยก็ตาม และ “Insider” หรือพวก “คนวงใน” อ้างว่าเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นและรู้ข้อมูลสำคัญที่คนทั่วไปไม่รู้ 4.ข่าวลวงที่ตอกย้ำอคติหรือความเชื่อ/การเมืองในสังคม มีผลมากทั้งในเชิงความเสี่ยงสุขภาพและความแตกแยกในสังคม เช่น การระบาดของโรคฝีดาษลิงที่เชื่อมโยงกับกลุ่มรักร่วมเพศ(ชายรักชาย) หรือวัคซีนกับความเชื่อทางศาสนา

5.เนื้อหาของข่าวลวงมีความเป็นสากลมากขึ้น เชื่อมโยงข้ามประเทศมากขึ้น จากหลายเหตุปัจจัย ประเด็นนี้เห็นได้ชัดเรื่องวัคซีนโควิด-19 เช่น อย่าไปฉีดวัคซีนเพราะจะถูกฝังไมโครชิพแถมมาด้วย, วัคซีนฉีดแล้วมีผลข้างเคียงถึงขั้นรหัสพันธุกรรม (DNA) ถูกเปลี่ยนแปลง, ฉีดวัคซีนแล้วผลข้างเคียงคือทำให้เป็นหมัน, วัคซีนโควิด-19 เพิ่มขนาดอวัยวะเพศชาย, วัคซีนมีส่วนผสมของสัตว์ต้องห้ามในแต่ละศาสนา (เช่น วัคซีนมีส่วนผสมของไขมันหมู ผู้นับถือศาสนาอิสลามจึงฉีดไม่ได้) ทั้งหมดนี้เป็นข่าวปลอมที่เกิดในต่างประเทศ แต่ถูกส่งต่อเข้ามาในไทยในเวลาต่อมา

และ 6.การแสวงหาความจริงร่วมมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิทางสังคมร่วมกัน โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความซับซ้อน เช่น เรื่องการนำข้าวหุงสุกไปแช่ตู้เย็นจะมีผลดีกับค่าน้ำตาลในเลือด ประเด็นนี้พบว่า “ข้อมูลมีหลายชุด” อาทิ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รายงานเรื่องนี้เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2565 ระบุเป็นข่าวปลอม โดยอ้างข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ว่าเป็นเพียงการทดลองกับหนูเท่านั้นไม่ใช่ทดลองในมนุษย์

แต่ก็ยังมีข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เช่น ในปี 2558 ในต่างประเทศมีการเผยแพร่งานวิจัยเรื่อง Effect of cooling of cooked white rice on resistant starch content and glycemic response แม้จะทดลองในมนุษย์แต่ก็พบเป็นเพียงการทดลองในกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย, ในปี 2565 มีงานวิจัยเรื่อง Influence of Resistant Starch resulting from the cooling of rice on postprandial glycemia in type 1 diabetes ทดลองในมนุษย์ ซึ่งแม้จะได้ผลแต่ก็ไม่ได้มากนักอย่างมีนัยสำคัญ เป็นต้น เรื่องนี้ให้บทเรียนว่า “ความจริงเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา” จึงต้องดูว่าเวลานี้เป็นอย่างไร

“ข่าวลวง” คงไม่ต่างจาก “โรคประจำถิ่น” กำจัดให้หมดไม่ได้..ดังนั้นการสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” จึงจำเป็น!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.จับมือเครือข่ายเนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ชวนคนไทย‘วางแก้วเหล้า ตั้งสติ คิดดี สร้างชีวิตที่ดี’ สกู๊ปพิเศษ : สสส.จับมือเครือข่ายเนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ชวนคนไทย‘วางแก้วเหล้า ตั้งสติ คิดดี สร้างชีวิตที่ดี’
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘Thailand Brainpower Briefing 2026’ พลังสมอง ประกายแห่งนวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น ‘Smart Nation’ สกู๊ปพิเศษ : ‘Thailand Brainpower Briefing 2026’ พลังสมอง ประกายแห่งนวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น ‘Smart Nation’
  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  • สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ
  •  

Breaking News

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved