วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ดับ‘ไฟใต้’เจรจาสันติภาพ(จบ)  ‘การเมือง’ทั้งใน-นอก‘มีผล’

สกู๊ปแนวหน้า : ดับ‘ไฟใต้’เจรจาสันติภาพ(จบ) ‘การเมือง’ทั้งใน-นอก‘มีผล’

วันพฤหัสบดี ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 06.20 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

(ต่อจากฉบับวันที่ 27 พ.ย. 2565) ยังคงอยู่กับงานเปิดตัวหนังสือ “ความขัดแย้งการเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และบทเรียนของบางประเทศ” ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในตอนที่แล้ว รศ.ดร.ชนินท์ทิรา ณ ถลาง อาจารย์สาขาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมเขียนหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงข้อกังวลจากภาครัฐของไทยว่าเหตุความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ อาจนำไปสู่การเข้ามาแทรกแซงของต่างชาติว่าเป็นไปได้มาก-น้อยเพียงใด

ส่วนในฉบับนี้ รศ.ดร.สามารถ ทองเฝือ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ประการแรกเข้าใจความกังวลในฝ่ายภาครัฐของไทยเรื่องการถูกแทรกแซง เพราะรัฐชาติสมัยใหม่ไม่ว่าที่ใดในโลกล้วนดำรงอยู่บนการรักษาอธิปไตยเหนือดินแดนของตน ซึ่งรัฐชาติอื่นหรือองค์กรภายนอกประเทศจะเข้ามาแทรกแซงไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากรัฐชาติที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในดินแดนนั้น ดังนั้น จึงเป็นความรู้สึกลำบากใจหรือไม่สบายใจหากจะให้มีฝ่ายที่ 3 เข้ามาไกล่เกลี่ยหรือสร้างบรรยากาศลดความรุนแรง


ประการต่อมา หนังสือเล่มนี้มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์ในอาเจะห์ของอินโดนีเซีย มินดาเนา ของฟิลิปปินส์ และชายแดนใต้ของไทย ในประเด็นใครควรจะเป็นเจ้าของเรื่องหรือแกนเรื่อง (Ownership) ระหว่างฝ่ายรัฐ ฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐ หรือฝ่ายที่ 3 ที่เข้ามา ซึ่งการชี้ว่าฝ่ายที่เหนือกว่าย่อมมีอำนาจควบคุมการเข้ามาของฝ่ายที่ 3 ก็เป็นมุมมองที่น่าสนใจ โดยเฉพาะตัวอย่างจากอาเจะห์และมินดาเนา

ประการที่ 3 การถอดบทเรียนจากอาเจะห์และมินดาเนามาใช้กับชายแดนใต้ของไทย เจตนารมณ์ทางการเมือง (Political Will) ในการแก้ไขปัญหา ต้องมีความจริงจังและจริงใจก่อนว่าจะไปกันให้ถึงระดับใด ซึ่งการหยุดชะงักก็มาจากความไม่ชัดเจนในเจตนารมณ์ทางการเมือง แต่ก็เข้าใจได้ว่าเรื่องนี้ต้องใช้เวลา รวมถึงปัจจัยด้านเสถียรภาพของรัฐบาลกลางเองด้วย โดยการเมืองระดับประเทศมีผลต่อโต๊ะเจรจาหรือการคลี่คลายปัญหาไม่มากก็น้อย

รศ.ดร.สามารถกล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ 3 ที่เข้ามากรณีชายแดนใต้ก็มีอยู่ เพียงแต่ไม่ชัดเจนเหมือนกรณีมินดาเนาหรืออาเจะห์ และไม่ได้เข้ามาแทรกแซงจนเกิดความกังวลในแง่มุมกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เป็นการเข้ามาติดตามประเมินสถานการณ์ หรือมาสนับสนุนด้านการศึกษาวิจัย หรือการพัฒนาในพื้นที่ เช่น การก่อสร้างมัสยิด การให้ทุนนักศึกษามุสลิมในพื้นที่ได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งโดยส่วนตัวถือว่ามาแบบนี้เป็นการมาดีและควรให้การรับรอง

ส่วนข้อสรุปจากหนังสือเล่มนี้ เห็นว่า ความสำเร็จของมินดาเนาและอาเจะห์ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำเองโดยลำพังภายในรัฐนั้น แต่มีฝ่ายที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น อนึ่ง ไม่ว่าจะใช้คำอย่างไร เช่น จะเรียกผู้ก่อเหตุในพื้นที่ชายแดนใต้ว่าผู้เห็นต่าง ผู้ก่อความไม่สงบ ผู้ก่อความรุนแรง โจรใต้ ฯลฯ แต่ความจริงก็คือความจริง ส่วนการเจรจาที่ยังไม่ได้ข้อสรุปนั้นต้องอาศัยเจตจำนงทางการเมืองของผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าฝ่ายรัฐหรือฝ่ายเห็นต่างจากรัฐ

ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม อาจารย์สาขาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าว่า เคยมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมกับองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) อันเป็นองค์กรระหว่างประเทศของบรรดาชาติในโลกมุสลิม ถึง 6 ครั้ง ซึ่งกรณีชายแดนใต้ของไทยบางครั้งฝ่ายภาครัฐเองก็เป็นคนเชิญองค์กรภายนอกเข้ามาเสียด้วยซ้ำไป เช่น หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบรัฐไทยได้เชิญ OIC มาติดตามสถานการณ์และขอข้อเสนอแนะ

โดยในเวลานั้น ทาง OIC ได้ให้ความเห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่ชาวมุสลิมสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นอย่างดี และเสนอแนะว่าควรสนับสนุนให้ชาวมุสลิมมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาประเทศ ในด้านการศึกษา ลดจำนวนด่านตรวจบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่ จ.ปัตตานี กับ จ.สงขลา ซึ่งเหตุที่ไทยเชิญ OIC เข้ามา เนื่องจากไทยก็ต้องการมีความสัมพันธ์กับชาติในโลกมุสลิมทั้ง 57 ประเทศ

ขณะที่เมื่อมองกลับมาดูเพื่อนบ้านของไทยอย่างมาเลเซีย เป็นเรื่องน่าสนใจที่มาเลเซียเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทยตลอดมา เห็นได้จากไม่มีความขัดแย้งรุนแรงตามแนวชายแดนในระดับที่ถึงขั้นใช้กำลังทางทหาร เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในชายแดนด้านอื่นๆ แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้มีแนวคิดแบ่งแยกดินแดนนิยมไปอยู่อาศัยในมาเลเซีย รวมถึงเมื่อเกิดเหตุการณ์ในพื้นที่ชายแดนใต้ (เช่น ตากใบ-กรือเซะ) ชาวมาเลเซียจะเดินขบวนประท้วงก็ตาม

ในช่วงท้าย รศ.ดร.ชนินท์ทิรา ได้กล่าวเสริมว่า “การเมืองระดับชาติมีผลต่อการเจรจาในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งไม่เฉพาะแต่การเมืองไทยเท่านั้นแต่รวมถึงการเมืองมาเลเซียด้วย” อย่างล่าสุดที่มาเลเซียเพิ่งมีการเลือกตั้งการเจรจาก็จะถูกหยุดไว้ก่อน เช่นเดียวกับเร็วๆ นี้ที่ไทยจะมีการเลือกตั้งการเจรจาก็คงหยุดไว้เช่นกัน จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายและเป็นคำถามว่า “เหตุใดชายแดนใต้ถึงเป็นเพียงเรื่องรองทั้งที่เป็นปัญหาอยู่มานาน” และเรื่องนี้ควรเป็นปัญหาระดับชาติ

เมื่อเทียบกับอินโดนีเซีย นับตั้งแต่ประเทศเปลี่ยนผ่านสู่การเมืองแบบประชาธิปไตยในปี 2541 มีการตั้งหน่วยงานหนึ่งขึ้นมาขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อาเจะห์โดยเฉพาะ และมีความต่อเนื่องไม่หยุดชะงักแม้รัฐบาลจะเปลี่ยนไปกี่ชุดก็ตาม ส่วนประเด็นการกระจายอำนาจที่อาเจะห์ของอินโดนีเซียและมินดาเนาของฟิลิปปินส์ เป็นประเด็นที่ตั้งไว้แต่ต้นแล้วค่อยมาเจรจาลงลึกในรายละเอียด

แต่สำหรับประเทศไทย ในขณะที่ภาครัฐยังไม่สบายใจ ในมุมอื่นๆ ยังมีอะไรที่สามารถทำได้บ้าง เช่น นโยบายพหุวัฒนธรรม การใช้ 2 ภาษา (Bilingual) ในพื้นที่ อาทิ สหราชอาณาจักร ในพื้นที่ของเวลส์จะมีป้ายข้อความที่ใช้ 2 ภาษา คือภาษาอังกฤษและภาษาเวลส์ หรือในไทยเองหากไปที่ จ.เชียงใหม่ ก็จะพบป้ายที่ใช้ข้อความ 3 ภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาคำเมือง (ภาษาท้องถิ่นในภาคเหนือ) และภาษาอังกฤษ

ส่วนที่มาของชื่อหนังสือ เดิมทีเรื่องนี้เป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และใช้ชื่อเรื่องอีกชื่อหนึ่งที่ไม่แรง (Aggressive) มากนัก อีกทั้งได้รับการกำชับเรื่องการใช้ถ้อยคำ จึงใช้คำว่าผู้เห็นต่างจากรัฐในการเรียกผู้ก่อเหตุ แต่เป้าหมายหลักของงานวิจัยนี้คือต้องการสื่อสารกับภาครัฐว่าสามารถเดินหน้ากระบวนการเจรจาได้เลยไม่ต้องกังวลเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ จึงใช้คำที่ฟังแล้วสบายใจขึ้น กระทั่งมาตีพิมพ์เป็นหนังสือ จึงใช้คำว่าความขัดแย้ง เพราะสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนใต้ก็เป็นเช่นนั้นจริง!!!

หมายเหตุ : หนังสือ “ความขัดแย้ง การเจรจา และการแบ่งสรรปันอำนาจ : กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและบทเรียนของบางประเทศ” ผู้ร่วมเขียนอีกท่านหนึ่งคือ ร.อ.ดร.จารุพล เรืองสุวรรณ อดีตอาจารย์สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

‘ดร.ดิเรกฤทธิ์’กระตุกฝ่ายค้านรักษามาตรฐานตรวจสอบรัฐบาล หยุดเล่นเกม

'ช่อ'ไม่เห็นด้วยศาลสั่ง'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่ แนะนายกฯ ยุบสภา-ลาออก แสดงความรับผิดชอบ

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568

(คลิป) 'อิ๊งค์'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved