วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ภาคอุตสาหกรรมขานรับเก็บ‘ภาษีความหวาน’เฟส3  พร้อมปรับสูตรใหม่-ยืนยันไม่ผลักภาระให้ผู้บริโภค

สกู๊ปพิเศษ : ภาคอุตสาหกรรมขานรับเก็บ‘ภาษีความหวาน’เฟส3 พร้อมปรับสูตรใหม่-ยืนยันไม่ผลักภาระให้ผู้บริโภค

วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

การจัดเก็บ “ภาษีความหวาน” ตามปริมาณน้ำตาล ในสินค้าเครื่องดื่มที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมานั้น ถือเป็นมาตรการทางภาษีที่ถูกนำมาใช้เพื่อลดการบริโภคปริมาณน้ำตาลในสินค้าเครื่องดื่มผ่านกลไกราคา โดยมีการประกาศใช้มาตรการทางภาษีตามปริมาณน้ำตาลในอัตราก้าวหน้าล่วงหน้า

การเก็บ “ภาษีความหวาน” รัฐบาลไทยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาล เพื่อสุขภาพของประชาชนตามแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อขององค์การอนามัยโลก (WHO) และเป็นกลไกสำคัญในการวางรากฐานสังคม ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพ


โครงสร้างการเก็บ“ภาษีความหวาน” มีระยะเวลาการจัดเก็บแบบขั้นบันได แต่มาหยุดชะงักไม่ต่อเนื่อง หลังจากเมื่อเดือน ก.ย. 2565 คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบขยายเวลาปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาล ระยะที่ 3ออกไปอีก 6 เดือน (1 ต.ค. 2565 - 31 มี.ค. 2566)

การเก็บ “ภาษีความหวาน” เฟส 3 หรือระยะที่ 3 จึงเริ่มกลับเก็บอีกครั้งเดือน เม.ย.2566 ถึงวันนี้ ครบ 1 เดือนแล้วมาฟังมุมมองผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ต่อมาตรการทางภาษี รวมไปถึงการปรับสูตรการผลิต การผลิตสินค้าเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลลดลง

ดร.กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ ตัวแทนกลุ่มสมาชิกอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เห็นว่า การเก็บภาษีความหวานระยะที่ 3 กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม มีความคุ้นชินแล้ว เพราะการเก็บภาษีแบบขั้นบันได ตั้งแต่ระยะที่ 1 จนมาถึงวันนี้ 6-7 ปี ถือว่า ไม่ได้มีความยาก ทั้งอาหารและเครื่องดื่มได้ผ่านการคิดค้นสูตรกันมาหลายปีแล้วเช่นกัน ยกเว้นเครื่องดื่มที่ปรับไม่ได้จริงๆ เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ นมซึ่งมีน้ำตาลจากธรรมชาติรวมอยู่แล้ว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่สามารถดึงน้ำตาลออกได้ โดยเมื่อคำนวณภาษีน้ำตาลจะรวมอยู่ในปริมาณ 6 กรัมด้วย ซึ่งเป็นไปตามค่าความหวานของประเทศเพื่อนบ้าน

มุมมองด้านราคา กับการปรับลดปริมาณน้ำตาลลงนั้น ดร.กิตติพร ชี้ว่า การลดน้ำตาลในเครื่องดื่มและอาหารผู้ประกอบการจะคำนึงการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเป็นลำดับแรกๆ แม้จะมีการปรับราคาขึ้น แต่ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อ สุดท้ายผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะต้องหยุดการขายในที่สุด

“การปรับภาษีในระยะที่ 3 ภาษีจะเพิ่มเป็น 3 เท่าแต่ราคาจะเพิ่มเป็น 3 เท่าไม่ได้ ฉะนั้น ประเด็นเรื่องการผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภค ไม่ใช่ตัวแปรสำคัญ แต่อยู่ที่คู่แข่งมากกว่า ถ้าผลิตภัณฑ์คล้ายกันแต่ขายราคาสูง จะขายไม่ได้ เพราะการตลาดแข่งขันกันรุนแรง ขณะเดียวกัน บริษัทจะคุมระดับน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อไม่ให้อยู่ในจุดที่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว” ดร.กิตติพร กล่าว

เมื่อถามถึงสารที่มาใช้แทนน้ำตาลนั้น ดร.กิตติพร บอกว่า การใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควบคุมอยู่ ซึ่ง อย.ทำหน้าที่ดูแลทั้งเรื่องชนิดของสาร และปริมาณที่เหมาะสมในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคที่สามารถเติมในเครื่องดื่มได้ ขณะที่สารให้ความหวานจากธรรมชาติที่นำมาใช้ก็มี เช่น หญ้าหวาน และหล่อฮั้งก้วย

ประเทศมาเลเซียมีแบบที่ทำเลียนแบบน้ำตาล ฉีกซองใส่ในเครื่องดื่มได้เลย แต่ในประเทศไทยยังไปไม่ถึงจุดนั้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเครื่องดื่มยังต้องใช้น้ำตาลในกรณีที่เครื่องดื่มที่ต้องการความหนืด ซึ่งน้ำตาลมีคุณสมบัตินี้อยู่ แต่สารทดแทนให้ความหวานทั้งจากธรรมชาติและไม่ได้มาจากธรรมชาติ ยังไม่มีคุณสมบัติ ไม่สามารถให้ความหนืดแบบนี้ได้

ดร.กิตติพร ให้มุมมองต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice) ซึ่งอาหารและเครื่องดื่มที่ลดปริมาณน้ำตาลลงจัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ทางเลือกสุขภาพ ผ่านมา 7 ปี ขณะนี้มีสินค้ากว่า 2,700 รายการ มองว่าการรับรู้ยังอยู่ในกลุ่มคนเมืองใหญ่ ฉะนั้น ต้องสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งในแต่ละวันคนเราต้องรับประทานอาหารวันละ 2,000 กิโลแคลอรี่ แต่เมื่อเทียบสัดส่วนของอาหารในระบบอุตสาหกรรมกับอาหารริมบาทวิถีอาหารแผงลอย มีสัดส่วนน้อยกว่าเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อาหารที่คนบริโภคส่วนใหญ่ ยังคงปรุงเอง และซื้อจากร้านข้างทางหากคนมีความรู้เขาจะเลือกสรรอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพอยู่แล้ว

เช่นเดียวกับ นายฐิติ สุวรรณศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจคาเฟ่อะเมซอนต่างประเทศ มองถึงกระแสการไม่กินหวานว่า ขณะนี้เรื่องเทรนด์การลดน้ำตาลกระแสอยู่ในเมืองใหญ่ๆ มากกว่าเมืองรอง ซึ่งในฐานะที่เป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่มีสาขามากที่สุดในประเทศไทยถึง 3,800 สาขา เราสนับสนุนนโยบายลดหวานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมมุ่งสื่อสารกับผู้บริโภคเรื่องการบริโภคหวานน้อย

“ปัจจุบันลูกค้าที่สั่งเครื่องดื่มหวานน้อยเพิ่มมากขึ้น และอะเมซอนได้ปรับสูตรให้สอดคล้องให้คนบริโภคหวานน้อยจาก 6 กรัมมาเป็น 4 กรัม โดยมีค่าหวานให้ลูกค้าเลือก คือ หวานหลายระดับ หวาน 50% หวาน 25% ทั้งหมดได้ผ่านการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างมาแล้วว่า ผู้บริโภครับได้ การบริโภคเครื่องดื่มหวานน้อย ผู้บริโภคได้ปรับตัวมาแล้วสักพัก จริงๆ แล้วผู้บริโภคคือการนำเทรนด์เราไป เพราะใส่ใจเรื่องการรักสุขภาพ และคนเมืองใหญ่คือผู้กำหนดเทรนด์” นายฐิติ กล่าว

ส่วน นางสาวจันทิมา เกยานนท์ นักวิชการ ด้านอาหารและโภชนาการ เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ให้ข้อมูลถึงกลุ่มสินค้าของบริษัท ว่า ได้มีการพัฒนาปรับสูตรเพื่อให้ได้ค่าความหวานที่จะไม่ต้องเสียภาษี ขณะนี้มีมากกว่า 100 สูตร ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไอศกรีม เครื่องดื่ม กลุ่มนม และพยายามจะสื่อสารผ่านฉลากสินค้าให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มนม

“ยอมรับว่า เมื่อต้องลดปริมาณน้ำตาลเพื่อให้ไม่ต้องเสียภาษีความหวานนั้น มีกระทบต้นทุนการผลิตบ้าง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การผลักภาระภาษีน้ำตาลให้กับผู้บริโภคนั้นจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะทำ ซึ่งเป้าหมายหลักของเนสท์เล่คือการผลิตอาหารเพื่อโภชนาการและสุขภาพ แม้ไม่มีกฎหมายออกมาบังคับบริษัทก็มุ่งมาทางนี้อยู่แล้ว” นางสาวจันทิมา กล่าว

สุดท้าย การดำเนินการมาตรการอื่นๆ ที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี เช่น การใช้ฉลาก Healthier Choices Logo อีกหนึ่งมาตรการที่มุ่งหวังให้ผู้บริโภคตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพในการบริโภคเครื่องอาหารเครื่องดื่ม ที่มีรสหวานเกิน มันเกิน เค็มเกินนั้น

รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ หัวหน้าหน่วยรับรองสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ซึ่งทำงานคู่ขนานกับภาคอุตสาหกรรมอาหารมาตลอด ชี้ว่า การทำงานต่อจากนี้ นอกจากเรื่องลดความหวานลงแล้ว อีกตัวที่สำคัญ คือเรื่องของโซเดียม ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารต้องปรับสูตรให้มีปริมาณลดลง

กรณีร้านสตรีทฟู้ด หรือร้านอาหารแบบรถเข็นริมทางเป็นที่นิยมสำหรับคนไทย รศ.ดร.วันทนีย์ เห็นว่า การขับเคลื่อนการทำงานเราพยายามจะสนับสนุนให้ใช้เครื่องปรุงรสที่ได้รับรองสัญลักษณ์ทางสุขภาพ เช่น มีโซเดียมต่ำ ซึ่งการทำงานกับร้านอาหารสตรีทฟู้ดให้ปรับเปลี่ยน ลำดับแรกคือการสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้บริโภคก่อน โดยต้องให้ความรู้ สร้างความตระหนักรู้ตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งเรื่องผลกระทบของการบริโภคหวาน มัน เค็ม สุดท้ายปัญหาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

“จุดประสงค์ของสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ มี 2 เรื่อง 1.ต้องการให้เป็นเครื่องมือของผู้บริโภคให้มีความตระหนักรู้มากขึ้น และ 2.ต้องการให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง พัฒนาสูตรจากเดิมแต่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม จากการเก็บข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ภายใต้การสนับสนุนของสสส. วันนี้พบว่า 40% รู้จักสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพแล้ว” รศ.ดร.วันทนีย์ กล่าวทิ้งท้าย

ฐิติ สุวรรณศักดิ์
ฐิติ สุวรรณศักดิ์
จันทิมา เกยานนท์
จันทิมา เกยานนท์
รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ
รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน. สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน.
  • สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ  เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'กมธ.ป.ป.ช.'ตีธงสอบ 2 ประเด็นร้อน เชิญ'กรมบัญชีกลาง'ขึงพืดปม'ตึก สตง.'ถล่ม

ล้มได้ก็ลุกเป็น ‘นิน เพชรพัณณิน’กีฬา การเมือง ชีวิต ความรัก

‘ในหลวง-พระราชินี’เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันวิสาขบูชา 2568

สื่อเวียดนามจับตาไทย ผ่อนปรนขายน้ำเมาวันพระใหญ่ได้บางสถานที่ หวังกระตุ้นท่องเที่ยว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved