วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : เร่งเดินหน้าสร้าง ‘NCDs Ecosystem’  ลดโรคไม่ติดต่อ-เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจชาติ

สกู๊ปพิเศษ : เร่งเดินหน้าสร้าง ‘NCDs Ecosystem’ ลดโรคไม่ติดต่อ-เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจชาติ

วันอาทิตย์ ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 08.40 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาโรคไม่ติดต่อ (NCDs) มาเป็นเวลานาน โดยมีคนไทยที่เสียชีวิตจากกลุ่มโรคนี้ เช่น โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ฯลฯ ประมาณ 400,000 รายต่อปี หรือคิดเป็น 81% ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบทั้งด้านระบบสุขภาพ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมหาศาล

อะไรเป็นปัจจัยนำไปสู่การไร้โรค NCDs ในประเทศไทย การค้นหาคำตอบจากการเรียนรู้ทั่วโลกพบว่า การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ สังคม มาตรการทางกฎหมาย ล้วนเป็นบทบาทที่ทุกภาคส่วนต้องลงมือลงทุนเปลี่ยนแปลงการจัดระบบนิเวศให้ได้ เวทีนโยบาย กิจกรรมตลาดนัดนโยบาย ภายในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ประเด็นการปรับสภาวะแวดล้อมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อNCDs Ecosystem ถูกหยิบยกขึ้นมาถกกันโดยมีหลายภาคส่วนร่วมกำหนดนโยบายเพื่อนำไปสู่สุขภาวะที่ดีและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน


ทุกภาคส่วนสานพลังผ่านสูตร 5x5x5x3 เพื่อปรับสภาวะแวดล้อม ลดโรคไม่ติดต่อ NCDs

ดร.อรทัย วลีวงศ์ คณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะว่าด้วยการสานพลังสร้าง กล่าวว่า มติการสานพลังในการสร้างสภาวะแวดล้อมทางสุขภาวะและสังคมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ Ecosystem ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเองแต่ว่าทุกคนต้องเกื้อกูลกันเชื่อมโยงส่งต่อกัน ในมุมคนทำงานเชิงนโยบาย เราตั้งคำถามว่าทำไมต้องสร้างระบบนิเวศที่ดีเพราะอยากให้ทุกภาคส่วนมาทำงานร่วมกันได้ ในขณะที่สหประชาชาติยังมีการขับเคลื่อน NCDs ระดับโลกแล้ว ไทยเราต้องจับมือกันอย่างเหนียวแน่นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อชาติ

5 ปัจจัยลดโรคไม่ติต่อ (NCDs) คือ 1. ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2. ลดการบริโภคยาสูบ 3. ลดการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม 4. ทำให้คนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และ 5. มลพิษทางอากาศ

5 มาตรการหลักที่เป็นไปตามห่วงโซ่อาหาร จุดเริ่มต้นนำไปสู่การขับเคลื่อน NCDs Ecosystem

1.มีมาตรการจัดระเบียบและลดการเข้าถึงสินค้าที่ทำลายสุขภาพ 2.ส่งเสริมการผลิตพัฒนามาตรฐานเพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินค้า บริการของสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ ประเภทผักผลไม้ให้ปลอดสารพิษ ราคาถูก คนเข้าถึงได้ 3. มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน มีพื้นที่สุขภาวะ 4.ให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนัก รอบรู้ด้านการรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อการทำความเข้าใจเรื่องโรคไม่ติดต่อ และมีชีวิตที่ยั่งยืน 5.สร้างประสบการณ์การมีสุขภาพดีทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่

5 โครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนร่วมกัน

1.การพัฒนาเครื่องนโยบาย/มาตรฐาน 2.ออกแบบพัฒนานวัตกรรมโมเดล และขยายผลเชิงระบบ 3.สนับสนุนการเฝ้าระวังการปฏิบัติตามกฎหมายและความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ ภาคประชาสังคม ประชาชนต้องมีบทในการเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆเพื่อให้รัฐต้องทราบข้อมูลโดยตรงอย่างทันท่วงที 4.พัฒนาระบบกำกับ ติดตามและประเมินผลลัพธ์ 5.พัฒนาระบบตัดสินใจบริหาร และสนับสนุนการลงทุน

3 หลักการสำคัญผ่านการปรับพฤติกรรมคนไทยไร้โรคไม่ติดต่อ NCDs

กระตุ้นให้คนมีสุขภาพดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบแผนทำงานต่อเนื่องอีก 3 ปี ระหว่าง สช. และคณะทำงาน คือ 1. เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม 2. กลไกการคลัง 3. กลไกเครดิตทางสังคม

หวังสร้างความเข้มแข็งของประเทศในการคุ้มครองป้องกันควบคุมโรค NCDs อย่างเป็นธรรม

นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตั้งแต่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 เป็นต้นมาเราให้ความสำคัญกับ NCDs มากขึ้นและต่อเนื่องจนมีแผนสุขภาพดีวิถีไทย มีเส้นทางการเคลื่อนไหวในไทยด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อซึ่งมี 9 เป้าหมายลดโรคไม่ติดต่อระดับโลก มีทุกภาคส่วนสนับสนุนการดำเนินการโดยเฉพาะ “ความอ้วน” เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเยอะพอสมควรเช่นเดียวกับต่างประเทศ บางประเทศมีอัตราคนอ้วน 80% ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่เยอะมาก

“เป้าหมายกรมควบคุมโรค คือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชาชนจากโรค NCDs ลดลงร้อยละ 25 ภายในปี 2570 และ 1. การเครือข่ายทุกภาคส่วนในการจัดการโรค NCDs 2. สร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความตระหนักรู้ รู้เท่าทัน และค่านิยมในการป้องกันกับควบคุม NCDs ของคนในชาติ และ 3. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการจัดการ NCDs ของประเทศ เรารู้ว่าคนมีความรู้เยอะ แต่ไม่ทำ เช่น รู้ทุกคนกินอาหารมันเค็มหวานไม่ดี แต่ทำไมยังกิน เพราะว่าเราเดินจากหน้าบ้านถึงปากซอยเราก็จะเจออาหารหวานมันเค็มอร่อยๆ น่าชวนกินเยอะแยะมากเดินไปนิดหนึ่งเราเจอชาไข่มุกเรากินกี่แก้วกันต่อวัน เราจึงควรมี 3 ยุทธศาสตร์นี้ เพื่อเอื้อต่อการป้องกันควบคุมโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุของการตายก่อนวัยอันควรก่อน 70 ปี เป็นความเสี่ยง และผมไม่ได้บูลลี่คนอ้วน แต่เราจะบอกคนอ้วนว่าคุณมีความเสี่ยงนะที่คุณจะเกิดโรคต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามจะสื่อสารเราต้องการสภาพแวดล้อมของประเทศไทยที่เอื้อต่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ” นายแพทย์กฤษา กล่าว

ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จาก “โรคอ้วน” มีแนวโน้มสูงขึ้นอีก 5 ปีข้างหน้าถึง 760,000 ล้านบาท

ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวว่า เรากำลังส่งเสริมให้คนมีสุขภาพดีทุกกลุ่มวัยและควรเริ่มตั้งแต่เด็ก เพราะเด็กไทยมีแนวโน้มอ้วนขึ้นตั้งแต่เด็กเล็ก 0-5 ปี จนถึงเด็กวัยเรียน ถ้าเราสามารถป้องกันการอ้วนตั้งแต่เด็กได้เราจะสามารถป้องกันโรคไม่ติดต่อได้ ถ้าเราปล่อยให้เด็กไทยอ้วนต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ทำอะไร ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ทำให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ จากการศึกษาพบต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากโรคอ้วนประเทศไทยพบว่า พ.ศ.2567 สูงถึง 12,142 กว่าล้านบาท และแนวโน้มตามที่คาดการณ์ไว้ พ.ศ.2573 สูงถึง 760,000 ล้านบาท

“20 ปีที่ผ่านมา เด็กไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ติด 1 ใน 3 ของอาเซียน” (ที่มา : รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 2-6 (สุขภาพเด็ก)

ดร.พญ.สายพิณ กล่าวต่ออีกว่า อาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในท้องตลาดจากการประเมินผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทยตามเกณฑ์มาตรฐานโภชนาการ จะเห็นได้ว่า 88% ไม่ผ่านเกณฑ์โภชนาการ นั่นหมายถึง มีน้ำตาล ไขมัน โซเดียมสูง ถ้ายังปล่อยให้อาหาร เครื่องดื่มเหล่านี้อยู่ในท้องตลาดและเด็กเข้าถึงได้ง่ายจากงานวิจัยล่าสุด การส่งเสริมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มกระตุ้นให้ซื้อและบริโภคอาหารไม่ผ่านเกณฑ์โภชนาการมากขึ้น 84% เด็กไทยพบเห็นการตลาดอาหารไม่ผ่านเกณฑ์โภชนาการผ่านทางออนไลน์มากขึ้นและ 40% การตลาดทำให้เด็กไทยชอบซื้อบริโภคเพิ่มขึ้น

“ซึ่งกรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่าย จึงพัฒนาและผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก (อาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมัน น้ำตาล โซเดียมสูงเกินเกณฑ์) ตั้งแต่ปี 2563-2567 ซึ่งนโยบายหรือมาตรการกรมอนามัยเพื่อช่วยให้ประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมด้านอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพกว่าถึง 5,500 ร้านค้า มีจำนวนเมนูอยู่ถึง 14,000 กว่าเมนู และการหวานน้อยสั่งได้” ดร.พญ.สายพิณ กล่าว

สถานศึกษาพื้นที่ระบบนิเวศสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก

ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า โรงเรียนทุกโรงเรียนทั่วประเทศพร้อมทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการส่งเสริมสนับสนุนด้านโภชนาการอาหารปลอดภัยมื้อกลางวัน ผ่านกระบวนการอาหารปลอดภัยที่มีมาตรการ 3 ป 1. ป้องกัน สร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรคไม่ติดต่อ 2. ปลูกฝัง จัดการเรียนการสอนในรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษาและการบูรณาการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน3. ปราบปรามช่วยเหลือเยียวยา ใช้มาตรการการช่วยเหลือเยียวยาในทุกมิติระยะสั้นระยะยาว

“ขณะเดียวกันสถานศึกษาต้องจัดให้สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน มีห้องเรียนที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมของนักเรียน ดูแลบริเวณอาคารสถานที่ เพื่อลดมลพิษทางน้ำ อากาศ เสียง และที่เกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นประจำ เพื่อนำข้อมูลมาจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพที่ดี รวมถึงป้องกันและรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตด้านสุขภาพจิต โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็ก 4H คือ Head ด้านสติปัญญา Heart ด้านทัศคติ Hands ด้านการเรียนรู้และปฏิบัติจริง และ Health ด้านสุขภาพ เพื่อให้เด็กเติบโตมาเป็นกำลังหลักของชาติได้อย่างแข็งแรงสมบูรณ์” ดร.ธีร์ กล่าว

การออกแบบพื้นที่ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายภาพและการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน

ดร.เพ็ญ สุขมาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพคือหนึ่งในการจัดการเช่นกัน ทั้งเรื่องอาชีพ รายได้ การจ้างงาน การศึกษา การเดิน ล้วนมีส่วนในการออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงใน NCDs การออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมเมืองมีส่วนสำคัญมากช่วยทำให้การปรับใช้พื้นที่สาธารณะในชุมชนท้องถิ่นเอื้อต่อคนทุกกลุ่มวัย เช่น เมืองที่มีการออกแบบให้มีการเดินทาง ทางจักรยาน ทางเดินปลอดภัย นอกจากจะทำให้คนกระฉับกระเฉงยังจะช่วยทำให้ผู้คนมีชีวิตชีวา เมืองมีความยั่งยืนลดการปลดปล่อยมลพิษ

“ในพื้นที่ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเดินและปั่นจักรยานมักมีผู้สัญจรไปมามากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ยอดขายปลีกที่ดีในงานวิจัยมีการนับแบบละเอียดต่อตารางฟุตเลย และธุรกิจขนาดเล็กมีจำนวนมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจล้วนมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นเนื่องจากสนับสนุนการสร้างงานและความมีชีวิตชีชาวของชุมชน” ดร.เพ็ญ กล่าว

กรุงเทพมหานคร สร้างสวน 15 นาทีขึ้นมา ทำทางร่มเงาขึ้นมา นี่คือสิ่งที่บ่งบอกว่าทุกภาคส่วนกำลังพยายามปรับระบบนิเวศให้คนสามารถเดินในประเทศที่ร้อนชื้นได้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  • สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ
  • สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก
  • ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล
  • สกู๊ปพิเศษ : กินเที่ยวสุดฟิน@ตะวันออก สัมผัสเสน่ห์การกิน ‘ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี’ สกู๊ปพิเศษ : กินเที่ยวสุดฟิน@ตะวันออก สัมผัสเสน่ห์การกิน ‘ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี’
  •  

Breaking News

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

ระวังจบไม่สวย! 'อดีตบิ๊กข่าวกรอง'ฉะยับ'พวกนักการเมือง'เฉยเมยปม'ดินแดน'

แนวหน้าวิเคราะห์ : หยุด‘คอกม้าจีนเทา’ แหล่งฟอกเงินแก๊งคอลฯ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved