วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สกู๊ปพิเศษ : กรุงเทพฯ มหานครสีเขียว ต้องร่วมกันปลุกเสก

สกู๊ปพิเศษ : กรุงเทพฯ มหานครสีเขียว ต้องร่วมกันปลุกเสก

วันจันทร์ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

เมืองสีเขียว เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมานานหลายสมัยผู้นำเมือง แต่ละยุคของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครช่วงหลังจะต้องมีเรื่องนี้สอดอยู่ในนโยบาย เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมคือปัญหาของมนุษยชาติ ปัจจุบันไม่เฉพาะประเทศไทยและ กทม.ที่ตื่นตัว ทั่วโลกมีปฏิกิริยาเรื่องนี้พร้อมเพรียง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของเมือง กรุงเทพมหานครก็มีแผนบริหารจัดการ 20 ปี เดินหน้าอนาคตเมือง จุดประสงค์หลักเพื่อให้กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทยเป็น “มหานครสีเขียว” แต่การจะทำได้หรือไม่ได้ก็ไม่ใช่แปลว่าจะเพียงแค่เพิ่มสีเขียวให้เมืองเท่านั้น ยังมีเรื่องสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกมากต้องเดินหน้าพร้อมๆ กัน เช่น ขยะ น้ำ และอากาศ และแผนดังกล่าวจะสัมผัสได้จริงแค่ไหนอย่างไร คนเมืองหลวงทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้คำนิยาม มหานครสีเขียว GREEN CITY ว่า “มหานครสีเขียว” คือเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. ได้กำหนดเป็นแผนไว้ชัดมุ่งบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เป็น 1 ใน 6 นโยบายหลักด้านการพัฒนากรุงเทพฯ ที่ต้องการให้กรุงเทพมหานครน่าอยู่อาศัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน มีระบบกำจัดขยะ น้ำเสียด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีระบบเฝ้าระวังคุณภาพอากาศที่มีมาตรฐานครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาและฟอกอากาศ ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองสะอาด ปราศจากขยะและฝุ่นละออง น้ำในคลองใส อากาศสะอาดปลอดมลพิษ


การที่จะให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครสีเขียวมีหลายเรื่องที่ต้องดำเนินการ แน่นอนว่าสิ่งแรกที่จะเห็นได้ชัดเจนคือ “การมีพื้นที่สีเขียว”ในเมือง จะเห็นได้ว่าเมืองใหญ่ทั่วโลกมีการรณรงค์หรือมีแนวคิดสร้างสวนสาธารณะหรือสวนป่ากลางเมือง ซึ่งสัดส่วนของสวนในโลกจะแตกต่างกันไปตามสภาพของเมืองภูมิภาคต่างๆ สำหรับกรุงเทพฯ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องมีพื้นที่สวนในสัดส่วน 9 ตร.ม./คน ปัจจุบันมีสวนสาธารณะแล้ว 4.5 ตร.ม./คน ตามเป้าหมายที่ผู้ว่าฯม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กำหนดจะเพิ่มพื้นที่สีเขียว 5,000 ไร่ เมื่อดำรงตำแหน่งครบ 4 ปีนี้ ช่วงสมัยแรกมีพื้นที่สวนแล้ว 17,000 ไร่ สมัยที่ 2 ดำเนินการไปแล้ว 2,000 กว่าไร่ ทำให้ ณ วันนี้กรุงเทพฯมีสวนสาธารณะ รวม 19,000 กว่าไร่ สัดส่วนต่อคน เพิ่มเป็น 5 ตร.ม. และยังคงดำเนินการต่อเนื่องปีละ 1,000 ไร่ ใน 10 ปี ก็จะได้ถึง 10,000 ไร่

นอกจากจะพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เป็นสวนสาธารณะแล้ว ยังมีพื้นที่ของเอกชน รวมไปถึงส่วนราชการอย่างกรมธนารักษ์หรือสำนักงานทรัพย์สินอีกหลายแห่ง ซึ่งได้เจรจาขอใช้พัฒนาเป็นสวนด้วย พร้อมทั้งมีการพัฒนาแก้มลิง 25 แห่งของกรุงเทพฯ ให้เป็นสวนสาธารณะควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันน้ำท่วมด้วย อันจะส่งผลให้ กทม.มีสวนมากขึ้น รวมทั้งรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใหญ่ในชุมชน หมู่บ้าน รวมไปถึงตามพื้นที่สาธารณะและถนนสายต่างๆ เช่น ถนนสายใหม่ที่ก่อสร้างจะปลูกต้นไม้ใหญ่ทั้งหมด

หัวใจหลักของ “มหานครสีเขียว” คือ “การจัดการขยะ” ขยะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมากไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นทั่วโลกยังมีพื้นที่หลายแห่งน่าห่วง สำหรับกรุงเทพฯ มีขยะ 25% ของทั้งประเทศ จำนวน 50,000 ตัน/วัน คนกรุงเทพฯ ผลิตขยะ 13,000 ตัน/วัน นำไปสู่ระบบจัดการ 10,000 ตัน/วัน การจัดการขยะในอนาคต กรุงเทพมหานครมีแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ด้วยการกำหนดแนวคิด “ขยะเหลือศูนย์” เน้นการนำกลับมาใช้ใหม่ให้มาก ส่วนที่เหลือกำจัดด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ลดและควบคุมปริมาณขยะที่แหล่งกำเนิด จนถึงกำจัดอย่างถูกต้อง พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในการบริหารจัดการขยะ ตามแนวคิด “ขยะคือทรัพยากร” ลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทางให้เหลือน้อยที่สุด จากเดิมคนกรุงเทพฯ ผลิตขยะต่อคนวันละ 1.5 กก. จะรณรงค์ลดขยะให้เป็น 1.2 กก./คน/วัน ผลักดันให้เกิดกระบวนการลดและคัดแยกขยะที่แหล่งกำเหนิด รวมถึงขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเป็นทรัพยากรของทุกภาคส่วนในสังคม

ตามแผนนโยบาย “มหานครสีเขียว” จะเพิ่มระบบจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่จัดเก็บ ขนถ่าย จนถึงเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและสะอาด ขณะนี้กรุงเทพมหานครมีศูนย์กำจัดมูลฝอย 3 แห่ง ที่สายไหม รับมูลฝอย 3,000 ตัน/วัน อ่อนนุช รับ 4,000 ตัน/วัน และหนองแขม รับ 3,000/ตันวัน และมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดเก็บและกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม แปรรูปขยะให้ใช้ประโยชน์มากที่สุดด้วยวิธีต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ดังนี้ 1.การเผาขยะนำความร้อนไปผลิตกระแสไฟฟ้า ปัจจุบันก่อสร้างโรงงานเตาเผาขยะ ขนาด 300 ตัน/วัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมจะแล้วเสร็จในปี 2558 2.การหมักขยะเป็นแก๊สไปปั่นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า และ 3.การหมักทำปุ๋ย ได้ก่อสร้างโรงงานหมักปุ๋ย ขนาด 600 ตัน/วัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชจะเสร็จในปี 2558 และอยู่ระหว่างดำเนินงานศึกษา ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยสายไหม ศึกษาออกแบบเพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับมูลฝอยด้วยระบบอัดมูลฝอย (Compactor) และออกแบบเพิ่มประสิทธิภาพการนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ของระบบบำบัดน้ำชะมูลฝอย ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ศึกษาความเหมาะสมระบบกำจัดมูลฝอยโดยวิธีเชิงกล-ชีวภาพ (MBT) ขนาด 600 ตัน/วัน และศูนย์การเรียนรู้การคัดแยกมูลฝอยและของเสียจากชุมชน ขนาด 300/วัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม ศึกษาความเหมาะสมการกำจัดมูลฝอยด้วยระบบเตาเผา ขนาด 2,000 ตัน/วัน ออกแบบปรับปรุงระบบอัดมูลฝอย (Compactor) ให้เป็นระบบอัดมูลฝอยแรงดันสูง (High Pressure Compactor) ออกแบบระบบหมักไร้อากาศสำหรับน้ำชะมูลฝอย และสถานีขนถ่ายมูลฝอยรัชวิภา ขนาด 700 ตัน/วัน

เป้าหมาย 20 ปีไม่เกินปี 2575 กำหนดให้มีขยะฝังกลบไม่เกิน 40-50% ของขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ดังนั้นขยะ 50-60% จะต้องเข้าไประบบแปรรูปเป็นพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีแผนดำเนินการทุก 5 ปี สร้างโรงงานแปรรูปขยะรูปแบบต่างๆ อนาคตอาจมีการเพิ่มโรงงานจัดการขยะ 10 โรง ใน 10 โซน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บที่สูงมาก

มหานครสีเขียวเกี่ยวกับ “น้ำเสีย” ตรงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ เพราะเป็นเมืองที่มีคนอยู่เยอะ น้ำเสียวันละ 3 ล้านลบ.ม. สิ่งที่เมืองต้องทำคือบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยทิ้งลงแหล่งสาธารณะ แม่น้ำลำคลอง โดยนำน้ำที่บำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสวน รดน้ำต้นไม้ และทำความสะอาด ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีโรงบำบัดน้ำเสีย 7 แห่ง บำบัดน้ำเสียได้วันละ 1 ล้านลบ.ม. เป้าหมายใน 20 ปี จะมีโรงบำบัดน้ำเสียได้ 2.5-3 ล้านลบ.ม.

มหานครสีเขียวเกี่ยวกับ “คุณภาพอากาศ” เรื่องนี้น่ากลัวมากสำหรับเมืองใหญ่ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมาก มีการสัญจรหนาแน่น และส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเมือง ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หลายเมืองทั่วโลกรณรงค์ลดคาร์บอน สร้างเมืองคาร์บอนต่ำ กรุงเทพฯ มีคาร์บอนในเมืองอยู่ลำดับ 4 ของเมืองใหญ่ทั่วโลก อาจจะต่อจากนิวยอร์ก จีน โตเกียวและอังกฤษ ซึ่งคาร์บอนในกรุงเทพฯมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากระบบขนส่งที่มีการจราจรหนาแน่น เห็นได้จากจำนวนรถที่มีมากถึง 8 ล้านคัน มากกว่าประชากรที่มีอยู่ 5 ล้านกว่า คาร์บอนอีกส่วนมาจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากการก่อสร้าง ในการควบคุมคุณภาพอากาศต้องเร่งรัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ให้มีรถไฟฟ้าครอบคลุมและรถเมล์ที่ดี

รวมถึงเพิ่มทางเลือกการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การควบคุมมาตรฐานการก่อสร้างอาคารและสาธารณูปโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยออกมาตรการควบคุม ลดฝุ่นละอองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ในปี 2558 จะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินมาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางอากาศและเสียงในกรุงเทพมหานครติดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศและเสียงครบ 50 เฝ้าระวังคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีเครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่ได้ 10 ชุด เพื่อสามารถไปวัดคุณภาพอากาศในจุดที่มีผลกระทบและเร่งรัดให้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

ทั้งนี้ การใช้จ่ายงบประมาณเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเร่งรัดขับเคลื่อนงานด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนในปีงบประมาณ 2558 ค่าใช้จ่าย 40% จะเป็นเรื่องบุคลากรหน่วยงานต่างๆ ที่เหลือจะใช้ในการพัฒนาเมือง ทั้งมิติโครงสร้างพื้นฐานด้านการโยธา ถนนหนทางต่างๆ การจราจรและขนส่ง ระบบขนส่งมวลชน การระบายน้ำตามแผนป้องกันน้ำท่วม การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ดูแลคุณภาพชีวิตคนเมืองทุกกลุ่มวัยส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว การศึกษา พัฒนาเพิ่มศักยภาพโรงเรียน และการแพทย์สาธารณสุขเพิ่มโรงพยาบาลและส่งเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดี ในทุกๆ ด้านต้องบริหารอย่างสมดุล

ส่วนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดสรรงบประมาณไว้จะเน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการบริหารจัดการขยะตามแผนพัฒนาขยะของกรุงเทพมหานคร เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นเมืองสิ่งแวดล้อมที่ดี เหนืออื่นใดการจะให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครสีเขียวได้สมบูรณ์แบบ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ทุกคนต้องรักและใส่ใจเมือง คอยสอดส่องเป็นหูเป็นตา เรื่องนี้ประชาชนต้องไม่มองว่าไกลตัว หรือคิดแค่ตัวเองและครอบครัว ถ้าคิดไกลคิดเพื่อส่วนร่วมได้ การแก้ไขปัญหา หรือการจะเนรมิตให้กรุงเทพเป็นมหานครสีเขียวก็ไม่ไกลจากเอื้อมมือแน่นอน...

พรสวรรค์ จรเจริญ

รายงาน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เช็คที่นี่! กทม.เตือน‘43 พื้นที่’เตรียมรับมือ‘ฝนถล่ม’วันนี้ เช็คที่นี่! กทม.เตือน‘43 พื้นที่’เตรียมรับมือ‘ฝนถล่ม’วันนี้
  • คนกรุงร้องจ๊าก! ฝนถล่มหนักต่อเนื่อง หลายจุดการจราจรเป็นอัมพาต คนกรุงร้องจ๊าก! ฝนถล่มหนักต่อเนื่อง หลายจุดการจราจรเป็นอัมพาต
  • อีก7ร่างหาไม่เจอ ลุ้นนิติเวชพิสูจน์เศษชิ้นเนื้อ กทม.เปิดพื้นที่ครบยุติค้นหา อีก7ร่างหาไม่เจอ ลุ้นนิติเวชพิสูจน์เศษชิ้นเนื้อ กทม.เปิดพื้นที่ครบยุติค้นหา
  • ปค./ตร.บุกตรวจ เบรกปาร์ตี้อินเดีย เล่นน้ำเปิดเพลง รบกวนชาวบ้าน ปค./ตร.บุกตรวจ เบรกปาร์ตี้อินเดีย เล่นน้ำเปิดเพลง รบกวนชาวบ้าน
  • เช็กด่วน! \'การบินไทย\'ประกาศยกเลิกเที่ยวบินไป\'ปากีสถาน\' 10-15 พ.ค.68 เช็กด่วน! 'การบินไทย'ประกาศยกเลิกเที่ยวบินไป'ปากีสถาน' 10-15 พ.ค.68
  • ‘ผู้ว่าฯชัชชาติ’เดินหน้าก้าวสู่ปีที่ 4 ดัน‘กรุงเทพฯ’สู่เมืองโอกาสและความหวัง ‘ผู้ว่าฯชัชชาติ’เดินหน้าก้าวสู่ปีที่ 4 ดัน‘กรุงเทพฯ’สู่เมืองโอกาสและความหวัง
  •  

Breaking News

ทิฐิมาก! ‘อ.ไชยันต์’ยกธรรมะฟันเปรี้ยงความเมตตา ใช้ไม่ได้กับ‘ทักษิณ’

‘สุดารัตน์’แนะรัฐทบทวนการใช้งบปี69 จี้ลดรายจ่ายภาครัฐที่ฟุ่มเฟือย

‘ส้ม’แพ้เรียบ! 15 ผู้สมัคร‘พรรคประชาชน’ไร้ชัยชนะพื้นที่‘เทศบาลนคร’

'วินัย อินทร์พิทักษ์'ประกาศชัยชนะ นั่งนายกเล็กเมืองหนองปรือ ควบ2สมัย กินส้มโชว์ยกทีม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved