วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ยกระดับคุ้มครองสิทธิ! เผยยอดผู้เสียหายเข้าใช้งานศูนย์กลางข้อมูลฯเกือบพันคน

ยกระดับคุ้มครองสิทธิ! เผยยอดผู้เสียหายเข้าใช้งานศูนย์กลางข้อมูลฯเกือบพันคน

วันพฤหัสบดี ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564, 15.12 น.
Tag : โฆษกศาลยุติธรรม นางเมทินี ชโลธร นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล ประธานศาลฎีกา ศูนย์กลางข้อมูลผู้เสียหาย
  •  

โฆษกศาลฯเผยยอดผู้เสียหายเข้าใช้งานศูนย์กลางข้อมูลผู้เสียหายเกือบพันคน หลังประธานศาลฎีกาเปิดศูนย์ยกระดับ 1 เดือนเศษ ชี้เป็นช่องทางการใช้สิทธิที่ประชาชนควรรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้รับความยุติธรรมทางคดี มีโอกาสค้านการประกันตัวทันเวลาเเละได้รับการเยียวยาความเสียหายอย่างเหมาะสม สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ศาลยุติธรรมทุกแห่งหรือทางออนไลน์ตลอด 24 ชม.โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงศาล

เมื่อวันที่ 1 เม.ย.64 นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม  เปิดเผยถึงความคืบหน้า"โครงการยกระดับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา" ตามนโยบายประธานศาลฎีกา ซึ่งเปิดดำเนินการพร้อมกันในศาลทั่วประเทศว่า ภายหลังเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา  เป็นประธานเปิดศูนย์กลางข้อมูลผู้เสียหายของศาลยุติธรรมที่ศาลอาญาจนถึงวันที่ 1เม.ย.มีผู้เสียหายเข้ามาใช้บริการลงข้อมูลไว้ 811 คน ทั้งผู้เสียหายที่คดีเข้าสู่ศาลเเล้วเเละคดีที่ยังมาไม่ถึงชั้นศาล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องขอรับการเยียวยาค่าเสียหาย ขอคุ้มครองความปลอดภัย และมีบางส่วนที่ต้องการคัดค้านการประกันตัวของผู้ต้องหา


ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำและได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดของคนอื่น มีสิทธิหลายประการทั้งสิทธิในทางคดีและการขอรับการเยียวยาความเสียหายคือ นอกจากการขอให้ศาลลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายแล้ว ผู้เสียหายยังต้องการให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าเสียหายอีกด้วย ซึ่งสิทธิของผู้เสียหายทั้งสองส่วนนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของศาลยุติธรรมที่ต้องบริการให้แก่ผู้เสียหายผ่านการดำเนินคดี  แต่ที่ผ่านมากระบวนการดำเนินคดีมักจะมีระยะเวลากำหนดว่า ต้องทำภายในเวลาเท่าไหร่  ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเรียกร้องค่าเสียหายเข้ามาในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ป.วิอาญา) ก็มีหลักเกณฑ์ว่า ต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษา ถ้าไม่ได้ใช้สิทธิในเวลานั้นก็จะเสียโอกาสและต้องไปยื่นฟ้องคดีแพ่งกันใหม่

ศาลยุติธรรมพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้เข้ามาใช้สิทธิต่างๆ ในคดี เกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ ผู้เสียหายไม่รู้สิทธิของตน ไม่รู้ขั้นตอนดำเนินคดีว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ อีกประการหนึ่งคือทุกวันนี้เมื่อผู้เสียหายไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนแล้วจะได้รู้ความคืบหน้าของคดีอีกครั้งตอนที่ถูกถูกเรียกไปเป็นพยานศาล หรือแย่ที่สุดอาจไม่รู้ความคืบหน้าอะไรเลยก็เป็นไปได้  ไม่รู้แม้กระทั่งว่าตำรวจจับตัวคนร้ายได้หรือยัง ผู้ต้องหาที่ถูกจับแล้วได้ประกันตัวไปหรือไม่ อัยการฟ้องผู้ต้องหาหรือไม่ หรือฟ้องแล้วจำเลยให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ ผู้เสียหายยังแทบไม่มีโอกาสรู้เลย ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องการใช้สิทธิ

ดังนั้น ศาลยุติธรรมจึงไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าว ประธานศาลฎีกาจึงได้กำหนดโจทย์ไว้สองข้อคือ ทำอย่างไรให้ประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหายได้รู้ถึงสิทธิตามกฎหมาย และทำอย่างไรให้ผู้เสียหายมีโอกาสใช้สิทธินั้นได้เต็มที่และทันเวลา คำตอบนอกจากใช้การประชาสัมพันธ์เชิงรุกแล้ว ยังได้นำมาสู่การตั้งศูนย์กลางข้อมูลผู้เสียหายขึ้นในลักษณะศูนย์ออนไลน์ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันทุกศาลทั่วประเทศ ให้ผู้เสียหายมาแจ้งความประสงค์ต่อศาลไว้ล่วงหน้าว่าต้องการให้ศาลช่วยเหลือในเรื่องอะไรบ้าง โดยไม่ต้องคอยให้คดีมาถึงศาลหรือจับคนร้ายได้ก่อน  หลังจากแจ้งความร้องทุกข์แล้วมาลงข้อมูลกับศาลได้ทันที ผู้เสียหายสามารถเข้าไปติดต่อที่ศาลชั้นต้นทุกแห่งทั่วประเทศที่พิจารณาคดีอาญาได้ เช่น ศาลจังหวัด ศาลแขวง ศาลเยาวชน และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ  ไม่ต้องไปศาลในท้องที่เกิดเหตุก็ได้  เพราะทุกศาลเชื่อมโยงข้อมูลกันทางออนไลน์  หรือผู้เสียหายจะลงข้อมูลเองทางระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (ระบบ cios) ก็ได้เช่นกัน

ผู้เสียหายที่ลงข้อมูลไว้กับศาลแล้ว ทำให้ศาลทราบว่าผู้เสียหายต้องการได้รับความช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง เช่นอาจต้องการคัดค้านการขอประกันตัว ที่ผ่านมาถ้าผู้เสียหายไม่รู้ว่าคนร้ายถูกจับมาฝากขังที่ศาลแล้วก็ไม่มีโอกาสคัดค้านการขอประกันได้ทัน  แต่ถ้าผู้เสียหายมาแจ้งศาลไว้ล่วงหน้าผ่านทางศูนย์กลางข้อมูลผู้เสียหาย  เวลาคนร้ายถูกจับมาฝากขังและศาลตรวจสอบฐานข้อมูลพบว่าผู้เสียหายได้แจ้งความต้องการเรื่องค้านประกันไว้แล้วหรือไม่  ทำให้ผู้เสียหายไม่พลาดโอกาสในการค้านประกัน  หรือถ้าผู้แจ้งไว้แล้วว่าต้องการเรียกร้องค่าเสียหาย  ศาลอาจนัดหมายคู่กรณีมาไกล่เกลี่ยเรื่องค่าเสียหายได้ทันที ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีก็ได้

“ยกตัวอย่างคดีพยายามฆ่าที่เป็นข่าวดังในภาคใต้ ถ้าผู้เสียหายกังวลเรื่องความปลอดภัยหรือจะค้านประกันก็ไปแจ้งความประสงค์ได้ที่ศาลทุกแห่งหรือแจ้งเองทางระบบออนไลน์ของศาลก็ได้” นายสุริยัณห์ กล่าว

และว่า จุดเด่นของศูนย์กลางข้อมูลผู้เสียหายคือ ทำให้ศาลทราบความต้องการของผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ไม่ใช่เพิ่งทราบตอนคดีใกล้จะเสร็จ  เราอยากทำความรู้จักผู้เสียหายให้เร็วที่สุด หลังแจ้งความแล้วอยากให้ผู้เสียหายทุกคนรีบมาลงข้อมูลในศูนย์ข้อมูลนี้ไว้ เพราะถ้ามีการจับผู้ต้องหามาฝากขังหรือมีการฟ้องคดี ศาลจะได้ทราบว่าผู้เสียหายต้องการความช่วยเหลืออะไร และมีที่อยู่ติดต่อผู้เสียหายกลับไปให้มาใช้สิทธิยื่นคำร้องต่างๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันศาลยุติธรรมเปิดให้ยื่นคำร้องคำขอต่างๆ ได้ทางออนไลน์ หลังจากผู้เสียหายเข้ากรอกข้อมูลในศูนย์กลางข้อมูลผู้เสียหายแล้ว ผู้เสียหายสามารถขอติดตามความคืบหน้าของคดีได้ทางระบบออนไลน์ของศาลยุติธรรมว่าคดีอยู่ในขั้นตอนใดแล้ว ซึ่งทำได้เองทางสมาร์ทโฟน

“การกรอกข้อมูลลงในศูนย์กลางข้อมูลผู้เสียหาย นอกจากข้อมูลส่วนตัวเบื้องต้น ผู้เสียหายสามารถกรอกความประสงค์ว่าต้องการความช่วยเหลือเรื่องอะไร เช่น คัดค้านการประกันตัว เรียกร้องค่าเสียหายเยียวยา ขอให้ตั้งทนายความให้ หรือขอไกล่เกลี่ย ซึ่งศาลยุติธรรมมีกลไกการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ถึงแม้ยังไม่มีการฟ้องคดีก็มาเจรจาเรื่องค่าเสียหายก่อนได้ อย่าลืมว่าในแง่ของการเยียวยาผู้เสียหาย เขาอาจไม่สามารถรอไปจนถึงศาลตัดสิน เพราะฉะนั้นเป็นไปได้ให้มาคุยกันก่อนจะดีกว่าสำหรับทุกฝ่าย ศาลนำข้อมูลทั้งหมดไปประกอบการพิจารณาคดีโดยเฉพาะเพื่อหามาตรการหรือวิธีการในการดูแลเยียวยาผู้เสียหายตามกฎหมาย ถ้าจำเป็นศาลอาจประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยดูแลผู้เสียหายตามบทบาทหน้าที่ ไม่มีใครอยากเป็นผู้เสียหาย ถ้าเรื่องพวกนี้รู้ไว้ใช่ว่าสามารถแนะนำบอกต่อคนอื่นได้ ช่วยกันคนละไม้ละมือให้ประชาชนรู้สิทธิ รู้กระบวนการอย่างทั่วถึง จะได้มีโอกาสใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ ทุกศาลมีเจ้าหน้าที่ศาลช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เมื่อเข้าไปที่ศาลแล้วบอกแค่ว่ามาลงข้อมูลผู้เสียหาย  ขอรับรองว่าข้อมูลที่ท่านให้ไว้กับศาลเป็นความลับและใช้เฉพาะการช่วยเหลือดูแลผู้เสียหายของศาลเท่านั้น มีการกำหนดผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลไว้อย่างรัดกุม ไม่ใช่ว่าใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ ศาลยุติธรรมให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลเป็นความลับ เพราะถือเป็นการคุ้มครองอย่างแรกที่เราทำให้ผู้เสียหายได้” นายสุริยัณห์  กล่าวตอนท้าย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'อดิศักดิ์ ตันติวงศ์\' นั่งประธานศาลฎีกาคนที่ 51 มีผล 1 ต.ค. 'อดิศักดิ์ ตันติวงศ์' นั่งประธานศาลฎีกาคนที่ 51 มีผล 1 ต.ค.
  • โฆษกศาลเปิดข้อบังคับใหม่‘ประธานศาลฎีกา’ เปิดช่องประกันตัวเหตุพิเศษ โฆษกศาลเปิดข้อบังคับใหม่‘ประธานศาลฎีกา’ เปิดช่องประกันตัวเหตุพิเศษ
  • \'โฆษกศาลฯ\'แจงคำตัดสินคดีทุจริตพาณิชย์อุบลฯ จากจำคุก 130 ปี ทำไมรอลงอาญา 'โฆษกศาลฯ'แจงคำตัดสินคดีทุจริตพาณิชย์อุบลฯ จากจำคุก 130 ปี ทำไมรอลงอาญา
  • ‘โฆษกศาลยุติธรรม’แจงหลักเกณฑ์ ศาลให้ประกันตัว‘ป๋าเบียร์-แม่ตั๊ก’ ‘โฆษกศาลยุติธรรม’แจงหลักเกณฑ์ ศาลให้ประกันตัว‘ป๋าเบียร์-แม่ตั๊ก’
  • \'ปธ.องคมนตรี-ปธ.ศาลฎีกา\'เปิดโครงการเยาวชนไทย หัวใจเดียวกันรุ่นที่ 9 จาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ 'ปธ.องคมนตรี-ปธ.ศาลฎีกา'เปิดโครงการเยาวชนไทย หัวใจเดียวกันรุ่นที่ 9 จาก 3 จังหวัดชายแดนใต้
  • ‘ปธ.ศาลฎีกา’ประกาศชื่อผู้สอบได้เป็น‘ผู้ช่วยผู้พิพากษา’ ‘ปธ.ศาลฎีกา’ประกาศชื่อผู้สอบได้เป็น‘ผู้ช่วยผู้พิพากษา’
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved