ปัญหาอุทกภัย หรือที่เรียกกันภาษาพูดน้ำท่วมนั้น แม้ส่วนใหญ่จะเป็นภัยธรรมชาติแต่ก็มีส่วนที่เกิดจากการบริหารจัดการการผังเมืองรวมถึงจิตสำนึกของประชาชนด้วย เช่น การทิ้งขยะอันเป็นสาเหตุของท่ออุดตัน
ทั้งกรณีน้ำท่วมนอกจากเกิดปัญหาความเดือดร้อนที่เห็นได้ชัด คือ ที่อยู่อาศัยพื้นที่ทำการเกษตรเรือกสวนไร่นาทรัพย์สินเสียหายแล้ว ยังมีประเด็นข้อกฎหมายที่น่าสนใจหลายเรื่องโดยในตอนนี้ผู้เขียนขอยกเรื่อง เหตุสุดวิสัยกับการขยายระยะเวลาตามสัญญาเล่า
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติเหตุสุดวิสัยหมายความ เหตุใดๆ อันเกิดขึ้นก็ดีจะให้ผลภัยพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้ แม้ทั้งบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้นเมื่อศึกษาประกอบกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่อ.452/2557 จากเหตุการณ์ฝนตกน้ำท่วมในพื้นที่ก่อสร้าง มิใช่เป็นเพียงหน้าฝนตามฤดูกาล แต่เป็นการเกิดอุทกภัยอันถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงสมควรได้รับการขยายเวลาปฏิบัติตามสัญญาตามข้อกำหนดของสัญญาข้อ 19 และตามข้อ 139(2) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และจากรายงานผลการปฏิบัติงานรายวันของผู้ควบคุมงานปรากฏว่ามีบางวันเท่านั้นที่สามารถทำงานได้เต็มวันและเป็นการทำงานที่หน้างาน แม้บางวันไม่มีฝนตกหนัก แต่การที่มีน้ำท่วมขังและต้องสูบน้ำออกจากหลุมตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถทำงานที่หน้างานได้ ทำให้งานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน การเกิดอุทกภัยทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานไม่สามารถทำงานได้เต็มความสามารถ ประกอบกับคณะกรรมการตรวจการจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมงานและใกล้ชิดกับเหตุการณ์อุทกภัยมีมติให้ขยายเวลาทำงานให้แก่ผู้ฟ้องคดีจำนวน 59 วัน จึงเชื่อได้ว่าเหตุน้ำท่วมมีความรุนแรงจึงสมควรขยายเวลาทำงานให้ผู้ฟ้องคดี 49 วัน
ดังนั้น กรณีคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐ สามารถศึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบสำนักนายกฯ รวมถึงคำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด ดังกล่าวเป็นแนวทางในการขอขยายระยะเวลา รวมถึงการขอลดค่าปรับส่งมอบล่าช้าได้