วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
คลินิกสิ่งแวดล้อม : บาดเจ็บสาหัสตามกฎหมายคืออะไร

คลินิกสิ่งแวดล้อม : บาดเจ็บสาหัสตามกฎหมายคืออะไร

วันศุกร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : คลินิกสิ่งแวดล้อม
  •  

กรณีเหตุประมาทให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสนั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ได้ บัญญัติเอาไว้ว่า ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยในส่วนของอาการสาหัสนั้นกฎหมายได้บรรยายเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 297 วรรคสอง)


(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (ความสามารถในการดมกลิ่น)

(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์

(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด เช่น ฟันร่วงหมดปาก หรือจนไม่อาจเคี้ยวอาหารได้ เป็นต้น

(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (ถ้ารักษาหายได้ก็ไม่เข้าอนุมาตรานี้)

(5) แท้งลูก

(6) จิตพิการอย่างติดตัว

(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต

(8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติ ไม่ได้เกินกว่า 20 วัน

ประการแรกที่ประชาชนหลายคนมีข้อสงสัยคือความผิดตามมาตราดังกล่าวเป็นข้อหาที่ไม่สามารถยอมความได้ ดังนั้นการพูดคุยตกลงในชั้นพนักงานสอบสวน หากผู้ประมาทได้ตกลงและชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายตามยอดที่พึงพอใจแล้วพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการสรุปสำนวนส่งฟ้องต่อไป เพียงแต่การชดใช้เยียวยาจนผู้เสียหายพึงพอใจนั้นจะเป็นผลดีแก่จำเลยเพื่อให้ศาลพิพากษาลงโทษในสถานเบาหรือรอการลงโทษได้มากขึ้น

ประการต่อมาเกี่ยวกับอาการ ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติ ไม่ได้เกินกว่า 20 วัน ในส่วนนี้ไม่ได้คำนึงจากรายละเอียดในใบรับรองแพทย์ที่ระบุจำนวนวันที่รักษาเพียงอย่างเดียว จะต้องพิจารณาประกอบกับ ความเป็นจริงว่าผู้เสียหายเกิดความบาดเจ็บรักษาตัวไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เกินกว่า 20 วันจริงหรือไม่และต้องเป็นในลักษณะที่ทุกขเวทนาหรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่หากเป็นเพียงการรักษาบาดแผลอาการบาดเจ็บ แต่สามารถใช้ชีวิต ช่วยเหลือตัวเองตามชีวิตประจำวันได้ แบบนี้อาจไม่ถือว่าเป็นอาการบาดเจ็บสาหัสตามข้อนี้ ซึ่งเป็นข้อที่ถกเถียงกันมากในทางปฏิบัติ ดังนั้นการพิจารณาจากประวัติการรักษาเช่นภาพถ่ายอาการบาดเจ็บ ภาพถ่ายเอกซเรย์รวมทั้งประวัติการรักษา เช่นวิธีและขั้นตอนการผ่าตัดว่าเกี่ยวข้องกับอวัยวะสำคัญอย่างไร กระทบต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตอย่างไร มีรายละเอียดการรักษาในอนาคตอย่างไร มีผลข้างเคียงหรือเอฟเฟคในอนาคตอย่างไร จะทำให้พิจารณาข้อนี้ง่ายขึ้น 

โดยในขั้นตอนการทางปฏิบัติหากมีใบรับรองแพทย์หรือผลการรักษาเพิ่มเติม เพื่อความรวดเร็วผู้เสียหายควรจะขอข้อมูล
และเอกสารดังกล่าวเพื่อแจ้งเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวน และเมื่อพนักงานสอบสวนได้พิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บสาหัสก็อาจจะสั่งฟ้องไปตามรูปคดีได้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คลินิกสิ่งแวดล้อม:16 พฤษภาคม 2568 คลินิกสิ่งแวดล้อม:16 พฤษภาคม 2568
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : กลุ่มกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติ คลินิกสิ่งแวดล้อม : กลุ่มกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติ
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : คานถล่มบนถนนพระราม 2 กับปัญหาทางกฎหมาย คลินิกสิ่งแวดล้อม : คานถล่มบนถนนพระราม 2 กับปัญหาทางกฎหมาย
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : ระเบียบใหม่ ป.ป.ช.ในการยื่น  บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรส คลินิกสิ่งแวดล้อม : ระเบียบใหม่ ป.ป.ช.ในการยื่น บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรส
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : กฎหมายว่าด้วยโรงแรม กับกรณีปล่อยเช่าคอนโดฯ คลินิกสิ่งแวดล้อม : กฎหมายว่าด้วยโรงแรม กับกรณีปล่อยเช่าคอนโดฯ
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : การทิ้งขยะมูลฝอยในที่ดินของตัวเอง คลินิกสิ่งแวดล้อม : การทิ้งขยะมูลฝอยในที่ดินของตัวเอง
  •  

Breaking News

สะกดทุกสายตา!'ข้าวโอ๊ต ณดาพัน'นางสาวไทยชัยภูมิ 2568 ขึ้นแท่นเต็งมงใน Preliminary Competition

ทีมวิจัยไทยค้นพบ‘เซรั่มน้ำยางพารา’ต้านมะเร็ง ลดอักเสบ

ยอมรับภาษี-อย่าผลักภาระให้ผู้บริโภค! ‘ทรัมป์’โต้ยักษ์ค้าปลีก‘วอลมาร์ท’ปมโอดขอปรับราคาสินค้า

‘200 สว.’สะท้าน! ‘พันธุ์ใหม่’เดินเกมล่าชื่อ ชงศาลรธน.สั่งหยุดทำหน้าที่‘เฉพาะส่วน’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved