วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ผู้เชี่ยวชาญ สจล. แนะวิธีออกแบบ  และปรับปรุงอาคารรับมือแผ่นดินไหว

ผู้เชี่ยวชาญ สจล. แนะวิธีออกแบบ และปรับปรุงอาคารรับมือแผ่นดินไหว

วันพฤหัสบดี ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag :
  •  

ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  แนะแนวทางในการรับมือแผ่นดินไหวทั้งด้านการออกแบบ และวิธีการปรับปรุงแก้ไขอาคารสิ่งปลูกสร้างเก่าก่อนที่จะมีกฎหมายกำหนดเพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายด้วย4 แนวทาง คือ การเสริมกำลังด้วยคอนกรีตและเหล็กเสริมที่เสาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิม การเสริมกำลังด้วยแผ่นเหล็กที่เสาจะทำให้อาคารมีการรับแรงด้านข้างได้มากขึ้น การเสริมกำลังโดยให้กำแพงสามารถรองรับแรงเฉือน และการเสริมกำลังด้วยโครงแกงแนง

ดร.ภาณุมาศ ไทรงาม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหว กล่าวว่า ส่วนสำคัญในการออกแบบโครงสร้างเพื่อรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวนั้น คือการออกแบบให้เสามีขนาดใหญ่ขึ้นจากเมื่อก่อน เพราะผลกระทบโดยตรงของอาคาร สิ่งปลูกสร้างจากแผ่นดินไหวจะเป็นแรงที่กระทำจากด้านข้าง นั้นคือจะส่งผลกระทบไปที่เสา เวลาออกแบบก่อสร้าง จึงต้องออกแบบให้เสามีขนาดใหญ่ขึ้นโดยที่เราจะใช้ระบบที่เรียกว่า “เสาแข็งคานอ่อน” เพราะถ้าเสามีความแข็งแรงมากๆ โอกาสที่เสาจะเอนก็จะน้อยลง รวมถึงทำอาคารให้มีความเหนียวมากขึ้นโดยการเพิ่มรายละเอียดเหล็กเสริม และเหล็กปลอกของโครงสร้างอาคาร


สำหรับอาคารเก่าที่เจ้าของมีความกังวล ในหลักการของทางวิศวกรรมอาจต้องทำการวิเคราะห์อาคารเหล่านั้นได้ และถ้าผลออกมาพบว่าเป็นอาคารที่ไม่สามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ เราก็จะทำการเสริมกำลังอาคารเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว โดยมี 4 แนวทาง ดังนี้ 1.เสริมกำลังด้วยคอนกรีตและเหล็กเสริมที่เสาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิม (Concrete jacketing) ซึ่งเป็นวิธีการเสริมแรงแบบดั้งเดิม เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการเสริมความแข็งแรงของอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่มีผู้เชี่ยวชาญในงานก่อสร้างด้านการเสริมกำลังด้วยโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเป็นวิธีดังเดิมที่ถูกใช้ในหลายประเทศ 2.เสริมกำลังด้วยแผ่นเหล็กที่เสาจะทำให้อาคารมีการรับแรงด้านข้างได้มากขึ้น (Steel jacketing) แทนการเอาเหล็กเสริมและคอนกรีตเข้าไปพอกที่เสาเพียงอย่างเดียว เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการเสริมความแข็งแรงของอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหว และมีผู้เชี่ยวชาญในการก่อสร้างงานด้านการเสริมกำลังด้วยโครงสร้างเหล็ก 3.เสริมกำลังโดยให้กำแพงสามารถรองรับแรงเฉือน (Shear wall) ซึ่งอาคารสูง หรืออาคารสาธารณะในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯมีการออกแบบรับแรงด้านข้างมานานแล้ว จากปกติที่ผนัง หรือกำแพงจะเป็นแค่อิฐเพียงอย่างเดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้กับอาคารสูง เนื่องจากจะได้รับผลกระทบทั้งแรงลม หรือแผ่นดินไหวมากกว่าอาคารต่ำวิธีการคือใส่เหล็กเพื่อช่วยรับแรงด้านข้างดังกล่าว หรือเรียกว่าเป็น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก กำแพงแบบนี้จะไม่มีโครงสร้างเสาคานให้เห็น ซึ่งเกิดจากการออกแบบให้มันรับน้ำหนักแทนเสาและคาน ผนังแบบนี้แข็งแรงกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูน แต่มีข้อเสียตรงที่เราไม่สามารถปรับแต่ง ต่อเติม หรือเจาะผนังได้ เพราะจะเกิดความเสียหาย 4.เสริมกำลังด้วยโครงแกงแนง (Bracing) ซึ่งจะช่วยรับแรงด้านข้างได้ดี มีลักษณะของการเสริมกำลังด้วยการใช้เหล็กแท่งเสริมเข้าไประหว่างเสา 2 ต้น เพื่อเพิ่มการรับแรงกระทำจากด้านข้าง การยึดรั้งและเพิ่มเสถียรภาพและความแข็งแรงทางด้านข้าง ซึ่งเป็นระบบที่ถูกใช้เสริมกำลังอาคารเพื่อต้านทานแผ่นดินไหวในหลายประเทศ

สำหรับอาคารยุคเก่า กลุ่มแรกที่ควรได้รับการตรวจสอบ และวิเคราะห์ เป็นกลุ่มอาคารสาธารณะที่มีผู้คนใช้งานเป็นจำนวนมากเพื่อหาแนวทางป้องกัน และเสริมกำลังให้ต้านทานแผ่นดินไหวต่อไป ดร.ภาณุมาศ สรุปในตอนท้าย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พว.จับมือมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ประกาศผลรางวัลโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ พว.จับมือมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ประกาศผลรางวัลโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
  • สพฐ. เยี่ยมสนามสอบครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สพฐ. เยี่ยมสนามสอบครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ
  • บึงกาฬรวมพลัง \'Buengkan Zero Dropout\' ปักธงไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้กลางทาง บึงกาฬรวมพลัง 'Buengkan Zero Dropout' ปักธงไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้กลางทาง
  • เส้นทางปลูกปัญญาและกตัญญูคู่ความดี กับ\'สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 11\' 12 ชีวิตเล็กๆ บนเส้นทางธรรม...เมื่อโลกแห่งสติเริ่มต้นด้วยใจเด็ก เส้นทางปลูกปัญญาและกตัญญูคู่ความดี กับ'สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 11' 12 ชีวิตเล็กๆ บนเส้นทางธรรม...เมื่อโลกแห่งสติเริ่มต้นด้วยใจเด็ก
  • ผลเสี่ยงทาย! \'พระโคพอ-พระโคเพียง\'เลือกกินอะไร ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ2568 ผลเสี่ยงทาย! 'พระโคพอ-พระโคเพียง'เลือกกินอะไร ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ2568
  • ชี้ชัด! \'ปราสาทตาเมือนธม\' มิใช่ข้อพิพาท \'กรมศิลปากร\'ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานของไทยเมื่อ 90 ปีที่แล้ว ชี้ชัด! 'ปราสาทตาเมือนธม' มิใช่ข้อพิพาท 'กรมศิลปากร'ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานของไทยเมื่อ 90 ปีที่แล้ว
  •  

Breaking News

สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย

‘สมชัย’แนะ‘สว.’ไปตามหมายเรียก ดึงสติ‘ศักดิ์’กินไม่ได้ ‘โทษอาญา-ตัดสิทธิ’นั่นของจริง

ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ : ระหว่างวันที่ 11-17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

คุยกัน7วันหน : โป๊ปเลโอที่ 14 จะนำพาคริสตจักรคาทอลิกไปทิศทางใด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved