วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
คลินิกสิ่งแวดล้อม : ย้อนเหตุการณ์คดีรังสีโคบอลต์-60

คลินิกสิ่งแวดล้อม : ย้อนเหตุการณ์คดีรังสีโคบอลต์-60

วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : คลินิกสิ่งแวดล้อม
  •  

ย้อนไปเมื่อประมาณปี 2543 ในเหตุการณ์แพร่กระจายรังสีโคบอลต์-60 ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ รถเก็บของเก่าที่เรียกติดปากว่าซาเล้ง ได้เก็บเอาแท่งโคบอลต์-60 ที่ใช้ในเครื่องฉายรังสีทางการแพทย์ ไปตัดแยกแกะเอาชิ้นส่วนโลหะที่อยู่ภายในเพื่อชั่งกิโลขายเป็นของเก่า 

ซึ่งแท่งโลหะที่อยู่ภายในคือโคบอลต์-60 คือสารกัมมันตรังสี (radioactivemeterial) ซึ่งมีลักษณะคล้ายเหล็ก เมื่อแกะเอาวัสดุห่อหุ้มสารกัมมันตรังสีออก ส่งผลให้กัมมันตรังสีแพร่กระจายออกมาและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคลที่ทำงานและพักอาศัยในร้านรับซื้อของเก่าโดยมีอาการบวมที่นิ้วมือ อาเจียน ผมร่วง มีปริมาณเม็ดโลหิตขาวต่ำมาก โดยผู้เสียหาย ในขณะนั้นมีประมาณ 12 คน ได้เข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ


ซึ่งต่อมาอาการของผู้ป่วยรุนแรงมากขึ้น ผิวหนังไหม้เกรียม แผลพุพอง ซึ่งมีอาการคล้ายลักษณะของการถูกรังสีอย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในขณะนั้น จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและได้พบแท่งโลหะทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร 1 แท่ง คือ แท่งโคบอลต์-60 ซึ่งเป็นต้นเหตุในการแพร่กระจายรังสี หลังจากนำวัตถุดังกล่าวไปจัดเก็บในที่ปลอดภัยแล้ว

นอกจากนั้นประชาชนข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากรังสี ถูกนำตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาลหลายสิบราย ต่อมาผู้ที่ใกล้ชิดกับแท่งโลหะโคบอลต์-60 เสียชีวิตลงเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสเลือดบางรายต้องตัดนิ้วมือ

ในทางกฎหมายนั้นผู้เสียหายได้ดำเนินคดี 2 คดี คือ คดีปกครองและคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย

โดยในคดีปกครองนั้น ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (OAP) ในกรณีละเลยปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลการเก็บรักษาวัสดุกัมมันตรังสีและจัดการให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชน

ซึ่งศาลปกครองและศาลปกครองสูงสุดพิจารณาและพิพากษาว่าหน่วยงานดังกล่าวได้มีการละเลยปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการเก็บรักษาวัสดุกัมมันตรังสีและการจัดการให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชน ทั้งที่ทางโรงพยาบาลได้ทำหนังสือแจ้งเตือนกรณีขายเครื่องฉายรังสีโคบอลต์ให้บุคคลอื่นแต่หน่วยงานดังกล่าวมิได้ดำเนินการติดตามตามระเบียบและข้อบังคับ พร้อมกับให้หน่วยงานดังกล่าวชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายทั้งหมดรวมประมาณกว่า 5 ล้านบาท

ในส่วนของคดีแพ่งนั้น ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องบริษัท กมลสุโกศล อีเล็คทริค จำกัด กับพวก เพื่อเรียกค่าเสียหายต่อศาลแพ่งโดยในคดีแพ่งนั้นมีคำพิพากษาของศาลฎีกาถึงที่สุดในปีพ.ศ 2559 โดยในประเด็นแรกศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำของบริษัท เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อโจทก์ โดยการจัดเก็บในลักษณะปล่อยปละละเลย โดยจัดเก็บในลักษณะที่เป็นวัตถุไม่ใช้แล้วตามปกติธรรมดา มิได้ใช้ความระมัดระวังตาม

มาตรฐานในการจัดเก็บวัสดุกัมมันตรังสี แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจ ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลอื่นจึงถือว่าการกระทำของบริษัทเป็นการละเมิดอย่างร้ายแรง

ประเด็นต่อมาในเรื่องค่าเสียหายนั้น เนื่องจากในคดีปกครองศาลได้กำหนดค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายไปแล้วบางส่วนในคดีแพ่งศาลจึงกำหนดค่าเสียหายให้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทุกคนเพียงบางส่วน โดยพิจารณาจากยอดเงินที่ผู้เสียหายได้รับในคดีปกครองด้วย

ผ่านไปหลายสิบปีเหตุการณ์กลับมาวนอีกครั้งในรูปแบบของซีเซียม-137ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีในลักษณะโลหะอ่อนสีทองเงิน ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายคือเกิดความเสี่ยงในโรคมะเร็ง เมื่อวัตถุดังกล่าวถูกหลอมละลายและแพร่กระจายเป็นฝุ่นฟุ้งกระจายจะมีโอกาสแพร่ไปยังสิ่งแวดล้อมรอบข้างและปนเปื้อนในพืชหรืออาหารสูง 

สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกจากการแก้ไขปัญหาด้วยการเยียวยาค่าเสียหายตามผลของคำพิพากษาซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นคงสำคัญไม่น้อยไปกว่าวิธีการวางมาตรการป้องกันไม่ให้กรณีดังกล่าวเกิดซ้ำขึ้นอีกเรื่อยๆ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : กลุ่มกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติ คลินิกสิ่งแวดล้อม : กลุ่มกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติ
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : คานถล่มบนถนนพระราม 2 กับปัญหาทางกฎหมาย คลินิกสิ่งแวดล้อม : คานถล่มบนถนนพระราม 2 กับปัญหาทางกฎหมาย
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : ระเบียบใหม่ ป.ป.ช.ในการยื่น  บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรส คลินิกสิ่งแวดล้อม : ระเบียบใหม่ ป.ป.ช.ในการยื่น บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรส
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : กฎหมายว่าด้วยโรงแรม กับกรณีปล่อยเช่าคอนโดฯ คลินิกสิ่งแวดล้อม : กฎหมายว่าด้วยโรงแรม กับกรณีปล่อยเช่าคอนโดฯ
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : การทิ้งขยะมูลฝอยในที่ดินของตัวเอง คลินิกสิ่งแวดล้อม : การทิ้งขยะมูลฝอยในที่ดินของตัวเอง
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม : ปัญหาการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม คลินิกสิ่งแวดล้อม : ปัญหาการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  •  

Breaking News

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?

สำนักข่าวอิศราเปิดชื่อ 3 หมอโดนแพทยสภาสั่งลงโทษคดี 'ทักษิณ' ชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved