พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหาย นอกจากมีโทษทางอาญาที่รุนแรงแล้ว ยังมีส่วนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนไว้โดยมีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ นอกจากผู้เสียหายจะสามารถเรียกค่าเสียหายได้ตามหลักกฎหมายปกติแล้ว ยังกำหนดบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องแจ้งสิทธิเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อทราบด้วย และนอกจากนี้ยังกำหนดในกรณีที่ผู้เสียหายมีความประสงค์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนให้พนักงานอัยการเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหาย
ซึ่งเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการที่จะต้องแจ้งสิทธิ์ในการเรียกค่าสินไหมทดแทนและดำเนินการเรียกค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหายหรือประชาชนที่จะได้ทราบสิทธิเรียกร้องในการเรียกค่าสินไหมทดแทนของตนและยังอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียหายในการดำเนินการทางกฎหมายต่อไปด้วย
โดยมีรายละเอียดบัญญัติไว้ในมาตรา 33 เพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้เสียหายให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแจ้งให้ผู้เสียหายทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิและประสงค์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้พนักงานอัยการเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหายด้วย
ส่วนในละเอียดค่าสินไหมทดแทนนั้นแม้ไม่ได้บัญญัติไว้ชัดเจนตามกฎหมาย แต่สามารถใช้หลักการดั่งเช่นกรณีละเมิด อาทิ เกิดความเสียหายบาดเจ็บแต่ไม่เสียชีวิตค่าเสียหายที่เรียกได้เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลในอนาคตค่าขาดรายได้ ค่าเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ร่างกายไม่สามารถใช้ได้คงเดิมตามปกติรวมถึงค่าเสียหายอื่นตามกฎหมายหากเป็นกรณีเสียชีวิตก็จะมีค่าปลงศพค่าขาดไร้อุปการะ ค่าขาดแรงงาน เป็นต้น