มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี เปิด “ศูนย์สาธิตการจัดการเรียนรู้แบบ High Scope ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนำร่องแห่งแรกของภาคใต้” ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโคกเหล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อยกระดับขีดความสามารถและปิดช่องว่างทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่น ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ “High Scope” โดยมี นายปราโมทย์ ศรีวิสุทธิ์ ท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดงานผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการม.วลัยลักษณ์ และนายเกรียงศักดิ์ ผดุงกาญจน์ นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลไทยบุรี อาจารย์ ดร.พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ หัวหน้าสาขาวิชาครุศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ พร้อมด้วยคณะครู อาจารย์ บุคลากรในพื้นที่และผู้ปกครองร่วมงาน เมื่อกลางเดือนกันยายน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ กล่าวว่า การเป็น “ศูนย์สาธิตการจัดการเรียนรู้แบบ High Scope ในครั้งนี้ เป็นแห่งแรกของภาคใต้ เพื่อยกระดับขีดความสามารถและปิดช่องว่างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ “High Scope” สร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับการพัฒนาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ โดยจัดทำ Pilot project นำร่อง ตามแนวทางของโครงการด้วยกระบวนการอบรมและศึกษาดูงาน พร้อมทั้งทดลองดำเนินการจัดกิจกรรมการสอนตามแนวทาง High scope มีการเก็บข้อมูล การสำรวจสถานการณ์เด็กปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านแบบสำรวจความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษา
จากผลการดำเนินงาน ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโคกเหล็ก ผ่านการประเมินด้วยผลคะแนนกว่าร้อยละ 95 จากผู้ประเมินศูนย์อบรม High Scope ต้นแบบ “ไรซ์ไทยแลนด์” โรงเรียนสมานคุณวิทยาทาน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา มีทักษะ Executive Functions : EF หรือทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 นับเป็นการบูรณาการความร่วมมือที่นำมาสู่ผลงานเชิงประจักษ์ด้านการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่น และยังสอดคล้องกับตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายที่ 4 ความเสมอภาคทางการศึกษาอีกด้วย
“การจัดการเรียนการสอนแบบ “High Scope” เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้จากการลงมือทำผ่านการเล่น และสื่อกิจกรรมที่เหมาะสม
กับพัฒนาการตามวัยของเด็ก พร้อมเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและให้โอกาสเด็กมีความคิดริเริ่มในการออกแบบการเล่นได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระ ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเปียเจต์ นักการศึกษาคนสำคัญของโลก ซึ่งการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนเป็นพื้นฐานที่สำคัญ โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบลงมือทำ (Active Learning) ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง สร้างกระบวนการคิดและความเข้าใจมีองค์ความรู้และทักษะการแก้ปัญหาด้วยตนเอง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ กลาว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี