ในพื้นที่ข่าวที่เกี่ยวกับคดีความที่น่าสนใจในปัจจุบัน จะสังเกตเห็นได้ว่าหลายคดีผู้ต้องหามักจะไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว)ทั้งที่สิทธิของผู้ต้องหาโดยเฉพาะเกี่ยวกับประกันตัวนั้นเป็นสิทธิพื้นฐานที่บัญญัติไว้ตั้งแต่ในระดับกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายลำดับรองเช่นวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 108 ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ
(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้
ในส่วนคำสั่งที่ศาลจะพิจารณานั้นจะเป็นไปตาม มาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
(2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล
ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาไม่ว่าจะเป็นระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาคดีในชั้นศาลนั้นจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาคดีสามารถอุทธรณ์รวมถึงฎีกาคำสั่งได้โดยยื่นที่ศาลชั้นต้นโดยในคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวนั้นจะใช้เวลาไม่นานเหมือนอุทธรณ์ฎีกาคดี ซึ่งโดยหลักจะใช้ระยะเวลาอยู่ประมาณ 5-3 วัน
โดยส่วนมากในคดีที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นจะเป็นไปด้วยเหตุผล ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล
ซึ่งในทางปฏิบัติทนายความอาชีพนั้นจะสามารถที่จะประเมินผลแห่งการประกันตัวออก และจะไม่ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว หรือไม่ยื่นคำร้องปล่อยตัวชั่วคราวซ้ำ หากคดีอยู่ระหว่างสอบสวน จะปล่อยให้ล่วงระยะเวลาในชั้นสอบสวนและยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง ซึ่งข้อที่เป็นเหตุในการที่อาจจะเป็นอุปสรรคในชั้นสอบสวน ดังกล่าวก็จะหมดไป เหลือเพียงเหตุที่เป็นความมั่นคงแห่งหลักทรัพย์ประกัน รวมถึงพฤติการณ์หลบหนี ซึ่งปัจจุบันนี้มีระบบติดตามจากกำไรข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เป็นทางออกอีกทางหนึ่งให้ผู้ต้องหาซึ่งมีคดีโทษสูง ให้ได้มีโอกาสรับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณาคดีซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาหลายเดือนหรือแรมปีกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ต้องหา ให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจนถึงที่สุดว่าว่าเป็นผู้กระทำความผิด
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี