วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
‘อ.เจิมศักดิ์’มอง‘สว.’จากยุค‘เลือกตั้ง’ถึง‘เลือกกันเอง’ คาดหวังอิสระสุดท้ายไม่พ้นอิทธิพลการเมือง

‘อ.เจิมศักดิ์’มอง‘สว.’จากยุค‘เลือกตั้ง’ถึง‘เลือกกันเอง’ คาดหวังอิสระสุดท้ายไม่พ้นอิทธิพลการเมือง

วันศุกร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567, 15.22 น.
Tag : สว. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เลือกสว. นักวิชาการ
  •  

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ช่องยูทูบ “WATCHDOG CHANNEL” เผยแพร่คลิปวีดีโอ “หวั่น สว.67 ซ้ำรอยสภาผัวเมีย?” เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2567 ซึ่งเป็นคลิปที่ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) กรุงเทพฯ ให้ความเห็นกรณีการเลือก สว. ครั้งล่าสุดตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ว่า ก่อนจะไปถึงฉากสุดท้าย ก็จะต้องมีฉากก่อนสุดท้าย หมายถึงการเลือก ว่าจะออกมามีหน้าตาอย่างไร และฉากสุดท้ายคือเมื่อ สว. ชุดใหม่ได้ปฏิบัติงานแล้ว จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

ประการแรกคือฉากก่อนสุดท้าย เมื่อผลการเลือกออกมา ก็พอจะรู่ว่ามี สว. ที่ถูกจัดตั้ง หรือมีการฮั้วกัน มีการขนคนไปเพื่อให้ได้เลือกตามกติกา ซึ่งกติกาที่ให้เลือกกันเองนั้นเพี้ยน แต่ก็จะมีคนบริหารจัดการ ภาพที่เห็นคือค่ายนั้นค่ายนี้ส่งคนเข้าประกวด บ้านใหญ่ ผู้มีอิทธิพล พรรคการเมือง บ้างก็ส่งคนเข้าไปเพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์เลือก ทำตัวเป็นผู้ดีเข้าไปกันคนอื่นไม่ให้บล็อก แต่ตนเองเป็นคนบล็อก แต่ก็จะมีคนที่อิสระจริงๆ เข้าไปจำนวนหนึ่ง


ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าคนที่จะเข้าไปบริหารจัดการด้วยการฮั้วกัน เผลอๆ จะมีสักครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้นของสภา แต่เรื่องนี้ขอเดาไว้ก่อนและยังไม่ใช่ฉากสุดท้าย แต่สำหรับฉากสุดท้าย ตนขอใช้ประสบการณ์ที่เคยเป็น สว. ในยุคที่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งยุคนั้นใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 โดยตามหลักการแล้ว ทุกคนต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่สามารถหาเสียงได้ ทำได้เพียงการแนะนำตัว ในเวลานั้นแต่ละจังหวัดมีจำนวน สว. ไม่เท่ากัน เช่น กรุงเทพฯ มี 18 คน  อ่างทอง มี 1 คน หรือบางจังหวัดมี 5 คน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร

“คุณรู้ไหมว่าตอนผมเข้าไปใหม่ๆ ค่อนข้างเป็นอิสระ จะมีคนที่เป็นน้อง เป็นเมีย เป็นผัว เป็นพ่อ เป็นลูกของ สส. หรือนักการเมืองที่อยู่ในพรรคการเมือง จำนวนหนึ่ง อันนั้นคุณห้ามเขาไม่ได้ และพวกนี้ถามว่าจะถูกอิทธิพลของพรรคการเมืองไหม? ในระบบอุปถัมภ์ ในระบบเครือญาติ มีแน่!..แต่จำนวนหนึ่ง ผมเข้าไปใหม่ๆ เออ..มันก็ค่อนข้างอิสระพอสมควร และคิดว่ามันยังทำงานอะไรได้เยอะ” รศ.ดร.เจิมศักดิ์ กล่าว

รศ.ดร.เจิมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า จำได้ว่าการเลือกตั้ง สว. วันที่ 4 มี.ค. 2543 ตอนนั้นนายชวน หลีกภัย  เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงกลางปีมีการพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณ ซึ่งสำคัญมากเพราะหากร่างกฎหมายไม่ผ่านรัฐบาลก็เจ๊ง เช่น ต้องยุบสภา จำได้ว่าตนก็เป็นคนหนึ่งที่อภิปรายว่างบประมาณที่จัดมานั้นไม่ได้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำอย่างไรบ้าง ซึ่งเมื่อถึงเวลาต้องยกมือโหวต พบว่าคะแนนฝั่งเห็นชอบและไม่เห็นชอบเท่ากัน ต้องถึงขั้นให้ประธานลงมติเพื่อให้ร่างกฎหมายผ่านไปได้ ซึ่งโดยปกติหากรัฐบาลมีวิปหรือล็อบบี้ ร่างกฎหมายต้องผ่านอยู่แล้ว

นอกจากนั้น สว. ยังมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ เช่น กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยุคแรกๆ ที่พรรคการเมืองยังไม่ตั้งตัว ถือว่าทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี องค์กรอิสระก็ยังค่อนข้างเป็นอิสระ แต่หลังจากนั้นเมื่อพรรคการเมืองและนักการเมืองตั้งตัว ตามด้วยการเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ยศในขณะนั้น) ก็พบว่า สว. ที่เป็นอิสระค่อยๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ

ซึ่งตนที่อยู่ในสภาก็สังเกตดู ตั้งคำถามว่าเหตุใดความมีอิสระของ สว. น้อยลง โดยหากย้อนไปดูในอดีต เคยมียุคหนึ่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ไม่ถูกบังคับให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง ก็มีเรื่องเล่ากันว่ามีการไปเจรจาเสนอจ่ายเงินแลกการโหวตกันในห้องน้ำ กระทั่งตนได้เห็นของจริงในแวดวง สว. คือมี สว. ส่วนหนึ่งได้รับการอุปถัมภ์ บางคนได้แบบจ่ายรายครั้ง บางคนได้แบบจ่ายประจำเป็นรายเดือน และมีการสร้างหัวหน้าทีมขึ้นมาในหมู่ สว. ก็ทำให้ สว. เอนเอียงไปส่วนหนึ่ง

“ผมเล่าให้ฟังแต่แรก มันมีเครือญาติของนักการเมือง เครือญาติของ สส. อันนั้นพอเข้าใจได้ในระบบอุปถัมภ์ ไม่ได้เห็นด้วยแต่เข้าใจได้ว่ามันจะเกิดเหตุ คุณได้ตรงนี้อีกส่วนหนึ่ง ถัดมา สว. มีลูก มีภรรยา มีเครือญาติ กำลังจ่อจะเป็นอธิบดี กำลังจ่อจะไปทำงานต่างประเทศ เป็นทูต เป็นอะไรก็แล้วแต่ นักการเมืองในระบบบริหารัฐบาลเขาเก่ง ถ้าคุณอยากให้ลูกบรรลุผลในการที่จะขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งได้ คุณก็จะต้องทำอะไรที่ให้รัฐบาลพอใจ คุณก็จะเสียคนไปอีกจำนวนหนึ่ง ค่อยๆ เสียไป” รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ระบุ

รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า ช่วงที่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วต้องขายหุ้น ก็จะมี สว. จำนวนหนึ่งได้รับหุ้นในราคาพิเศษ เมื่อนำหุ้นไปขายแล้วก็ได้กำไร สว. กลุ่มนี้ก็จะเอาใจรัฐบาลเพื่อให้ได้หุ้นราคาดังกล่าว โดยสรุปก็คือสุดท้ายจะเหลือ สว. ที่ใจแข็งจริงๆ อยู่ไม่ถึง 50 คน และ สว. ประเภทนี้จะทำงานลำบาก เพราะการทำงานของสภาขึ้นอยู่กับคะแนนเสียงจากมือที่ยก ไม่ใช่จากเหตุผลที่แสดง ก็อยู่ที่ใครจะวิปอย่างไร ตนจำได้ว่ารัฐบาลยุคนั้นถึงกับส่งบุคคลมาเป็นผู้ประสานกับ สว. โดยเฉพาะ ขณะที่ฝั่ง สว. ก็จะมีผู้ประสานรายใหญ่อยู่ 2-3 จุด

หนึ่งในตัวอย่างที่ชี้ว่าการทำงานของ สว. ไม่เป็นอิสระ คือการเลือกกรรมการ ป.ป.ช. โดยรอบแรกเลือกมา 18 คน ก่อนจะคัดให้เหลือ 9 คน ขั้นตอนคือให้ สว. ไปลงคะแนนว่าจะเลือกใครบ้าง เป็นการลงคะแนนโดยลับ ตนก็นำกระดาษมาใบหนึ่ง เมื่อกรรมการขานว่าบัตรใบที่ 1 ลงคะแนนให้ใคร ตนก็ติ๊กไป เช่น เบอร์ 1 เบอร์ 3 เบอร์ 18 ฯลฯ รวบรวมให้ครบทุกคนแล้วมาดู ก็พบว่า มี สว. ที่เลือกบุคคลจำนวน 9 คน แบบใจตรงกันเป๊ะเกือบ 100 คน คำถามคือจะเป็นไปได้หรือที่คนจะใจตรงกันมากขนาดนี้

เมื่อตนทำเสร็จก็เดินออกมานอกห้องประชุม นำข้อค้นพบมาบอกสื่อ ซึ่งสื่อก็บอกว่าแบบนี้คือมีโพย และในที่สุด สว. ก็ไม่ได้เป็นอิสระจริงๆ ดังนั้นจากประสบการณ์ของตน ยอมรับว่ากลัว หากได้นักการเมืองที่หวังจะซื้อหรือครอบงำ สว. ก็คงทำได้ ดังนั้น สว. ที่เข้าไปเป็นอิสระปัจจุบันนี้ ที่จะยืนเป็นอิสระจริงๆ ต้องคงไว้ให้ดี อย่างวาระการเป็น สว. ในชุดของตน คือปี 2543-2549 ในช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนหมดวาระ ตนเข้าใจผิด เพราะพูดกับคนอื่นไว้ว่าเราเป็น สว. แล้วไม่สามารถเป็น สว. ต่อได้ หรือจะไปเป็น สส. ก็ไม่ได้ รัฐธรรมนูญเวลานั้นไม่อนุญาต

ดังนั้นตนจึงหวังว่า ช่วง 6 เดือนสุดท้าย การเป็น สว. จะทำหน้าที่อย่างอิสระกันจริงๆ แต่กลายเป็นว่าคนสนใจแต่ตนเอง ต้องหาทางเกาะผู้มีอำนาจ หรือให้คนในครอบครัวได้ตำแหน่งต่อ ความเป็นอิสระก็ไม่เกิดขึ้นจริงอีก สิ่งที่ตนอยากบอกคือ ความหวังที่จะให้ สว. ทำงานอย่างเป็นอิสระ จะได้เลือกคนมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ เพื่อให้องค์กรเหล่านั้นทำหน้าที่อย่างอิสระเพื่ออำนวยความยุติธรรม แต่เมื่อ สว. ไม่เป็นอิสระ ปัญหาก็ตามมาหมด องค์กรอิสระตกอยู่ใต้ผุ้มีอิทธิพลทางการเมือง ซึ่งมีใครบ้างก็คงจะเดากันได้

ส่วนคำถามว่า หากเป็นเช่นนั้นก็ให้ สว. สังกัดพรรคการเมืองไปเลยจะเป็นอย่างไร? ตนคิดว่า ทำแบบนั้นอย่ามีเลยดีกว่า เมื่อเทียบกับการเลือกโดยอาชีพซึ่งถูกซื้อได้ยาก หมายถึงการซื้อเพื่อให้ตนเองได้เป็น สว. แต่ไม่ใช่แบ่งกลุ่มอาชีพและโดยอาชีพ แบบ สว. ที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ที่กลายเป็นคนสมัครเลือกกันเองในแต่ละอาชีพ แต่แนวคิดที่ตนมองว่าควรทำ คือให้ประชาชนบอกว่าตนเองอยู่อาชีพไหน? จะอิงกับ 20 กลุ่มที่แบ่งตอนนี้ หรือจะกี่กลุ่มก็ได้ แล้วไม่ต้องอิงกับจังหวัด ให้อิงแต่เฉพาะกลุ่มอาชีพ แล้วให้คนในกลุ่มอาชีพนั้นทั้งประเทศเลือก แบบนี้ซื้อเสียงได้ยาก

“จะซื้ออย่างไร? 77 จังหวัด ประชาชนเลือกไม่ใช่ผู้สมัครเลือกกันเอง ถ้าอย่างนี้ยังน่าจะลองว่าเราจะได้บุคคลที่มีชื่อเสียง คนเด่นดังในแต่ละอาชีพ ยังพอหวังได้บ้างว่ามันคงจะซื้อและครอบงำยากหน่อย เพราะเขาเป็นตัวเด่นในแต่ละอาชีพ เป็นตัวแทนแล้วเข้ามาช่วยกรองกฎหมาย แต่ถ้าไม่ใช่อย่างนี้ ถ้าจะไม่มี สว. เลย ติดอยู่อันเดียว คุณจะเอาองค์กรอิสระสรรหามาจากไหน? ใครจะเป็นคนเลือก? หรือไม่ต้องมีองค์กรอิสระ? กลับไปเหมือนระบบเก่า ที่เราใช้คานอำนาจกันระหว่างศาล นิติบัญญัติและบริหาร คานอำนาจกัน อันนั้นก็จะต้องพูดกันต่อไป” รศ.ดร.เจิมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณเรื่องจาก : https://www.youtube.com/watch?v=X_Xyjv83v0o

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ด่วนที่สุด!!! ศาลรธน.สั่ง‘ทวี สอดส่อง’หยุดปฏิบัติหน้าที่ดูแล‘ดีเอสไอ’ เซ่นรับสอบ‘ฮั้วสว.’ ด่วนที่สุด!!! ศาลรธน.สั่ง‘ทวี สอดส่อง’หยุดปฏิบัติหน้าที่ดูแล‘ดีเอสไอ’ เซ่นรับสอบ‘ฮั้วสว.’
  • ‘ฮั้ว สว.’บาน! ‘ดีเอสไอ’เผยพบเครือข่ายขบวนการ‘อั้งยี่ฟอกเงิน’ 1,200 รายทั่วประเทศ ‘ฮั้ว สว.’บาน! ‘ดีเอสไอ’เผยพบเครือข่ายขบวนการ‘อั้งยี่ฟอกเงิน’ 1,200 รายทั่วประเทศ
  • ประธาน กกต.ยัน เรียก สว.รับทราบข้อกล่าวหา เป็นไปตามกฎหมาย ประธาน กกต.ยัน เรียก สว.รับทราบข้อกล่าวหา เป็นไปตามกฎหมาย
  • กกต.ออกหมายเรียกลอตแรกคดีฮั้ว 53สว.ขวัญผวา! ยกทัพปิดหมายหน้าบ้านพัก กกต.ออกหมายเรียกลอตแรกคดีฮั้ว 53สว.ขวัญผวา! ยกทัพปิดหมายหน้าบ้านพัก
  • ‘สว.โชคชัย’ ท่องไม่รู้-ไม่เห็นหมายเรียก ‘คดีฮั้วสว.’ ขอดูรายละเอียดก่อน ‘สว.โชคชัย’ ท่องไม่รู้-ไม่เห็นหมายเรียก ‘คดีฮั้วสว.’ ขอดูรายละเอียดก่อน
  • ปลัด มท. ยังไม่เห็นหนังสือ บุคคลอ้างเป็น DSI ขู่อดีตผู้สมัคร สว. กำชับทุกพื้นที่ ต้องไม่มีการแอบอ้าง ปลัด มท. ยังไม่เห็นหนังสือ บุคคลอ้างเป็น DSI ขู่อดีตผู้สมัคร สว. กำชับทุกพื้นที่ ต้องไม่มีการแอบอ้าง
  •  

Breaking News

(คลิป) 'จตุพร'เปลือยนิสัย'ทักษิณ' เล่าหมดเปลือกแผนหนี'ตระกูลชินวัตร'หากบอก ไม่หนี คือ หนี !!

มาทีมแรก!เพเซอร์สทุบแคฟส์คารังลิ่วชิงแชมป์สายNBA

ดับฝันขาโจ๋!!! 'พิชัย'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์

ตำรวจเตรียมนำตัว 'สจ.กอล์ฟ' พร้อมลูกน้องรวม 7 คนฝากขังต่อศาลจังหวัดสงขลา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved