คุณวรกร จาติกวณิช ภริยาอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรณ์ จาติกวณิช ได้เคยโพสต์ข้อความเอาไว้ตั้งแต่ต้นปี 2554 หลังจากที่สิ้นปี 2553 ผลสำเร็จของ “เช็คช่วยชาติ-ประกันรายได้เกษตรกร-ไทยเข้มแข็ง” สัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรม ตัวเลขเศรษฐกิจสมัยก่อนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาติดลบ 4% มีแนวโน้มจะกลายเป็นติดลบ 7% ในคำเตือนของข้าราชการว่า “หากรัฐบาลไม่ทำอะไรเลย” แต่ปรากฏว่า งานหนักสุดของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่เข้ามาในตอนนั้นคือ แก้วิกฤติเศรษฐกิจที่ลามมาจากวิกฤติการเงินโลก ไปพร้อมกับปัญหาการเมืองที่จัดตั้งโดยพรรคการเมืองคู่แข่ง..
ผลลัพธ์รูปธรรมที่ว่านั้นสิ้นปี 2553 การบริโภคกลับมาโตเป็นบวกแตะ 2 หลัก การส่งออกบวก 28.5% ทำให้ จีดีพีรวมทั้งประเทศโต 7.8% ย้ำอีกครั้งว่า ตัวเลขนี้คือ ผลสำเร็จของ “เช็คช่วยชาติ” ที่ช่วยปั๊มหัวใจให้ภาคการบริโภคกลับมาคึกคักมีชีวิตชีวา “ประกันรายได้ฯ” ช่วยให้ค่าครองชีพของเกษตรกรมั่นคง ขายข้าวได้ตามราคาคุณภาพ เป็นแชมป์ส่งออกข้าวทั้งในเชิงมูลค่าส่งออกและปริมาณ รวมไปถึง “ไทยเข้มแข็ง” ที่ลงทุนในโครงการขนาดเล็กและกลาง 20,000 โครงการทั่วประเทศไม่เลือกจังหวัด ไม่เลือกประเภท ที่ทำให้ภาคการลงทุนสดใส จนไทยรอดวิกฤติได้ไวสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
บทความนี้ คุณวรกร ได้เขียนเอาไว้เพื่อชี้แจงต่อนักวิชาการท่านหนึ่งที่เข้าในคลาดเคลื่อนในเนื้อหาหลักของ “เช็คช่วยชาติ” เราไปตามดูในรายละเอียดกันอีกครั้งครับ
“เช็คช่วยชาติ” เป็นการใช้เม็ดเงินจำนวนกว่า 18,000,000,000 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันล้านบาท) จุดประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 98.53% คิดเป็นเงิน 15,751,120,000 บาท ในสมัยที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลก เราไม่อาจหวังพึ่งต่างชาติได้เนื่องจากทุกแห่งก็มีปัญหาด้วยกันทั้งสิ้น รัฐบาลจึงต้องหาวิธีกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจภายในประเทศ
ดูง่ายๆ ตื้นๆ ก็เหมือนอย่างที่ถูกกล่าวหาว่า “กู้มาแจก” แต่ถ้ามองให้ผ่านอคติข้อนี้ไปว่าแจกไปเพื่ออะไรก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก การที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า “ไม่ได้เกิดผลอะไรตามมาเลยแม้แต่น้อย”นั้น คงจะเป็นความจริงถ้าประชาชนที่ได้รับเช็คช่วยชาติ นำเช็คไปขึ้นเงินแล้วนำไปฝังดินหรือเผาทิ้ง แต่การที่เขานำเงินที่ได้ไปใช้จ่าย ด้วยเม็ดเงินปริมาณหมื่นกว่าล้านบาทนั้น ย่อมมีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของชาติไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน และต่อข้อสงสัยที่ว่า ทำไมต้องเป็นกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะที่ได้รับเช็คมูลค่า 2,000 บาทนั้น คำตอบก็คือ คนกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มที่มีตัวตนจริงจากรายชื่อในระบบประกันสังคมว่า เป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้ระดับต่ำที่สุดของประเทศ
สิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพคือ ข่าวสารที่ปรากฏอยู่ในระดับนานาชาติว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในสามประเทศของโลกที่มีสัญญาณของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก่อนประเทศอื่นๆ
ข่าวจากสำนักข่าว Bloomberg เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553
23 Feb, 2010, 03.28AM IST,Bloomberg
Taiwan, Thailand exitrecession in the last quarter
TAIPEI: The Taiwan and Thailand exited recession last quarter andMalaysia probably followed, as Asian economies lead the globalrecovery. Taiwanese gross domestic product rose 9.2% in the fourthquarter from a year earlier and the Thai economy expanded 5.8%,according to reports on Monday. Malaysian figures for the three monthsto Deccember 31, due for release on February 24, may show GDPincreased 3.4% last quarter.
Asian economies are paving the way for a global recovery from theworst worldwide recession after central banks in the region slashedinterest rates to record lows and governmentsincreased spending bymore than $1 trillion. The strength of Asia’s rebound has seen policymakers lead the way in withdrawing stimulus.
“Asia’s recovery is at least two quarters ahead of the US and monetaryauthorities have been contemplating exit strategies for some time,”said David Carbon, head of economic research at DBS Group inSingapore. “With higher US rates on the cards, Asia’s central bankscan pursue their exit strategies with less to fear on the inflow andcurrency front.”
นอกจากเรื่องเช็คช่วยชาตินี้แล้ว ข้อวิพากษ์ต่างๆในบทความเรื่องประชาวิวัฒน์ : กรุงเทพวิบัติ ก็จะเป็นไปในทำนองว่า เป็นการแก้ปัญหา “ระยะสั้น” ให้กับคน “บางกลุ่ม” เรื่องนี้ดิฉันก็มีคำถามอยู่ในใจมานานว่า การแก้ปัญหาระยะสั้นมันไม่สำคัญที่จะต้องให้ความสนใจเลยหรืออย่างไร การแก้ปัญหาระยะยาวเป็นสิ่งที่ดีและควรจะมีนั้นเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ทราบ แต่ก็ใช่ว่าจะต้องละเลยการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือปัญหาเฉพาะหน้าไปเสียทุกครั้ง ส่วน “คนบางกลุ่ม” ที่ว่านั้น ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากคนกลุ่มที่เดือดร้อนจากปัญหาที่มีอยู่นั่นเอง แผนงานใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะถึงกับสามารถทำให้เกิดประเด็นข้อสงสัยว่าจะเป็นการหาเสียงได้นั้น ก็ยิ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า เป็นแผนงานที่น่าจะเป็นที่ถูกใจของคนส่วนใหญ่ เพราะถ้าถูกใจคนเพียงบางกลุ่มหรือคนส่วนน้อยก็คงไม่เป็นประเด็นเรื่องหาเสียงนี้ขึ้นมา แล้วเมื่อเป็นเช่นนั้น คำถามที่ดิฉันมีคือการที่ทำให้คนส่วนใหญ่พอใจนี้ มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรมในส่วนใดในเนื้อหาของโครงการหรือไม่ บางคนอาจจะมีข้อกล่าวหาว่า เป็นการ spoil คนส่วนใหญ่ ซึ่งก็มักจะมาจากผู้วิพากษ์วิจารณ์ที่คิดว่า ตัวเองเก่งกว่า ฉลาดกว่าผู้คนเหล่านั้น ดังเช่นที่ท่านอาจารย์นันทวัฒน์กล่าวว่า รัฐบาลกำลัง....สร้างความเข้าใจผิดๆ ให้กับ “ผู้อยู่อาศัย” ในประเทศนี้ที่กำลังเข้าใจกันว่า รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องให้เพียงอย่างเดียว รัฐสวัสดิการคือการให้.....แต่ยังมีความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งด้วยก็คือ ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษี....”
ดิฉันไม่แน่ใจว่า การใช้คำว่า “ผู้อยู่อาศัย” ของท่านอาจารย์นันทวัฒน์นั้น หมายถึงผู้ไม่เสียภาษี หรือที่เรียกว่า Free Riders หรือไม่ เพราะในบริบทที่พูดถึงการเสียภาษีในย่อหน้าเดียวกันนั้น อาจารย์จะใช้คำว่า “ประชาชน” ถ้าเป็นเช่นนั้นดิฉันคิดว่า ไม่เป็นการยุติธรรม เพราะประชาชนที่ถึงแม้จะไม่ได้เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นเพราะรายได้ของพวกเขาไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสีย เขาก็ยังมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ทุกครั้งที่มีการจับจ่ายซื้อสิ่งของ ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้เป็นรายได้หลักของประเทศไทย เป็นการจัดเก็บที่มีมูลค่าสูงสุด การไปเรียกเขาว่าเป็น “ผู้อยู่อาศัย” จึงไม่เป็นการสมควร เพราะคนไทยโดยส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมในการ contribute ให้กับประเทศชาติทั้งนั้น จึงควรถือว่าเป็น “เจ้าของ” ประเทศร่วมกันมากกว่า ยิ่งถ้า “ผู้อยู่อาศัย” ในความหมายของอาจารย์หมายถึงผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเสียภาษีไม่ว่าประเภทใดๆ เลยทั้งสิ้น บุคคลนั้นน่าจะต้องเป็นผู้ที่รัฐสมควรให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างยิ่งเสียมากกว่า
สาระสำคัญประการหนึ่งของความเป็น “รัฐสวัสดิการ” คือ การมุ่งเน้นถึงการมีโอกาสที่เท่าเทียมกันของคนในชาติ ซึ่งเป็นนโยบายที่เหมาะสมกับประเทศกำลังพัฒนาและมีประชากรที่ยากจนอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเราเริ่มต้นโดยการให้โอกาส สิ่งที่เราควรนำมาพิจารณาต่อไปคือ “สิ่ง” ที่ให้นั้นหรือ “วิธีการ” ที่ให้นั้น เหมาะสมหรือไม่มากกว่าที่จะมาเถียงกันว่า “ควร” ให้หรือไม่ เพราะการเป็นรัฐบาล ถ้าไม่คิดทำสิ่งใดเพื่อช่วยเหลือคนด้อยโอกาสก็ไม่สมควรที่จะอาสาเข้ามาทำงานบริหารประเทศ
แต่ละคนก็อาจจะมองไม่เหมือนกันว่า การทำงานควรเริ่มต้นที่จุดใดจุดหนึ่งก่อน รวมไปถึงวิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การทำงานทุกอย่างจะมีวิธีการที่ท่านคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่เพียงทางเลือกเดียว
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี