วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
‘ติดGPSรถส่วนบุคคล’ ความปลอดภัยvsเสรีภาพ

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาต้องเรียกได้ว่า “กลับมาเป็นที่ฮือฮา”กันอีกครั้งกับ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่คราวนี้ “ไอเดียบรรเจิด” เสนอแนะว่า “ควรติดเครื่องติดตามด้วยสัญญาณดาวเทียม(GPS) กับรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล”นอกเหนือจากเดิมที่กฎหมายให้ติดในรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งเรื่องดังกล่าวปรากฏเป็นข่าวเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2562

โดย รมว. คมนาคม อธิบายว่า “ให้เริ่มจากรถใหม่ก่อน” แล้วค่อยขยายไปยังรถเก่า อีกทั้งปัจจุบันราคาอุปกรณ์ GPS ก็ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท ขณะที่ค่าบริการ GPS รายเดือนอยู่ที่เดือนละ 300 บาท ทั้งนี้หากทำได้จริง เชื่อว่า “ได้ประโยชน์ถึง 2 ต่อ” ไม่ว่าจะเป็น1.ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะสามารถควบคุมความเร็วรถและตรวจสอบข้อมูลการขับขี่ได้ หรือ 2.ป้องกันอาชญากรรม เช่น การโจรกรรมรถ


“หากเราติด GPS กับรถได้ครบทุกประเภท เราจะกำกับดูแลการใช้รถใช้ถนนได้หมด ประเทศไทยจะเป็นประเทศในแรกที่ทำแบบนี้ ไม่มีอะไรเป็นของฟรีในโลก แต่เรากำลังชั่งน้ำหนักว่า สิ่งที่จะนำมาใช้จะเกิดประโยชน์อย่างไร ทั้งนี้ขอหารือกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนในเดือนนี้หากต้องออกเป็นกฎกระทรวงบังคับใช้คงต้องใช้เวลาอีก 6 เดือนหรือถ้าเป็นกฎหมายต้องใช้เวลาเป็นปี แต่เราต้องกล้านับ 1 คาดว่าภายใน 1 ปี จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องนี้”นายศักดิ์สยาม กล่าว

แต่เรื่องนี้ “สำหรับประชาชนแล้วดูท่าจะไม่เอาด้วย” เห็นได้จากทันทีที่แนวคิดของ รมว.คมนาคม ปรากฏเป็นข่าวบนโลกออนไลน์ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทันที ทั้งในแง่ “การที่ประชาชนต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น” แม้จะเดือนละ 300 บาท ก็ถือว่าไม่สมควร รวมถึง “สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล” ประชาชนคงไม่สบายใจที่ภาครัฐสามารถรับรู้ได้ว่าแต่ละคนเดินทางไปไหน

ซึ่งต้องย้ำว่า “ประเด็นสิทธิส่วนบุคคลนั้นเป็นเรื่องใหญ่มากในสังคมที่ให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน” เห็นได้จาก สหรัฐอเมริกา ที่มีกรณีอื้อฉาวเมื่อเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ออกมาเปิดเผยว่า“สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) แอบเก็บข้อมูลการสื่อสารของประชาชนทั้งโทรศัพท์มือถือและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)” ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ภาครัฐในหมู่ชาวอเมริกันอย่างกว้างขวาง

ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและการเสียชีวิต วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ให้ความเห็นว่า การใช้ระบบ GPS มาวิเคราะห์การจราจรสามารถทำได้ แต่ก็ต้องลงทุน เช่น นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยประมวลผลข้อมูลมหาศาล หรือใช้ในด้านปราบปรามอาชญากรรม ก็จะเห็นการจับสัญญาณจากโทรศัพท์มือถือที่คนร้ายใช้ว่าโทร.มาจากที่ใด เป็นต้น

“ปัญหาใหญ่คือมันกลับมาที่เรื่องความเป็นส่วนตัว (Personal Privacy) หรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อย่างในรัฐธรรมนูญก็กำหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการพูด ในการเดินทางโดยปราศจากการคุกคาม ทีนี้ถ้ามีคนมาคอยมอง (Monitor) คอยติดตามเรา เฮ้ย!..หมอนี่ไปไหน แต่ถ้ามีเหตุให้ควรสงสัยก็ต้องอาศัยอำนาจศาล เช่น ขอหมายค้น” ปธ.คณะอนุกรรมการสาขาการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและการเสียชีวิต วสท. กล่าว

อาจารย์พิชัย ยกตัวอย่างกรณีศาลสูง (หรือศาลฎีกา)ของสหรัฐฯ เคยมีคำวินิจฉัยว่า “การใช้ GPS ติดตามบุคคลถือว่าเป็นการค้นซึ่งต้องมีหมายค้น” หลังเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐไปแอบติดตั้ง GPS ในรถยนต์ของบุคคลต้องสงสัยว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติด ซึ่งแม้จะนำไปสู่การจับกุมได้จริง แต่ท้ายที่สุดศาลก็ตัดสินยกฟ้องเพราะถือว่าเจ้าหน้าที่ได้หลักฐานมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้การติด GPS ในรถโดยสารสาธารณะนั้นรัฐมีเหตุผลฟังได้เพราะต้องควบคุมความปลอดภัยให้กับผู้ที่โดยสารรถเหล่านั้น เช่น รถประจำทาง รถตู้ รถแท็กซี่ แต่กรณีรถยนต์ส่วนบุคคลนั้นสุ่มเสี่ยงที่จะไปคล้ายกับนิยายเรื่อง “1984” ซึ่งเขียนโดย จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) เล่าเรื่องประเทศสมมุติแห่งหนึ่งที่รัฐบาลมีกลไกเรียกว่า “บิ๊กบราเธอร์ (Big Brother)” คอยสอดส่องพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของประชาชนอยู่ตลอดเวลา

อาจารย์พิชัย กล่าวต่อไปว่า ในบางประเทศอาจทำได้เพราะเป็นเผด็จการเต็มที่ แต่ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย ยังมีวิธีอื่นที่จะป้องกันอาชญากรรม เช่น คัดกรองผู้ต้องสงสัยกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มที่มีประวัติ หากประเทศไทยมี 70 ล้านคน กลุ่มนี้คงมีไม่ถึง 1 ล้านคน หากเป็นกรณีล่อแหลมจริงๆ ค่อยขอหมายศาลเพื่อใช้เทคโนโลยีในการเฝ้าติดตาม ซึ่งปัจจุบันก็มีกฎหมายอยู่แล้ว อนึ่ง “แนวคิดของ รมว.คมนาคม อาจต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วยว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่” ดังที่ในต่างประเทศก็เคยมีการยื่นขอให้ศาลสูงตีความเช่นกัน

ส่วนเรื่องการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน “รัฐควรสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนหลักสูตรขับขี่ปลอดภัย โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ที่เป็นพาหนะหลักในชีวิตประจำวันของคนไทย แต่กลับมีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติน้อยมาก” จนทำให้สถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย เกิดกับมอเตอร์ไซค์ถึงร้อยละ 70 รัฐควรสนับสนุนให้เกิดการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นก่อนที่จะอนุญาตให้สอบใบขับขี่ ซึ่งใน ออสเตรเลีย ก็ใช้หลักการนี้

“รถยนต์ก็เช่นกัน การเรียนการฝึกควรทำในสภาพความเป็นจริงให้มากขึ้น เช่น พาไปขับบนทางด่วนไม่เช่นนั้นเขาก็ขับผิดๆ ถูกๆ ไปหัดเองขึ้นทางด่วนครั้งแรกก็ประสบเหตุ รวมถึงสอนการขับในเวลากลางคืน การขับขณะฝนตกเพราะถนนมันจะลื่น ในต่างประเทศเขาทำอย่างนี้หมดสอนตามจริง เรียนรู้จากของจริง อย่างมีคนโชว์ให้เห็นว่าฝนตกควรจะลดความเร็วอย่างไร หรือขับบนทางด่วนไม่ใช่ขับไปจี้ท้ายเขาเรื่อยๆ แถมยังสอนขับขึ้นเนิน-ลงเขาอีกต่างหากเพราะเขามีบ้านในชนบทที่ต้องขับขึ้น-ลง เขาจะสอนว่าต้องใส่เกียร์อย่างไร” อาจารย์พิชัย กล่าว

ในเวลาต่อมาซึ่งต้องบอกว่า “แค่ข้ามวัน” บ่ายวันที่ 22 ต.ค. 2562 มีรายงานว่า รมว.คมนาคม ชี้แจง “ติด GPS รถส่วนบุคคลเป็นเพียงแนวคิด” โดยต้องทำการศึกษาไปอีก 1 ปี ขณะที่ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ยังต้องรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และไม่สร้างภาระให้กับประชาชน ซึ่งผลการศึกษาอาจนำไปสู่การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” หยิบเรื่องนี้มาเล่าเพราะอยากถามท่านผู้อ่านว่า “รับได้ไหม” กับระบบข้างต้นที่ป้องกันอุบัติเหตุและอาชญากรรมได้ (ค่อนข้าง) สมบูรณ์เพราะรัฐตรวจจับได้ล่วงหน้า..แต่ก็ต้องแลกกับการที่ประชาชน (อาจ) ถูกรัฐสอดส่องพฤติกรรมอยู่ตลอดเวลา!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:07 น. คอนเสิร์ตนั่งใกล้ 'เจ เจตริน'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว
12:03 น. รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
12:00 น. ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
11:55 น. 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
11:55 น. กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง
ดูทั้งหมด
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
นักการเมิอง มนุษย์ประเภทไหน
ทางออกที่ไม่มีใครได้อะไรเต็ม 100% แต่ประเทศชาติไม่ตกหุบเหววิกฤต
บุคคลแนวหน้า : 7 กรกฎาคม 2568
บทบรรณาธิการ 7 กรกฎาคม 2568
งกครองโลก (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง

80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ

‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่

'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.

ศาลฎีกาสั่งคุกตลอดชีวิต! มือวางระเบิดใกล้ศาลทวดสะบ้าย้อย ปี63

  • Breaking News
  • คอนเสิร์ตนั่งใกล้ \'เจ เจตริน\'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว คอนเสิร์ตนั่งใกล้ 'เจ เจตริน'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว
  • รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
  • ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น\'ใบเตย\'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า\'ดีเจแมน\'ให้กำลังใจ ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
  • 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
  • กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved