วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
วิวัฒนาการ‘การท่องเที่ยว’ กับรัฐแบบ‘รวมศูนย์อำนาจ’

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอนำเรื่องเล่าจากรศ.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัลย์ อาจารย์สาขาวิชาสังคมศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในเวทีเสวนา “เมืองเถียงได้”ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เมื่อสุดสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ต.ค. 2562 มาเล่าต่อกับท่านผู้อ่าน เกี่ยวกับ “ประวัติศาสตร์ภาคการท่องเที่ยวไทย” ที่มีวิวัฒนาการมาหลายยุคสมัย กว่าจะเป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน

อาจารย์ภิญญพันธุ์ เล่าว่า ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวไทยเริ่มต้นมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยุคแรกๆ นั้นยังเป็นกิจกรรมของชนชั้นนำ “การท่องเที่ยวเริ่มถูกส่งเสริมแบบอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา” โดยเฉพาะในช่วง “สงครามเย็น” ที่โลกแบ่งขั้วเป็นฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตย อันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียต (รัสเซีย) และสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นแกนนำ สมรภูมิสำคัญที่หนึ่งคือ “สงครามเวียดนาม” ซึ่งไทยในเวลานั้นให้สหรัฐฯ มาตั้งฐานทัพสำหรับส่งทหารไปสู้รบ


“อเมริกาเห็นไทยเป็นโอเอซิส (Oasis) ในช่วงที่ลาวและกัมพูชาตกเป็นของคอมมิวนิสต์ ไทยจึงเป็นแหล่งน้ำที่นำไปสู่การเอาชัยชนะจากคอมมิวนิสต์ แต่คนไทยเห็นว่าการท่องเที่ยวนั้นอยู่กับความสำเร็จที่การเข้าถึงจิตใจคนอเมริกันที่จะมาท่องเที่ยว และคิดว่าการท่องเที่ยวจะทำให้ไทยมีตำแหน่งที่บนโลกใบนี้โดยเฉพาะในโลกเสรีอาจกล่าวได้ว่าทศวรรษ 2500 เป็นการยกระดับการท่องเที่ยวไทยเข้าสู่ตลาดโลกอย่างเต็มตัว โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มหาศาลมากๆ

ปี 2502 เราตั้งหน่วยงาน อ.ส.ท. (องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ที่ทุกวันนี้คือ ททท. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) อนุสาร อ.ส.ท. ที่เราอ่านกันก็เป็นผลผลิตของ อ.ส.ท. เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อด้วยซ้ำเราพบว่า อ.ส.ท. ลงไปในพื้นที่ชนบท พร้อมกับหน่วยป้องกันคอมมิวนิสต์ เอาหนังแสดงความเป็นไทยไปฉายให้รู้สึกมีอุดมการณ์รักชาติ อ.ส.ท. ในเวลาต่อมาจะเปลี่ยนเป็นททท. ในทศวรรษ 2520 ขยายอำนาจจัดการการท่องเที่ยวมีการสร้างแผนพัฒนาการท่องเที่ยว จัดกิจกรรมแสงสี เสียง เกิดขึ้นมหาศาล” อาจารย์ภิญญพันธุ์ กล่าว

อาจารย์ภิญญพันธุ์ เล่าต่อไปว่า “ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น เมืองของแต่ละจังหวัดเป็นที่มั่นสำคัญ”เพราะเป็นทั้งย่านการค้า จุดเชื่อมต่อการเดินทาง รวมถึงศูนย์กลางอารยธรรม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ยุคคือ 1.ยุคสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ (ก่อนทศวรรษ 2520) รัฐไทยปกป้องและเฝ้าระวังพื้นที่เมืองจากแนวร่วมฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่อยู่ในชนบท “สถานที่ท่องเที่ยวหลักๆ ในยุคนี้คือวัดและวังของเมืองต่างๆ” และการส่งเสริมของภาครัฐจะเน้นไปที่ศิลปวัฒนธรรมของชนกลุ่มหลักเพราะมีพลังมากกว่าชนกลุ่มน้อยในเมืองนั้นๆ

อนึ่ง “เรื่องเล่าของการท่องเที่ยวในอดีตยังกล่าวถึงผู้หญิงท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นปัญหาหากมาทำอย่างเดียวกันในปัจจุบัน” เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับ“สาวเชียงใหม่-สาวเรณูนคร” ขณะเดียวกัน “การเข้ามาของฐานทัพสหรัฐฯ ทำให้ธุรกิจบันเทิงยามราตรีในประเทศไทยเบ่งบาน” เกิดย่านขึ้นชื่ออย่าง “พัฒน์พงศ์” ในกรุงเทพฯ “พัทยา” ใน จ.ชลบุรี รวมถึงอีกหลายจังหวัด “การขายบริการทางเพศก็เกิดขึ้นมากและสร้างรายได้มหาศาล แมสังคมไทยจะปฏิเสธการมีอยู่ของอาชีพ
ดังกล่าว” และปฏิเสธตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ก็ตาม

2.ยุคหลังสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ (ตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา) เมื่อกำลังของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) อ่อนลงจนไม่อยู่
ในสถานะเป็นภัยคุกคามอีกต่อไป พื้นที่ป่าหรือชนบทที่เคยถูกระบุว่าเป็น “พื้นที่สีแดง” เพราะมีการสู้รบระหว่างกองทัพรัฐบาลไทยกับ พคท. ถูกอธิบายใหม่ว่าเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” สามารถเปิดให้คนทั่วไปเข้าไปท่องเที่ยวได้แล้ว

“ในทศวรรษ 2530 ต้นๆ เกิดสิ่งที่เรียกว่าคำขวัญประจำจังหวัดขึ้นมา เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดและใครก็แล้วแต่ที่มีอิทธิพลในจังหวัด สร้างคำขวัญขึ้นมา คำขวัญประจำจังหวัดที่เราท่องกันทุกวันนี้มันเกิดขึ้นเพื่อการท่องเที่ยวล้วนๆ มันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอัตลักษณ์ความเป็นจังหวัดอย่างที่เรานึกว่ามันเก่าแก่ มันเพิ่งเกิดขึ้น 30 ปีมานี้เอง” อาจารย์ภิญญพันธุ์ ระบุ

ต่อมา “ในทศวรรษ 2540 ที่เริ่มต้นด้วยวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง” กระแสการท่องเที่ยวยุคนี้เริ่มหันไปสู่“การโหยหาอดีตและการกลับบ้านเกิด” ทำให้รัฐบาลไทยชูโครงการ “อเมซิ่งไทยแลนด์ (Amazing Thailand)” ในปี 2542 ขณะที่ “ถนนคนเดิน” เกิดขึ้นมากตั้งแต่ปี 2545ตั้งแต่ย่าน “สีลม” ในกรุงเทพฯ “ประตูท่าแพ” ใน จ.เชียงใหม่ และขยายไปทั่วประเทศ “การเกิดขึ้นของถนนคนเดินทำให้เมืองมีการใช้พื้นที่หลากหลาย และส่งเสริมอัตลักษณ์ของตนเองมากขึ้น” อีกทั้งยังทำให้การท่องเที่ยวไม่จำกัดเฉพาะฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) อีกต่อไป

ประเด็นสุดท้าย อาจารย์ภิญญพันธุ์ สรุปว่า “นโยบายการท่องเที่ยวของไทยเป็นแบบรวมศูนย์” เน้นการขับเคลื่อนจากบนลงล่าง เช่น “กระทรวงมหาดไทยประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่ใช่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มาจากการเลือกตั้ง” รวมถึงการก่อตั้ง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี 2545 ตลอดจน แผนแม่บทการพัฒนาและอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ ในปี 2525

อย่างไรก็ตาม “รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ซึ่งส่งเสริมการกระจายอำนาจ เป็นก้าวแรกที่ทำให้ อปท. มีบทบาทร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวมากขึ้น” แน่นอนว่า “อปท. ก็ต้องลองผิดลองถูกจากความไม่เข้าใจเรื่องการทำงานร่วมกับชุมชน” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เช่นกรณี “ป้อมมหากาฬ” ที่ผลการต่อสู้กว่า 2 ทศวรรษจบลงด้วยชุมชนเก่าแก่ต้องย้ายออกไปแล้วแทนที่ด้วยสวนสาธารณะ ขณะที่ “ทั้ง 50 เขตใน กทม.ซึ่งเทียบได้กับอำเภอ ผู้อำนวยการเขตไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” จึงไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชนในพื้นที่

แต่ถึงการกระจายอำนาจชะงักไปตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 ก็ไม่อาจหยุด “กระแสของท้องถิ่น”ได้อีกแล้ว!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:20 น. ‘โฆษก ภท.’ตบปาก‘ทอม เครือโสภณ’ หยุดวิจารณ์การเมืองสมอ้าง‘หัวหน้าพรรค’
12:18 น. ปิดลงทะเบียน'เที่ยวไทยคนละครึ่ง' เตรียมย้ายไปแอปฯทางรัฐ
12:13 น. 'พิชิต'ชวนจับตา! 'ทักษิณ' ให้ 'ภูมิธรรม' นั่ง มท.1 ชนวนใหม่รอวันจุด ปม'ที่ดินอัลไพน์'
12:09 น. ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’
12:03 น. รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘โฆษก ภท.’ตบปาก‘ทอม เครือโสภณ’ หยุดวิจารณ์การเมืองสมอ้าง‘หัวหน้าพรรค’

ปิดลงทะเบียน'เที่ยวไทยคนละครึ่ง' เตรียมย้ายไปแอปฯทางรัฐ

ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’

(คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112

  • Breaking News
  • ‘โฆษก ภท.’ตบปาก‘ทอม เครือโสภณ’ หยุดวิจารณ์การเมืองสมอ้าง‘หัวหน้าพรรค’ ‘โฆษก ภท.’ตบปาก‘ทอม เครือโสภณ’ หยุดวิจารณ์การเมืองสมอ้าง‘หัวหน้าพรรค’
  • ปิดลงทะเบียน\'เที่ยวไทยคนละครึ่ง\' เตรียมย้ายไปแอปฯทางรัฐ ปิดลงทะเบียน'เที่ยวไทยคนละครึ่ง' เตรียมย้ายไปแอปฯทางรัฐ
  • \'พิชิต\'ชวนจับตา! \'ทักษิณ\' ให้ \'ภูมิธรรม\' นั่ง มท.1 ชนวนใหม่รอวันจุด ปม\'ที่ดินอัลไพน์\' 'พิชิต'ชวนจับตา! 'ทักษิณ' ให้ 'ภูมิธรรม' นั่ง มท.1 ชนวนใหม่รอวันจุด ปม'ที่ดินอัลไพน์'
  • ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’ ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’
  • รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved