วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
ข่าวปลอมกับสังคมดราม่า

ดูทั้งหมด

  •  

“ข่าวปลอม (Fake News)” เป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ด้วยความที่ทุกวันนี้ใครจะนำเสนออะไรก็ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ หลายครั้งสิ่งที่นำเสนอหรือบอกต่อมักเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะเดียวกันก็ยังมีปัญหา “สังคมอุดมดราม่า”ผู้คนพร้อมจะแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและสาดอารมณ์ทะเลาะเบาะแว้งกันได้ทุกเรื่อง “เมื่อทั้ง 2 เรื่องมาเจอกัน..โลกออนไลน์ของไทยจึงดูน่ากังวล” นำมาสู่ความพยายามควบคุมหรือกำกับดูแล

ที่งานเสวนา “ข่าวเท็จบนโลกอินเตอร์เนต 4.0 ในมิติทางกฎหมาย” ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆ นี้ “ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ อดีตผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า “สื่อออนไลน์มีประโยชน์ต่อการสร้างความเป็นประชาธิปไตย” ในหลายประการ เช่น 1.มีพื้นที่แสดงความคิดเห็นมากขึ้น จากในอดีตต้องเขียนจดหมายส่งไปยังสำนักข่าวหลัก (หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์) และหวังว่าจะได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อนั้น แต่ทุกวันนี้ทุกคนสามารถแสดงออกผ่านพื้นที่สื่อออนไลน์ได้ทันที


2.เมื่อไม่ต้องใช้ชื่อจริง..คนก็กล้าพูดความจริงมากขึ้น สำหรับนักการเมืองนี่เป็นเรื่องสำคัญเพราะจะได้รู้ว่าประชาชนคิดอย่างไร 3.ประชาชนมีอำนาจกำหนดประเด็นที่ควรเป็นข่าวสารมากขึ้น จากเดิมที่สื่อมวลชนจะเป็นผู้กำหนด อาทิ ข่าวใดควรขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์ หรือควรอยู่ในข่าวภาคค่ำก่อนละคร ซึ่งบางครั้งการเป็นหรือไม่เป็นข่าวอาจมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันหลายเรื่องมาจากการจุดประเด็นบนสื่อออนไลน์ อาทิ นาฬิกาหรูของผู้มีอำนาจ หรือเสือดำต้องไม่ตายฟรี พบว่าอยู่ในความสนใจอย่างต่อเนื่องยาวนาน

พริษฐ์ กล่าวต่อไปว่า “เมื่อพูดถึงข่าวปลอม-ข่าวเท็จ (Fake News) ขอให้เข้าใจตรงกันก่อนว่าหมายถึงข้อมูลที่ขัดกับความเป็นจริง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการแสดงความคิดเห็น” อย่างไรก็ตาม “ข้อเท็จจริงหลายครั้งก็ไม่ได้มีแต่ขาว-ดำ แต่ซับซ้อนกว่านั้น” เช่น ใครคนหนึ่งกุข่าวขึ้นมาว่าเพื่อนค้ายาเสพติด แต่ความจริงแล้วไม่ได้ทำเช่นนั้น แบบนี้เป็นข่าวปลอมชัดเจนตัดสินได้ง่าย

“สมมติมีนักการเมืองคนหนึ่งบอกว่าจะนำนักโทษที่หนีไปต่างประเทศกลับบ้านมาดำเนินคดี ถ้าตัดประโยคนี้ไปแปะในข่าวก็จะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยตามความคิดเห็นทางการเมือง แต่ถ้าตัดเหลือคำว่าจะนำนักโทษที่หนีไปต่างประเทศกลับบ้าน ความหมายเปลี่ยนทันที ถามว่าปลอมไหม มันก็ไม่ปลอมเสียทีเดียวตรงที่เขาก็พูดคำนั้นจริงๆ เพียงแต่คำที่ตามมามันทำให้คำก่อนหน้านั้นเปลี่ยนความหมาย ในฐานะนักการเมืองจึงต้องพยายามมากในการใช้คำพูด เพื่อไม่ว่าคุณจะตัดส่วนไหนออกไปความหมายจะไม่เปลี่ยน” พริษฐ์ ยกตัวอย่าง

อีกตัวอย่างหนึ่ง “เมื่อนักการเมืองถูกถามว่าถ้าให้เลือกนโยบายที่จำเป็นที่สุดในการพัฒนาประเทศ และถูกสื่อถามจี้ให้ตอบเพียงเรื่องเดียว” เช่น ให้เลือกระหว่างแก้รัฐธรรมนูญกับแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง ถ้านักการเมืองตอบว่าขอแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องก่อน สื่ออาจนำไปตีความว่านักการเมืองคนนั้นไม่ให้ความสำคัญกับการแก้รัฐธรรมนูญก็ได้ ซึ่งไม่ได้ตัดต่อเปลี่ยนแปลงคำพูด แต่พยายามทำให้ความหมายที่ผู้พูดต้องการถูกบิดเบือนไป

และต้องบอกว่า “ผู้ปล่อยข่าวลือก่อนมักได้เปรียบผู้ชี้แจงตามหลัง” เช่น คน 2 คน ทะเลาะกัน คนแรกปล่อยข่าวลือที่เป็นเท็จบนโลกออนไลน์ ผ่านไปหลายชั่วโมง คนหลังเพิ่งรู้ตัวก็มาโพสต์ชี้แจง “ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าข่าวชี้แจงคนจะเห็นมากเท่าข่าวปลอมที่ถูกปล่อย” ยังไม่ต้องพูดถึง “คำถามในใจว่าเป็นการแก้ตัวหรือเปล่า” และแม้ท้ายที่สุดข่าวปลอมจะถูกลบออกไปแล้ว แต่การที่ใครคนหนึ่งถูกตั้งคำถาม ผลร้ายต่อคนคนนั้นก็ยังอาจตามมา

พริษฐ์ตั้งประเด็นชวนคิด “เหตุใดข่าวปลอมถึงเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่น”ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ 1.คนไทยเสพข่าวผ่านสื่อออนไลน์มากกว่าอีกหลายๆ ประเทศ 2.สัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น คนกลุ่มนี้อาจไม่รู้เท่าทันข่าวปลอมมากเท่าคนที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี และ 3.การหารายได้ผ่านสื่อออนไลน์ โดยผู้ที่ตัดสินใจว่าจะจ่ายเงินซื้อพื้นที่ลงโฆษณาในสื่อนั้นหรือไม่จะเลือกจากยอดการกดเข้าไปดู (Click) ว่ามีมากเพียงใด นำไปสู่การพาดหัวให้ดูหวือหวาไว้ก่อนเพื่อปั่นยอดคลิกให้สูง

“เวลาเราใช้สื่อออนไลน์ ก็คือการปลดปล่อยผ่อนคลาย ฉะนั้นอะไรก็ตามที่มันไปกระตุกอารมณ์ไม่ว่าโกรธ โมโห เศร้า หัวเราะ มันจะเรียกปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากกว่าด้านอื่น พอเห็นแบบนี้สำนักพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ โพสต์ข่าวลงไปในช่องทางออนไลน์ก็จะพยายามใช้
คัดเลือก หรือเขียนเนื้อหาให้ดึงดูดอารมณ์เหล่านั้น ซึ่งมันล่อแหลมต่อการบิดเบือนเจตนาของข้อเท็จจริงมากกว่าปกติ” พริษฐ์อธิบาย

ท้ายที่สุดแล้ว “ข่าวปลอมจะยิ่งเป็นปัญหามากในสังคมที่มีความแตกแยก” เช่น ความแตกแยกด้านความชอบ-ไม่ชอบในพรรคการเมือง ความแตกแยกด้านช่วงวัยที่แตกต่างกัน ซึ่งสังคมไทยก็เป็นสังคมหนึ่งที่มีความแตกแยกสูง “แล้ว ใครควรจะแก้ปัญหาข่าวปลอม”
ซึ่งพริษฐ์เห็นว่า “ผู้ทำหน้าที่รับมือข่าวปลอมควรห่างจากรัฐบาลให้มากที่สุด” เพราะต้องยอมรับว่าในหลายๆ ครั้ง รัฐบาลก็มีส่วนได้-เสียทางการเมืองกับข่าวปลอมเช่นกัน

เช่น เมื่อสื่อมวลชนนำข้อมูลที่ได้มาไปถามผู้มีอำนาจ อาจถูกตอบกลับมาว่าข้อมูลนั้นเป็นของปลอม คำว่าข่าวปลอมจึงถูกใช้เป็นประเด็นทางการเมือง หรือบางประเทศถึงขั้นลงมือผลิตข่าวปลอมเองเสียด้วยซ้ำไปเพื่อเพิ่มคุณค่าให้นโยบายฝ่ายตนและลดทอนคุณค่าของฝ่ายค้าน“มี 2 กลุ่ม ที่ควรแสดงความรับผิดชอบให้มากขึ้น” กลุ่มแรก คือ ผู้ให้บริการพื้นที่สื่อออนไลน์ การลงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองต้องเปิดเผยได้ว่าใครเป็นผู้จ่ายเงินซื้อพื้นที่โฆษณา โดยเฉพาะช่วงมีการเลือกตั้ง เพื่อที่ประชาชนจะได้รู้ว่าใครมีผลประโยชน์อะไรกับโฆษณานั้น

อีกกลุ่มคือ สำนักข่าวต่างๆ แม้ว่าเมื่อสำนักข่าวพบว่าเป็นข่าวปลอมหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะรีบลบออกอย่างรวดเร็วก็ตาม แต่จะดีกว่าหากไม่นำเสนอข้อมูลที่ไม่มั่นใจว่าจริงหรือไม่เสียตั้งแต่แรก เพราะบนโลกออนไลน์ทุกอย่างแพร่กระจายเร็วมาก นอกจากนี้ “ต้องสร้างความรู้เท่าทันในทุกช่วงวัย” อย่างไรก็ตาม “การตั้งหน่วยงานเพื่อกรองข่าวก่อนนำเสนอเพื่อให้เหลือข้อมูลชุดเดียวตรงกันเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสม” เพราะคำถามที่ตามมา “ใครเป็นคนนิยามอะไรจริง-ไม่จริง” หรือผ่านการคัดกรอง

“สุดท้ายผมอยากเห็นเวลาเสพข่าวการเมือง แต่ละคนมีพรรคที่ชอบมีคนที่ไม่ชอบ แต่ทำอย่างไรให้เราตัดสินนักการเมืองแบบที่เราตัดสินนักร้องในรายการ The Mask Singer ในวันที่เราไม่รู้ว่าใครอยู่หลังหน้ากาก เราจะตัดสินนักร้องคนนั้นจากความสามารถจริงๆ ไม่ใช่จากหน้าตา หรือว่ามาจากวงที่เราชอบหรือไม่ชอบ เป็นไปได้ไหมว่าเวลามีข่าวสารเข้ามา ก่อนจะตัดสินว่าดีหมดเพราะเป็นนักการเมืองที่เราชอบ หรือเลวหมดเพราะเป็นนักการเมืองที่เราไม่ชอบ เป็นไปได้ไหมที่เราจะตัดสินจากข้อมูลและเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์หรือความชอบส่วนตัว” พริษฐ์ ฝากทิ้งท้าย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved