วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 20.21 น.
‘โคโรนาไวรัส’ ไม่รู้จึงกลัวและอคติ

ดูทั้งหมด

  •  

“โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่” หรือที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เพิ่งตั้งชื่อให้อย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19 (COVID-19)” เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากสถานการณ์การระบาด “ความหวาดระแวง” ก็เป็นอีกเรื่องที่น่ากังวล เห็นได้จากการประกาศชื่อเชื้อข้างต้น เทดรอสอัดฮานอม เกเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus)เลขาธิการองค์การอนามัยโลก อธิบายว่า ต้องการให้เป็นชื่อที่ไม่บ่งบอกถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สัตว์หรือกลุ่มคน

เนื่องจากตลอดเวลากว่าเดือนเศษนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2562 ที่เริ่มมีรายงานพบผู้ติดเชื้อ มักใช้คำเรียกว่า “ไวรัสอู่ฮั่น” ซึ่งมาจาก เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน สถานที่แรกที่พบการระบาด ด้านหนึ่งทางการแดนมังกรตัดสินใจออกคำสั่งปิดประเทศกลายๆ ด้วยการห้ามบริษัทนำเที่ยวพาชาวจีนไปเที่ยวนอกประเทศ อีกด้านหนึ่ง “หลายๆ ประเทศก็มีมาตรการห้ามคนจีนเดินทางเข้าประเทศ” เกิดกระแส “หวาดกลัว รังเกียจและตีตราชาวจีนไปทั่วโลก”โดยปริยาย


ที่งานเสวนา “ตระหนัก ดีกว่า ตระหนก เรียนรู้และป้องกัน โคโรนาไวรัส 2019” ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหยกฟ้า อิศรานนท์ ผู้ช่วยคณบดีคณะจิตวิทยา และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้วยังรวมถึงจิตใจด้วย อาทิ “การรับข้อมูลข่าวสาร” โดยเฉพาะใน “สื่อออนไลน์” อาทิ ช่วงปลายเดือนม.ค. 2563 ที่มีข่าวพบผู้ติดเชื้อจากคนสู่คนรายแรกในไทย จำนวนการค้นหาข้อมูลโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

“เป็นธรรมชาติของคนเราอยู่แล้ว เวลาที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่มันกำกวมอันตราย เราก็จะพยายามค้นหาข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะรู้สึกว่ามั่นใจแล้วว่าเราต้องรับมืออย่างไรกับสถานการณ์ดังกล่าว แต่ทีนี้ด้วยความที่สื่อออนไลน์เองมันมีความเฉพาะเจาะจงของมันอยู่ แน่นอนว่าสื่อออนไลน์มันเข้าถึงง่ายรวดเร็ว เราอยู่ที่ไหนเราก็ค้นหาข้อมูลได้ไว ข้อมูลมันมีเป็นล้านๆ ให้เราได้เลือกค้นหา แต่ตามปกติแล้วคนเราจะมีอคติในการค้นหาข้อมูล

แค่ Keyword (คำสำคัญ) ที่เราใส่ไปใน Search Engine (เว็บไซต์ให้บริการค้นหาข้อมูล เช่น Google) ก็สะท้อนอคติบางอย่างเหมือนกัน เขาบอกว่าโดยธรรมชาติเรามักจะพยายามค้นหาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อเดิมของตัวเอง ภาษาจิตวิทยาเรียก Confirmation Bias หรืออคติยืนยันความเชื่อเดิม ตัวอย่างเช่น สมมุติเราเชื่อลึกๆ ว่าไวรัสตัวนี้อันตรายแน่เลย หรือร้ายแรงติดต่อง่าย ที่เราจะพิมพ์เข้าไปคือโคโรนาไวรัสติดง่ายไหม อันนี้ก็แสดงถึงอคติแล้วเพราะเราไป Narrow Down คือทำข้อมูลให้แคบลง ซึ่งเกิดจากอคติของเราเองในการค้นหาข้อมูล” อาจารย์หยกฟ้าอธิบาย

จากธรรมชาติของมนุษย์ข้างต้นจึงมีความเป็นไปได้ที่“แม้จะเจอบทความทางวิชาการที่มีข้อมูลน่าเชื่อถือระบุว่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ไม่ร้ายแรง..แต่คนที่มีอคติไปแล้วก็มักเลือกที่จะมองข้าม” แต่นอกจากสื่อออนไลน์แล้ว “ปากต่อปาก-บอกต่อๆ กันมา” อันเป็นการสื่อสารแบบดั้งเดิมก็เป็นอีกช่องทางให้ผู้รับสารเชื่อได้ง่าย เพราะคนบอกส่วนใหญ่มักจะเป็นคนใกล้ชิดอย่างญาติสนิทมิตรสหาย “ในความเป็นจริงแล้วการเล่าต่อๆ กันมามักพบว่าข้อมูลบางอย่างหายไป” เช่น จากเดิมความจริงคือสัมผัสเชื้อแล้วมาขยี้ตา ไปๆ มาๆ อาจกลายเป็นบอกว่ามองตาก็ติดได้

อาจารย์หยกฟ้า ยังอธิบายประเด็น “ทำไมคนเราจึงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)” ซึ่งสาเหตุคือ 1.สอดคล้องกับความเชื่อเดิมของตัวเรา ถ้าเราเชื่อว่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อันตรายมาก เราก็มีแนวโน้มจะเชื่อข่าวที่บอกว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเช่นกัน 2.เมื่อใช้อารมณ์คนเราจะคิดน้อยลง และข่าวปลอมก็มักจะเน้นกระตุ้นอารมณ์ผู้รับสารเช่น กลัว โกรธ รังเกียจ เมื่อตัดสินใจด้วยอารมณ์ก็อาจทำให้เชื่อข่าวปลอมได้ และ 3.ปรากฏการณ์ความจริงเทียมในทางจิตวิทยามีคำอธิบายว่าอะไรที่ถูกพูดถึงซ้ำๆ พบเห็นบ่อยๆ ก็มีแนวโน้มที่ผู้คนจะเชื่อว่าเป็นความจริงได้

สำหรับแนวการรับข้อมูลข่าวสารแบบไม่ตื่นตระหนก1.ตรวจสอบแหล่งที่มา มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ หรือเป็นเพียงการบอกต่อๆ กัน 2.พิจารณาความสมเหตุสมผล แม้ธรรมชาติของคนเราจะมีอคติ เช่น เชื่อว่าโรคระบาดน่ากลัวมากอยู่แล้ว การได้รับข้อมูลคงต้องตั้งสติแล้วคิดว่าข้อมูลดังกล่าวมีความเป็นเหตุเป็นผลมากน้อยเพียงใด 3.พักการเสพสื่อบ้าง หลายคนอาจจะค้นหาข้อมูลจนไม่เป็นอันทำอย่างอื่นซึ่งก่อให้เกิดความเครียดและกังวลเกินเหตุ

“จากวิตกกังวลสู่อคติ..จากอคติสู่การเลือกปฏิบัติ”เป็นอีกเรื่องที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย เช่น พบร้านอาหารติดป้ายไม่ต้อนรับลูกค้าชาวจีน ร้านอาหารจีนขายไม่ได้ “การเหยียดคนนอกกลุ่มเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาจากสมัยโบราณที่การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้า คนกลุ่มหนึ่งจึงรังเกียจและหวาดกลัวคนจากอีกกลุ่มหนึ่งเพราะกังวลว่าจะนำโรคจากภายนอกเข้ามาระบาดในกลุ่มของตน” เทียบกับสถานการณ์เวลานี้คือโคโรนาไวรัสเริ่มระบาดในจีน คนชาติอื่นๆ จึงรังเกียจและหวาดกลัวคนจีน

ก่อนการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ อาจารย์หยกฟ้า ยกตัวอย่าง “อีโบลา (Ebola)” โรคระบาดในทวีปแอฟริกา แต่ความกลัวและการเลือกปฏิบัติไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยบางแห่งประกาศไม่รับนักศึกษาที่มาจากประเทศที่เชื้อดังกล่าวระบาด หรือแม้แต่ขณะนี้ในโลกตะวันตกเริ่มมีกระแสรู้สึกไม่ไว้วางใจไม่เฉพาะชาวจีนแต่ยังรวมไปถึงชาวเอเชียผิวเหลืองทั้งหมด “อคติลักษณะนี้เกิดขึ้นง่ายมากโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว” แต่ก็เข้าใจได้“เราอคติเพราะกลัว..และที่เรากลัวก็เพราะเราไม่รู้” หมายถึงไม่รู้ว่าโรคติดต่อทางใดและจะระมัดระวังตัวอย่างไร

“1.หาความรู้เพิ่มเติม สร้างความรู้ให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม ให้คนในสังคมเข้าใจข้อเท็จจริงว่าโรคนี้มันติดต่อได้อย่างไร มันไม่ได้ง่ายขนาดเดินผ่านกันแล้วติดกันแบบนั้นแล้วก็ 2.พยายามมองทุกคนบนโลกใบนี้ว่าเป็นเพื่อนร่วมโลกเหมือนกัน ทุกคนมีคุณค่าเท่ากันไม่ว่าจะเป็นคนจีน คนที่ติดเชื้อแล้วหรือคนที่หายแล้ว แล้ว 3.ตามทฤษฎีเขาบอกว่าถ้าเราได้พูดคุยหรือสร้างเพื่อนข้ามกลุ่ม หลายๆ คนก็มีเชื้อสายจีนอยู่แล้ว เราจะรังเกียจคนจีนทำไมในเมื่อเลือดของเราส่วนหนึ่งก็ได้รับมาจากบรรพบุรุษชาวจีน

ถ้าเราได้พูดคุยกับชาวจีนมันอาจจะลดอคติในใจของเราลงได้ คนนี้ดูแล้วมันก็ไม่ได้มีลักษณะขนาดที่เราต้องไปรังเกียจอะไรขนาดนั้น ลดอคติในใจของเราลง อีกอันหนึ่งถ้า 3 ข้อแรก มันทำไม่ได้อาจต้องสร้างบรรทัดฐานใหม่ในสังคม สังคมไทยการเหยียดสมัยนี้มองว่าเป็นการล้อเล่น แต่คนที่โดนล้อไปแล้วรู้สึกดูด้อยกว่าคนอื่น ดังนั้นอาจต้องสร้างบรรทัดฐานใหม่ว่าการเหยียดหรือเลือกปฏิบัติไม่ควรมีในสังคม” อาจารย์หยกฟ้า กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:24 น. สตม.โชว์ผลงาน! รวบ'ชาวจีน'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่
13:23 น. เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้
13:23 น. อำลาเจลีก!บีจีดึง'เจริญศักดิ์'คืนทัพสู้ไทยลีก
13:19 น. (คลิป) 'ณัฐวุฒิ'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
13:19 น. 'พิธา' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด'ขี้ข้าชาวตะวันตก' ไม่สอดคล้องความจริง
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อำลาเจลีก!บีจีดึง'เจริญศักดิ์'คืนทัพสู้ไทยลีก

'พิธา' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด'ขี้ข้าชาวตะวันตก' ไม่สอดคล้องความจริง

(คลิป) 'ณัฐวุฒิ'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ตำรวจพะเยาไล่ล่าแก๊งค้ายา ยิงสกัดยึดยาบ้า 1.5 แสนเม็ด คนร้ายเผ่นหนีเข้าป่า

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ขอสละสัญชาติไทย จำนวน 195 ราย

มีประโยชน์ยามเกิดภัยพิบัติ! ‘บก.ลายจุด’แนะแจก‘พาวเวอร์แบงก์’เป็นของที่ระลึก

  • Breaking News
  • สตม.โชว์ผลงาน! รวบ\'ชาวจีน\'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่ สตม.โชว์ผลงาน! รวบ'ชาวจีน'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่
  • เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้ เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้
  • อำลาเจลีก!บีจีดึง\'เจริญศักดิ์\'คืนทัพสู้ไทยลีก อำลาเจลีก!บีจีดึง'เจริญศักดิ์'คืนทัพสู้ไทยลีก
  • (คลิป) \'ณัฐวุฒิ\'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง (คลิป) 'ณัฐวุฒิ'แซะ! ดาบในมือศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นอาวุธทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
  • \'พิธา\' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด\'ขี้ข้าชาวตะวันตก\' ไม่สอดคล้องความจริง 'พิธา' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด'ขี้ข้าชาวตะวันตก' ไม่สอดคล้องความจริง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved