วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
ทำความเข้าใจวัคซีนโควิด-19

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอนำเรื่องราวจากงานเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ “วัคซีนโควิด-19” จัดโดยโครงการพลังเครือข่ายนักสื่อเสียงเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาบอกเล่ากับท่านผู้อ่าน เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยกำลังเริ่มโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 เป็นวงกว้างแล้ว แต่พบว่ายอดการลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนยังน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ วิทยากรในการเสวนาครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการอธิบายว่า วัคซีนเป็นเครื่องมือทำให้ร่างกายคนเราคุ้นเคยกับเชื้อโรคโดยไม่ต้องติดเชื้อจริงๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมารับมือ เช่น ป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้วสุดท้ายไวรัสก็จะตายไปเอง โดยการผลิตวัคซีนแบบดั้งเดิมคือการเพาะเลี้ยงเชื้อที่ต้องการแล้วทำให้เชื้อนั้นตาย เรียกว่าวัคซีนเชื้อตาย ที่ผ่านมาใช้ผลิตทั้งวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่โปลิโอ ข้อดีของวัคซีนประเภทเชื้อตายคือปลอดภัยสูงเพราะใช้มานาน สำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยวิธีนี้คือซิโนแวค


ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ผลิตวัคซีนแบบดั้งเดิม คือการสังเคราะห์โปรตีนจากหนามของไวรัสแล้วฉีดเข้าสู่ร่างกาย ปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้เทคโนโลยีนี้คือโนวาแวกซ์ ปัจจุบันเพิ่งผ่านการทดลองระยะ 3 และอยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียน ขณะที่วิธีใหม่ที่ใช้ในการผลิตวัคซีน คือการใส่สารพันธุกรรมเข้าไปในร่างกาย แล้วให้ร่างกายผลิตโปรตีนหนามของไวรัสเป้าหมายขึ้นมาเพื่อนำไปใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกทอดหนึ่ง

วิธีนี้มี 2 แบบ คือ mRNA ปัจจุบันใช้กับวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์กับโมเดอร์นา ใช้วิธีฉีดสารพันธุกรรมเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ซึ่งวิธีนี้ถูกนำมาใช้กับวัคซีนโควิด-19 เป็นครั้งแรก และ Viral Vector ใช้กับวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และแอสตราเซเนกา ใช้วิธีนำสารพันธุกรรมฝากไว้กับไวรัสอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ก่อโรค แล้วให้ไวรัสดังกล่าวพาสารพันธุกรรมที่ผลิตโปรตีนหนามซึ่งก่อโรคที่ผู้พัฒนาวัคซีนต้องการให้มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในร่างกาย โดยไวรัสไม่ก่อโรคที่นำพาสารพันธุกรรมเข้าไปก็จะถูกภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลาย วิธีนี้เคยใช้มาบ้างในการผลิตวัคซีนอีโบลา

การทดลองวัคซีนนั้นเริ่มจากการทดลองในสัตว์ หากได้ผลดีและไม่เป็นอันตรายจึงขยายผลมาทดลองในมนุษย์ แบ่งเป็นระยะที่ 1 ใช้กลุ่มตัวอย่าง 50-100 คน ระยะที่ 2 ใช้กลุ่มตัวอย่าง 200-1,000 คน และระยะที่ 3ใช้กลุ่มตัวอย่างหลักหมื่นคนขึ้นไป เช่น วัคซีนไฟเซอร์ใช้กลุ่มตัวอย่าง 20,000 คน แอสตราเซเนกา 40,000 คน เป็นต้น โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งที่ได้และไม่ได้รับวัคซีน เปรียบเทียบการใช้ชีวิตตามปกติว่ากลุ่มใดติดเชื้อหรือมีอาการป่วยมากกว่ากัน หากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รีบวัคซีน เท่ากับวัคซีนใช้ได้ผลจริง

ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ อธิบายต่อไปในเชิงเปรียบเทียบ “วัคซีนก็เหมือนอุปกรณ์นิรภัยในรถยนต์ คือมีประสิทธิภาพในการลดความเสียหายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ผู้ขับขี่ก็ต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงด้วย” รถคันหนึ่งมีทั้งเข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย ระบบเบรกและโครงสร้างตัวถังเกรดดีเยี่ยม แต่ผู้ขับขี่มีนิสัยชอบขับรถเร็วก็มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมาก วัคซีนก็เช่นเดียวกัน หากฉีดไปแล้วแต่ยังอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ทั้งด้วยการพาตัวเข้าไปเสี่ยงเองอย่างการไปสถานที่แออัด หรือการทำงานที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยงไม่ได้อย่างบุคลากรทางการแพทย์ โอกาสติดเชื้อก็ยังมีสูง

“เขาเจอผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตลอดเวลา เจอทุกวันเจอในปริมาณมาก เจอในสถานที่ที่จำกัด ไอซียูบ้างหอผู้ป่วยบ้าง ดังนั้นการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ที่ประเทศบราซิล ที่ทำในบุคลากรทางการแพทย์แล้วมีสถานการณ์การระบาดรุนแรง อย่างเช่นตัวอย่างวัคซีนซิโนแวค ก็เลยแสดงประสิทธิผลจากการทดลองออกมาที่ประมาณ 50% ที่เอาไปแชร์ต่อๆ กันว่าวัคซีนซิโนแวคมีผลแค่ 50% เพราะหยิบเอาตัวเลขนี้ไปพูด แต่วัคซีนซิโนแวคตัวเดียวกัน พอไปทำการทดลองที่ประเทศตุรกี มีประสิทธิผล 80% กว่า

ถ้าเรายึดตัวเลขเป็นสรณะจริงๆ แสดงว่าซิโนแวคบราซิลกับซิโนแวคตุรกีมันมีคุณภาพต่างกันอย่างนั้นหรือ นั่นก็ไม่ถูกต้อง วัคซีนตัวเดียวกันถ้าทดลองในสถานที่ต่างกัน มันก็ให้ผลออกมาต่างกันแม้กระทั่งเป็นวัคซีนตัวเดียวกัน ฉะนั้นการที่จะไปหยิบเอาประสิทธิผลวัคซีนตัวโน้นตัวนี้มาเปรียบเทียบกัน เราหยิบเอามาแต่ค่าเดียว แล้วเราไม่ได้ดูถึงรายละเอียดภายในของมัน เราก็จะงงงวยกับตัวเลข แล้วเราก็จะนึกว่าตัวโน้นดีกว่าตัวนั้น ตัวนั้นดีกว่าตัวนี้ แล้วก็เปรียบเทียบกันไปต่างๆ นานา” นพ.นคร กล่าว

นพ.นคร ยังกล่าวถึงมาตรฐานกลางขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า วัคซีนใดมีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 50 ถือว่าผ่านเกณฑ์ นอกจากนี้ยังต้องมีข้อมูลความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าฉีดไปแล้วไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง ซึ่งวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยรับรองให้ใช้ ทั้งนี้ วัคซีนโควิด-19 มีระยะเวลาพัฒนาเพียง 8 เดือน ถือว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ที่เคยมีมา ที่กว่าจะออกมาให้ใช้ได้ต้องทำการศึกษากันไม่ต่ำกว่า 5 ปี

แต่ถึงจะเร็วก็ไม่ได้ลัดขั้นตอนตามมาตรฐาน เพียงแต่เร่งกระบวนการให้ไวขึ้น ลดช่องว่างรอยต่อระหว่างขั้นตอน เช่น เมื่อเริ่มทดลองในสัตว์ก็เตรียมแผนทดลองในมนุษย์ไว้ เมื่อเริ่มทดลองในมนุษย์แล้วเห็นว่าได้ผลดีแม้จะเพียงเล็กน้อยก็เตรียมการทดลองในระยะ 3 เพื่อผลิตออกมาใช้ สำหรับประเทศไทย ในเบื้องต้นด้วยสถานการณ์โลกยังขาดแคลนวัคซีน หลายประเทศยังไม่มีวัคซีนใช้ แต่หลายประเทศก็มีเหลือใช้ จากความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึง

ทำให้ประเทศไทยเวลานี้มีให้ใช้เพียง 2 ยี่ห้อ คือซิโนแวคกับแอสตราเซเนกา การมีวัคซีนโควิด-19 ในไทยจึงถือว่ากลางๆ ยังไม่เต็มที่นัก ซึ่งตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2564 เป็นต้นไปก็จะมีวัคซีนให้ใช้เพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ความเป็นไปได้ในการผลิตวัคซีนทั่วโลก การเข้าถึงวัคซีนก็จะครอบคลุมมากขึ้น อนึ่ง หากไม่มีประวัติโรคประจำตัวก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจแล้วค่อยฉีดวัคซีน โดยขณะนี้มีข้อห้ามคือต้องเป็นผู้มีประวัติแพ้วัคซีนอย่างรุนแรงมาก่อน

“ผู้เคยมีประวัติแพ้วัคซีนอย่างรุนแรงมาก่อน ต้องอย่างรุนแรงด้วยนะ เช่น เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด หรือว่าโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักแล้วมีอาการแพ้รุนแรง อย่างนี้อาจจะเป็นข้อห้ามว่าอย่าเพิ่งใช้ ณ เวลานี้ หรือถ้าจะใช้จริงๆก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของคุณหมอ เพื่อระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง” นพ.นคร ระบุ

ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ยังกล่าวถึงกลุ่มอื่นๆ ที่ควรระมัดระวังในการรับวัคซีน เช่น คนที่มีอาการภูมิแพ้รุนแรง อาทิ เป็นโรค SLE และที่ควรรอไปก่อนคือผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้วอยู่ระหว่างรักษาด้วยการรับยาคีโมหรือการฉายรังสี โดยให้เว้นระยะจนกว่าจะพ้นระยะจากผลข้างเคียงของวิธีการรักษามะเร็งข้างต้นก่อนแล้วค่อยฉีดวัคซีน ซึ่งผู้ให้คำตอบได้ในแต่ละบุคคลคือแพทย์!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:52 น. 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
22:29 น. น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
22:22 น. ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
22:13 น. ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
21:41 น. หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต

อุบตอบมีชาติไหนบ้าง?! 'ทรัมป์'ลงนามจดหมายแจ้งภาษีตอบโต้12ประเทศ พร้อมร่อน7ก.ค.นี้

โหดเหี้ยม! คนร้ายซุ่มยิง‘ตำรวจ’ สภ.กรงปินัง เสียชีวิต หน้าร้านสะดวกซื้อใน จ.ยะลา

'องค์ดาไลลามะ'หวังมีพระชนม์ชีพยืนยาวนานถึง130ปี ก่อนกลับชาติมาเกิดเป็นผู้นำทิเบต

  • Breaking News
  • \'อดีต ส.ว.สมชาย\'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!! 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
  • น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง\'อดีตรองเสธ.กัมพูชา\' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
  • ครั้งแรกในรอบ102ปี! \'ฝรั่งเศส\'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
  • ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
  • หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved