วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.

‘อาหารแห่งอนาคต’โอกาสไทย

ดูทั้งหมด

  •  

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2565 (EconTU Symposium) ครั้งที่ 44 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal” ไปเมื่อเร็วๆ นี้โดยมีอาจารย์ในคณะมาเผยแพร่ผลการศึกษาในหลากหลายอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือ วานิสสา เสือนิล บรรยายหัวข้อ “การส่งออกอาหารแปรรูปของไทยกับแนวทางส่งเสริมการลงทุนจากทางภาครัฐ”

เมื่อดูแนวทางการส่งเสริมของรัฐ จะพบการใช้คำว่า“อาหารแห่งอนาคต (Future Food)” ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีคำนิยามชัดเจนว่าหมายถึงอาหารแบบใด แต่ก็พบความพยายามจัดกลุ่มโดยอิงความต้องการของคนในอนาคตแบ่งเป็น 1.อาหารเสริมสุขภาพ (Functional Food) เช่น อาหารที่เน้นเสริมภูมิคุ้มกัน ดังจะเห็นจากทุกวันนี้ที่เครื่องดื่มหลายชนิดมีการเติมวิตามิน แร่ธาตุหรือสมุนไพรเข้าไป


2.อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) มุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยเมื่อบริโภคแล้วจะได้รับสารอาหารดีขึ้น เช่น อาหารที่ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด หรือรับประทานง่ายเหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร 3.อาหารใหม่(Novel Food) เป็นอาหารที่อาจไม่เคยได้รับความนิยมในการบริโภคมาก่อน หรือเป็นอาหารที่มีนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ เช่น โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) หรือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช (Plant Based) และ 4.อาหารอินทรีย์ (Organic)เป็นอาหารที่กระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่นั้นปลอดสารพิษ

“แม้จะเป็นทิศทางแห่งอนาคต แต่กลับพบผู้ประกอบการไทยไม่ถึงครึ่งที่หันมาเริ่มผลิต” อีกทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการที่สนใจส่วนใหญ่ก็ยังเป็นรายเดิมที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารมานาน เนื่องจากมีทั้งความชำนาญในการผลิตและมีเงินทุนจากรายได้ในการแปรรูปอาหารแบบเดิมนำมาวิจัยและพัฒนาอาหารแห่งอนาคตก่อนจะแตกสายการผลิตออกไป อีกทั้งการรับจ้างผลิตก็ไม่ค่อยพบเห็นใน Future Food มากนัก เพราะมีต้นทุนในการผลิตสูง โดยเฉพาะการต้องพึ่งพาเครื่องมือและสารสกัดที่ล้ำสมัยจากต่างประเทศ

ถึงกระนั้น “ไทยก็ส่งออกอาหารแห่งอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาซึ่งรวมถึงในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ด้วย อาทิ ในปี 2564 มีมูลค่าการส่งออกราว 1 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นอาหารเสริมสุขภาพ (Functional Food)อยู่ที่ร้อยละ 64 และเมื่อผ่านไป 4 เดือนแรกของปี 2565 ก็ยังคงเป็นอาหารเสริมสุขภาพ ที่เป็นตัวหลักของการส่งออกของไทยในส่วนของอาหารแห่งอนาคตเช่นเดิม แต่ที่น่าสังเกตคือ กลุ่มอาหารใหม่ (Novel Food) การส่งออกหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

“การส่งออกอาหารแห่งอนาคตของไทยยังกระจุกตัว”โดยมี สหรัฐอเมริกา เป็นปลายทางหลัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.9 รองลงมาคือ จีน ร้อยละ 7.4 เมียนมา ร้อยละ 6.8กัมพูชา ร้อยละ 6.6 และญี่ปุ่น ร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่า สหภาพยุโรป (EU) เป็นอีกตลาดที่สำคัญของอาหารกลุ่มนี้ แต่ผู้ประกอบการไทยยังไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ โดยเหตุผลน่าจะมาจากมาตรฐานของ EU ที่ค่อนข้างเข้มงวดมากกว่าแม้แต่เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ

อนึ่ง “แม้ตลาดอาหารแห่งอนาคตจะขยายตัว (เฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี) แต่ก็ยังเป็นตลาดที่ค่อนข้างเล็ก”แม้กระทั่งการคาดการณ์ไปถึงปี 2571 ส่วนแบ่งตลาดอาหารแห่งอนาคตน่าจะยังอยู่ที่เพียงร้อยละ 4-5 เท่านั้น เนื่องจากยังกังวลเรื่องคุณภาพอาหาร บวกกับราคาที่ยังสูงกว่าอาหารแปรรูปแบบทั่วไป เช่น สินค้าอินทรีย์(Organic) เมื่อแปรรูปแล้วมีราคาสูงกว่าสินค้าแปรรูปทั่วไปถึงร้อยละ 63 หรือที่สหรัฐฯ เคยสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 68 ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช (Plant Based) เป็นต้น

ด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) พบว่า“ผู้ประกอบการเจียดรายได้จากยอดขายในอุตสาหกรรมเดิมเพียงไม่ถึงร้อยละ 5 เท่านั้นสำหรับมาทำ R&D อาหารแห่งอนาคต” อีกทั้งเป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานวิจัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยไม่ว่าของรัฐหรือเอกชน มาก-น้อยขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่ามีความพร้อมทำเองในบริษัทเพียงใด โดยมีความท้าทายในด้าน R&Dที่ผู้ประกอบการสะท้อนมุมมอง คือ 1.ใช้งบประมาณลงทุนสูง เป็นภาระโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการรายย่อย 2.ข้อมูลกระจัดกระจาย แต่ละหน่วยงานทำเรื่องแตกต่างกันไปโดยไม่มีการรวมศูนย์ฐานข้อมูล

และ 3.ไม่ค่อยมีการวิจัยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีทั้งความไม่เข้าใจตรงกันระหว่างหน่วยวิจัยกับผู้ประกอบการ งานวิจัยบางอย่างได้ผลในห้องทดลอง (Lab Scale) แต่ไม่สามารถผลักดันไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ซึ่งภาครัฐเองก็มีความพยายามส่งเสริมอาหารแห่งอนาคต เช่น มาตรการกระตุ้นการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แบ่งเป็นสิทธิประโยชน์พื้นฐาน เช่น มาตรการด้านภาษี กับสิทธิประโยชน์ทางเลือก เช่น ได้มาตรการทางภาษีเพิ่มอีกหากเข้าเงื่อนไขบางประการ อาทิ การลงทุนในมาตรฐานเฉพาะหรือพื้นที่เฉพาะ

ข้อสรุปที่ค้นพบ 1.การผลิตอาหารแห่งอนาคตไม่ได้เป็นอิสระจากอาหารแปรรูปทั่วไป เพราะผู้ประกอบการแบ่งทรัพยากรจากฐานการผลิตเดิมมาใช้แตกสายการผลิตใหม่ อีกทั้งอาหารแปรรูปทั่วไปตลาดก็ยังเติบโตอยู่แม้ไม่โดดเด่นเหมือนอาหารแห่งอนาคตก็ตาม ภาครัฐจึงควรส่งเสริมอาหารแปรรูปทั้ง 2 ประเภทไปพร้อมกัน 2.ภาครัฐควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเชิงลึก เช่น สารสกัดตั้งต้น (Base ingredients)เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปต่อยอดได้ โดยเฉพาะการใช้วัตถุดิบที่ไทยมีความได้เปรียบ รวมถึงพัฒนาเครื่องจักรเพื่อลดการนำเข้าทั้งเครื่องจักรและสารสกัด

3.ส่งเสริมให้สถาบันวิจัยทำงานกับผู้ประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กรอบการวิจัยที่ควรยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องติดกับกรอบปีงบประมาณ เพื่อให้การวิจัยทำได้อย่างต่อเนื่องและเป็นงานวิจัยเชิงลึกมากขึ้น ไม่ใช่การวิจัยแบบจบเป็นปีๆ ไป รวมถึงสร้างแพลตฟอร์มเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างรัฐ ผู้ประกอบการและนักวิจัย เพื่อให้งานวิจัยทำได้ตรงกับความต้องการของตลาดและนำไปใช้ได้จริง

และ 4.พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับอาหารแห่งอนาคต เช่น ระบบฐานข้อมูลกลางของงานวิจัยที่เข้าถึงได้ง่ายและไม่มีต้นทุน, มาตรการส่งเสริมการลงทุนควรเป็น Project-base เพื่อลดปัญหาในปัจจุบันที่การขอรับการสนับสนุนนั้นยุ่งยากเพราะต้องทำบัญชีแยกทั้งที่หลายบริษัทใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งอาหารแปรรูปแบบเดิมและอาหารแห่งอนาคต, ทบทวนมาตรการให้เหมาะสมกับเวลาและกิจกรรม เพราะต้องยอมรับว่าช่วงแรกๆ ของการปรับเปลี่ยนผู้ประกอบการมักขาดทุน, หาเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อให้ SME ระดมทุนได้มากขึ้น!!!

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:05 น. 'ตรีนุช'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ.
21:56 น. 'รมช.สันติ'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม
21:45 น. 'ชัยภูมิ'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน
21:27 น. เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข
21:25 น. 'บิ๊กน้อย' เปิดงานศึกมวยไทย ต้านไฟป่า
ดูทั้งหมด
มาแล้ว!! อุตุฯคาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 25 -31 มกราฯ
งานเข้า! แห่แจ้งความจับ 'มาดาม' ประธานทีมฟุตบอลดัง หลอกพาไปทำงานเกาหลี
ไขก๊อกอีก7คน! สภาฯแจ้ง‘ส.ส.’ลาออก ‘4ส.ส.บัญชีรายชื่อใหม่’เสียบแทน
ซ้ำรอย‘รบ.ยิ่งลักษณ์’? เมื่อหนทางคืนทำเนียบริบหรี่ เปิดกลยุทธ์อยู่ในอำนาจให้นานที่สุด
‘อรรถพล’ลงนามคำสั่งแรกแก้ไขโยกย้ายไม่เป็นธรรมในกรมอุทยานฯ ขีดเส้นเสร็จใน 1 เดือน
ดูทั้งหมด
การปล้นสมบัติชาติในอวกาศ
สินสอดมรณะ และ การแต่งงานของชาวอินเดีย (ตอน4)
สมาคมกีฬาเวชศาสตร์ 2565-2568
‘น้ำล้างตีน’ กับ ‘น้ำล้างตา’
กอล์ฟแนวหน้า : 29 มกราคม 2566
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อุ๊งอิ๊ง'ประกาศลั่น! รอนโยบายเด็ดๆจากพรรคเพื่อไทยได้หลังยุบสภานี้

หนึ่งเดียวในไทย!! 'วัดสามเรือน' จัดประเพณีหว่านทาน 'ลูกมะกรูด'

เจาะฐานเสียงกทม.! ‘อนุทิน’นำ‘ภูมิใจไทย’ลงพื้นที่ พร้อมเผยกลยุทธ์เด็ด

พปชร. ปะทะ รทสช.!พรรคไหนได้ส.ส.มากกว่ากัน- ‘2ป.’แตกคอกันจริง?

ฝ่ายการเมืองไม่เกี่ยว! ‘อนุทิน’โยนเผือกร้อน ปมโยก‘หมอสุภัทร’

เดือดพลั่ก!‘จตุพร’ฟาดกลับ‘อดิศร’ขี้ขลาด พูดดังบนเวทีกลับทิ้งหมู่มิตรหนีไปลาว

  • Breaking News
  • \'ตรีนุช\'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ. 'ตรีนุช'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ.
  • \'รมช.สันติ\'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม 'รมช.สันติ'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม
  • \'ชัยภูมิ\'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน 'ชัยภูมิ'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน
  • เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข
  • \'บิ๊กน้อย\' เปิดงานศึกมวยไทย ต้านไฟป่า 'บิ๊กน้อย' เปิดงานศึกมวยไทย ต้านไฟป่า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

บทบาทมหาวิทยาลัยไทย  เตรียมคน-สังคมรับยุคดิจิทัล

บทบาทมหาวิทยาลัยไทย เตรียมคน-สังคมรับยุคดิจิทัล

28 ม.ค. 2566

‘สุขภาพจิต-หนีออกจากบ้าน’  ปัญหาเด็กรอผู้ใหญ่ยื่นมือช่วย

‘สุขภาพจิต-หนีออกจากบ้าน’ ปัญหาเด็กรอผู้ใหญ่ยื่นมือช่วย

21 ม.ค. 2566

ยุติ‘HIV-เอดส์’ระบาด  การป้องกันต้องเข้าถึงสะดวก

ยุติ‘HIV-เอดส์’ระบาด การป้องกันต้องเข้าถึงสะดวก

14 ม.ค. 2566

แก้เหลื่อมล้ำที่อยู่อาศัย  ‘ผังเมือง’อีกปัจจัยต้องปรับ

แก้เหลื่อมล้ำที่อยู่อาศัย ‘ผังเมือง’อีกปัจจัยต้องปรับ

7 ม.ค. 2566

เศรษฐกิจไทยปี2566

เศรษฐกิจไทยปี2566

31 ธ.ค. 2565

‘อุดมคติvsความอยู่รอด’  ทางเลือกที่ยากของคนทำงาน

‘อุดมคติvsความอยู่รอด’ ทางเลือกที่ยากของคนทำงาน

24 ธ.ค. 2565

‘หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า’  ช่วยไทยคุม‘เอดส์’ระบาดได้ผล

‘หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า’ ช่วยไทยคุม‘เอดส์’ระบาดได้ผล

17 ธ.ค. 2565

ภาคีเครือข่าย‘เมืองอัจฉริยะ’ประเทศไทย

ภาคีเครือข่าย‘เมืองอัจฉริยะ’ประเทศไทย

10 ธ.ค. 2565

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved