วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 02.00 น.
‘หลักคิดของผู้มีอำนาจ’ ตัวแปรแก้ปัญหา‘เหลื่อมล้ำ’

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” สรุปความเห็นของ ศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวงเสวนา “อยู่หรือไป หาบเร่แผงลอยไทย ใครกำหนด?” เมื่อเร็วๆ นี้ มานำเสนอกับท่านผู้อ่าน ซึ่งแม้จะเป็นการกล่าวถึงประเด็นหาบเร่แผงลอย แต่ก็สามารถฉายภาพให้เห็นปัญหา “หลักคิดการบริหารจัดการโดยผู้มีอำนาจในภาครัฐ” ที่นำไปสู่การ “ซ้ำเติม”ปัญหา “ความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้ง” ของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในประเทศ ในประเด็นอื่นๆ ได้เช่นกัน

ศ.สุริชัย เริ่มต้นด้วยการย้อนมองช่วงที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) กำลังมีบรรยากาศการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ในปี 2565 ซึ่งดูจะมีความหวัง แต่ท้ายที่สุดกลับกลายเป็นว่ากรุงเทพฯ ไม่มีพื้นที่ให้พูดคุยกันถึงอนาคตของเมือง“ในเมื่อโลกนี้มีความไม่แน่นอน..คำถามคือแล้วเราไปซ้ำเติมความไม่แน่นอนนั้นหรือเปล่า?” แน่นอนมีความเห็นที่ขัดแย้งกันเกิดขึ้น ด้านหนึ่งมีผู้มองหาบเร่แผงลอยแล้วเห็นว่าเกะกะไม่สะดวกบ้าง ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนบ้างแต่อีกด้านก็มีเรื่องของความเหลื่อมล้ำในสังคมอยู่จริง


“เราต้องการโลกที่เราอยู่ มีกลิ่นเดียวกับเราเท่านั้นหรือเปล่า? ฉะนั้นใจคอที่ร่วมทุกข์กันได้ มันน่าจะเป็นจุดเริ่มแต่ถ้าเราไม่ช่วยมอง ทุกอย่างใครผิดกฎหมายจัดการหมด คนชาวเลผิดกฎหมาย เขาจะไปไหว้ที่ฝังพ่อฝังแม่เขาก็ไม่ได้คือแบบนี้กฎหมายกับความเหลื่อมล้ำที่คนเข้าไม่ถึงมันเยอะมาก ถ้าเราไม่มีหูฟัง ไม่มีตาดูบ้าง ไม่เปิดใจเลยก็จะลำบาก” ศ.สุริชัย กล่าว

หากถามว่าอะไรคือจุดแรกที่ต้องแก้ปัญหา? ศ.สุริชัย ให้ความเห็นว่า “ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าใครเดือดร้อนบ้าง?แต่ปัญหาคือไม่มีพื้นที่ให้มาพูดคุยกันจริงๆ” เช่นคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายจัดระเบียบกรุงเทพฯ มีการยกเลิกจุดผ่อนผันซึ่งเป็นพื้นที่อนุญาตให้ทำการค้าหาบเร่แผงลอยได้ จากเดิมที่มีกว่า 700 จุด เหลือเพียง 100 กว่าจุด คำถามคือเราทราบกันหรือไม่ว่าผู้ค้าที่ถูกยกเลิกพื้นที่ค้าขายไปอยู่ที่ไหน? ลูกหลานเขาเป็นอย่างไร? หรือแม้แต่ช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 คนเหล่านี้เดือดร้อนมาก-น้อยเพียงใด?

นักวิชาการอาวุโสผู้นี้ มองว่า “เมื่อพูดถึงชีวิตเรามีโอกาสสนใจเฉพาะชีวิตของคนที่เป็นดารา ในขณะที่ชีวิตคนตัวเล็กๆ ที่ต้องรับผิดชอบครอบครัว แม้จะมีตัวเลขแต่เราก็รู้จักเฉพาะตัวเลข ไม่รู้จักชีวิตของเขา” ดังนั้นข้อแรกที่เราต้องทำใจยอมรับก่อนคือ “เราใช้วิธีแก้ปัญหาโดยไม่ทำความรู้จักกันเลย” เราไม่ได้ใช้ความรู้จักเป็นฐานของการแก้ปัญหา “แต่เราใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการใช้อำนาจ” เช่น กทม. มีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งด้านหนึ่งไม่มีใครปฏิเสธว่าปัญหาของบ้านเมืองต้องแก้ไขด้วยกฎหมาย

แต่อีกด้านหนึ่ง การขยายตัวของเมืองอย่างกรุงเทพฯ ไม่ได้ขยายตัวด้วยกฎหมาย แต่ด้วยพลังทางเศรษฐกิจและสังคม จนกลายเป็นอย่างที่ทราบกันดีว่า กรุงเทพฯ นั้นโตกว่าเมืองอันดับ 2 ของประเทศไทยอย่างมาก และไม่น่าจะหยุดโตได้ง่ายๆ เพราะกรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมความสะดวกหลายๆ อย่าง และนั่นคือปัจจัยที่มีผลต่อ “ราคาที่ดิน” เช่น ที่มีข่าวว่าที่ดินย่านสีลมราคาแพงมาก หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่าง กรมธนารักษ์ ไม่ได้เป็นผู้ที่ทำให้ที่ดินตรงนั้นแพง เพียงแต่ออกมายืนยันว่าที่ดินดังกล่าวแพงจริงเท่านั้น

“ถ้าที่ดินแพง มันมีใครมีสิทธิ์ที่จะอยู่หรือใช้ประโยชน์จากที่ดินแพงบ้าง? หรือต้องเป็นคนรวยเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์ใช้กรุงเทพฯ ได้ อันนี้มันก็เป็นคำถามสำหรับบ้านเมืองเรา ที่เรารู้สึกว่าเราเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ผมคิดว่าเงื่อนไขอันแรกนี่คือการไม่ยอมทำความรู้จักจริงๆ แต่แก้ปัญหาโดยเครื่องมือทางนโยบายแบบที่เคยชิน
ยิ่งเวลารวมศูนย์อำนาจก็ใช้วิธีรวมศูนย์ เสมือนหนึ่งว่ารวมศูนย์แล้วจะแก้ปัญหา ทุบโต๊ะแล้วจะแก้ปัญหาได้หมด ผมคิดว่าเราสร้างความยากลำบากหรือสร้างเคราะห์กรรมให้คนไปเท่าไรเรายังไม่รู้เลย” ศ.สุริชัย ระบุ

ทั้งนี้ แม้การเลือกตั้งจะไม่ได้แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง แต่การเลือกตั้งก็ควรจะมากับความหวังว่าจะไม่แก้ปัญหากันแบบเดิมๆ ด้วยวิธีที่เคยชิน “ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย แต่บางครั้งกฎหมายที่มีอยู่ก็ไปรังแกคนตัวเล็กตัวน้อย” วิธีการแก้ปัญหาแบบนี้ทำให้คนที่ไม่ได้อยู่ในร่องในรอยหรือในความคาดหวังกลายเป็นอาชญากร เช่น มองแผงลอยเป็นเศรษฐกิจอาชญากร ถามว่ามุมมองแบบนี้ถูกต้องแล้วหรือ? หรือจริงๆ แล้วนี่คือเศรษฐกิจที่เป็นวิถีชีวิตของคนในเมือง

แต่สิ่งนี้เกิดจากความไม่เข้าใจสภาพเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ซึ่ง ศ.สุริชัยก็ยังกล่าวด้วยว่า “วิชาการด้านเศรษศาสตร์ยังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเศรษฐศาสตร์ของสาธารณะ แต่เป็นเพียงเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์เพื่อการลงทุน ซึ่งเศรษฐศาสตร์ต้องมองเห็นโจทย์ของความเหลื่อมล้ำด้วย” เราไม่อาจปฏิเสธว่ากรุงเทพฯ มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่คำถามที่ต้องคิดต่อคือ เราอยากให้กรุงเทพฯ เป็นสวรรค์ของคนที่หลากหลาย หรือเฉพาะกับคนที่มีเงินร่ำรวยเท่านั้น

เช่นเดียวกัน “วิชาการด้านผังเมืองต้องเป็นอะไรมากกว่าการขีดๆ เขียนๆ อะไรก็ได้ลงบนแผนที่(โดยอ้างการมีอำนาจ)” เพราะชีวิตในกรุงเทพฯ(หรือในเมืองที่มีความเป็นมหานคร) ไม่ได้มาจากตึกใหญ่-ทุนใหญ่อย่างเดียว หรือจากรัฐอย่างเดียว “การแก้ปัญหาต้องเห็นคนเป็นชีวิตคน” หากปฏิบัติกับคนที่อยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำเหมือนเป็นอาชญากร คำถามคือแล้วจะมีเรือนจำพอขังหรือไม่? เพราะทุกวันนี้ก็มีการพูดถึงปัญหานักโทษล้นคุกกันอยู่ โดยสรุปก็คือ “การแก้ปัญหานั้นภาครัฐในฐานะผู้มีอำนาจต้องระดมความรู้ในหลายๆ ด้าน” และผู้เกี่ยวข้องก็ต้องได้มีส่วนร่วม

อย่างที่บอกไปในตอนต้นแล้วว่า ศ.สุริชัย พูดเรื่องนี้ในวงเสวนาประเด็นหาบเร่แผงลอย “แต่หากมองไปไกลกว่ากรุงเทพฯ จะพบปัญหาทำนองเดียวกันเกิดขึ้น นั่นคือข้อถกเถียงเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์ทรัพยากร” ดังที่ศ.สุริชัย ได้ยกตัวอย่างของ “ชาวเล” ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เพิ่งมีข่าวข้อพิพาทระหว่างชุมชนชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล กับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงกรณีคล้ายๆ กัน เช่น ชาวเลราไวย์ จ.ภูเก็ต ชาวเลเกาะลันตา จ.กระบี่ โดยฝ่ายชาวเลยืนยันว่าอยู่อาศัยและทำมาหากินมาหลายชั่วอายุคน กับฝ่ายเอกชนที่ยืนยันว่าตนเองก็มีกรรมสิทธิ์ที่ดินถูกต้อง

หรือที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับรัฐ คือกรณี “ชุมชนกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์” ในหลายพื้นที่ของไทย เมื่อรัฐที่มีนโยบายอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ป่า มีการประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์ซึ่งบางครั้งก็ไปทับซ้อนกับพื้นที่ที่ประชาชนยืนยันว่าตั้งหมู่บ้านอยู่อาศัยมาแล้วหลายชั่วอายุคน เพียงแต่ในช่วงที่รัฐประกาศนั้นชุมชนไม่ทราบเรื่องจึงไม่ได้โต้แย้งแสดงหลักฐานตั้งแต่ต้นจนกลายเป็นคดีความต้องต่อสู้กันในภายหลัง รวมไปถึงข้อถกเถียง “ที่ดินของรัฐควรพิจารณาให้สิทธิ์ใครได้ใช้ (ด้วยการเช่าระยะยาว) ก่อน” ระหว่างชุมชนหาเช้ากินค่ำกับทุนใหญ่ เป็นต้น!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
07:35 น. ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

ไม่พบข้อมูลเดินทาง! คาด'อดีตเจ้าคุณอาชว์'ยังอยู่ในไทย มีคนให้ที่พักพิง

  • Breaking News
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
  • ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved