วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
แก้ปัญหา‘ที่อยู่อาศัยแพง’ หนุน‘ห้องเช่าราคาถูก’ทางเลือก

ดูทั้งหมด

  •  

“เรากำลังคิดเรื่องห้องเช่าราคาถูกในชุมชน เพราะต่อไปโอกาสในการจะมีบ้านของตัวเองจะลดลงโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ราคาที่ดินสูงราคาที่อยู่อาศัยก็สูง คอนโดฯหลังหนึ่งเป็นล้าน ที่ดินมีน้อยลง เราไม่มีนโยบายการจัดการที่ดินแต่เราให้ที่ดินเป็นไปตามราคาตลาด คนจนเมือง ผู้มีรายได้น้อยระดับล่าง ชนชั้นกลางหมดสิทธิ์ที่จะมีที่อยู่อาศัยของตัวเอง ถึงแม้จะเรียนจบปริญญาตรี ถ้าเงินเดือนเราไม่มากพอเราจะผ่อนไม่ไหว”

วรรณา แก้วชาติ ผู้ประสานงานโครงการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) กล่าวถึงปัญหา “ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้นตามราคาที่ดิน” ทำให้โอกาสในการมีที่อยู่อาศัยไม่ว่าบ้านหรือห้องพักในคอนโดมิเนียมเป็นไปได้ยาก ซึ่งแม้กระทั่งย่านชานเมืองอย่างเขตหนองจอก กรุงเทพฯ มีตัวอย่างที่ดินบริเวณ ถ.สุวินทวงศ์ ในปี 2554 ราคาอยู่ที่ 4 แสนบาทต่อไร่ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 4 ล้านบาทต่อไร่ นั่นเป็นสาเหตุที่แนวคิดของรัฐเรื่องการย้ายชุมชนแออัดของคนจนเมืองออกจากใจกลางเมืองไปอยู่แถบชานเมืองไม่สามารถทำได้อีกต่อไป


ขณะเดียวกัน ชนชั้นกลางที่ต้องการมีบ้านสักหลังหนึ่งยังต้องกัดฟันแบกรับ “ดอกเบี้ย” ที่เคลื่อนไหวตามกลไกตลาดโดยไม่มีสิทธิ์โต้แย้ง อีกทั้ง “การต้องผ่านบ้านนาน 20-30 ปี ก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าจะอยู่รอดตลอดไปจนถึงฝั่ง” เห็นได้จากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และนั่นทำให้หลายคนต้องปล่อยบ้านที่ผ่อนมาให้หลุดมือไปเพราะไม่มีรายได้เพียงพอจะผ่อนต่อไปได้ อาทิ มีตัวอย่างในหมู่บ้านที่ตนเองอยู่ บ้านหลังหนึ่งคู่สามี-ภรรยา ทำงานสายการบิน ได้รับผลกระทบอย่างหนักจนต้องปล่อยให้บ้านถูกยึด

วรรณา กล่าวถึงเรื่องนี้ในการบรรยายหัวข้อ “การพัฒนาคนจนเมืองและคนในชุมชนแออัด” ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว เล่าต่อถึงแนวคิด “ห้องเช่าราคาถูก” ที่เริ่มทำโครงการนำร่องกับกลุ่ม“คนไร้บ้าน” ในย่านหัวลำโพง กรุงเทพฯ ซึ่งจากการสอบถามพบหลายคนเคยมีงานทำแต่ต้องตกงานจากสถานการณ์โควิด-19 คนเหล่านี้ไม่ได้อยากเป็นคนไร้บ้านแต่ไม่มีทางเลือกเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าห้องที่เคยอยู่ในช่วงก่อนหน้านั้น

“เขาอยากแค่มีงานสักหน่อย มีห้องเช่าที่พอได้อยู่ แล้วอยู่ใจกลางเมืองเพื่อที่จะเดินทางไปหางานได้ ก็เลยเป็นที่มาของห้องเช่าคนละครึ่ง มูลนิธิก็เริ่มทำงาน โดยการสนับสนุนจาก สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) แล้วส่วนหนึ่งมีสมทบมาจาก พอช. (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) เราก็มาทดลองตรงห้องเช่าตรอกสลักหิน หลังหัวลำโพงมันจะมีชุมชน ห้องหนึ่งสมมุติราคา 3,000 ไม่ถูกนะในชุมชน3,000 บาท เจ้าของห้องจะจ่าย 1,600 เราจ่าย 1,600 ในช่วง6 เดือนแรก

เพื่อที่จะช่วยให้เขายังคงทำงานได้ มีเงินผ่อน เก็บเงินส่วนหนึ่งเอาไว้ แต่เราไม่สามารถจ่ายตลอดไปได้เพราะไม่มีใครจะหาเงินมาจ่ายฟรีได้ตลอด ทำไมถึงไม่เป็น 1,500-1,500 เงิน 200 บาท ถูกหักออกมาเป็นกองทุนของเขาเพื่อที่จะไปพัฒนาอาชีพ เผื่อเขาตกงาน เผื่อเขาต้องการเงินก้อนหนึ่งไปทำอาชีพ ก็จะมีเงินตรงกลางเป็นสวัสดิการ เป็นค่ารถไปหาหมอ หลังจากเราทดลองที่หัวลำโพง เราพบความต้องการที่อยู่อาศัยราคาถูกมันเยอะมาก แต่จะมาทำคนละครึ่งก็ไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้มีที่อยู่อาศัยเป็นห้องเช่าที่มันไม่แพงมาก” วรรณา กล่าว

ตัวอย่างกลุ่มที่จะได้ประโยชน์หากมีการทำโครงการห้องเช่าที่ราคาไม่สูงนัก ได้แก่ 1.คนไร้บ้าน คนกลุ่มนี้หากมีห้องเช่าในราคาที่พอจ่ายได้ ก็จะไม่ต้องเป็นคนไร้บ้าน สามารถทำงานและพัฒนาตนเองได้ 2.ผู้มีรายได้น้อยและไม่มั่นคง ส่วนใหญ่คือคนที่ทำงานโดยรับค่าจ้างรายวัน เช่น พนักงานโรงงาน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 3.แรงงานย้ายถิ่น เช่น คนต่างจังหวัดเพิ่งเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ ต้องการห้องเช่าที่ไม่แพงมากในช่วงเริ่มตั้งตัว

4.สมาชิกโครงการบ้านมั่นคงแต่ไม่มีศักยภาพในการมีบ้าน โครงการ “บ้านมั่นคง” เป็นโครงการที่รัฐสนับสนุนให้ชุมชนคนจนเมืองแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยการเช่าที่ดินของรัฐ เช่น ที่ราชพัสดุ เพื่อก่อสร้างบ้านที่มีโครงสร้างมั่นคงและหน้าตาสวยงามแทนที่จะเป็นบ้านแบบชุมชนแออัด แต่อาจมีชาวชุมชนบางคนไม่มีศักยภาพพอจะสร้างบ้านได้

โดยชุมชนอาจแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งทำเป็นห้องเช่าสำหรับคนเหล่านี้ เพื่อนำรายได้ไปพัฒนาชุมชน รวมถึงผู้ที่กำลังรอการเข้าร่วมโครงการซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการรอ 1-2 ปี และ 5.นักศึกษาจากครัวเรือนยากจน แม้จะสามารถกู้เงินจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แต่ก็อาจยังไม่เพียงพอสำหรับจ่ายค่าหอพัก การมีห้องเช่าราคาประหยัดก็จะช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายทั้งของตัวนักศึกษาเองและของพ่อแม่ผู้ปกครองที่เป็นผู้ส่งเสียค่าเล่าเรียนบุตรหลานด้วย

โครงการที่อยู่อาศัยราคาถูกสามารถเกิดได้ 1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดย อปท. จะทำหน้าที่ประสานหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาร่วมกันพัฒนาโครงการ และอาจมีงบประมาณจาก พอช. เข้ามาสนับสนุน 2.ภาคเอกชน เช่น เอกชนให้พื้นที่หรืออาคารมาใช้แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย โดยหน่วยงานของรัฐเข้าไปปรับปรุงให้สามารถอยู่อาศัยได้ รูปแบบนี้มีหลากหลายทั้งงานเพิ่มสังคม (CSR) ของเอกชน หรือเป็นการร่วมลงทุนและบริหารระหว่างเอกชนกับรัฐ ผ่านการที่รัฐใช้มาตรการภาษีจูงใจให้เอกชนเข้าร่วม

“ถ้าเป็นของที่เราเริ่มทำจะยังไม่ใช่ทั่วไปเพราะจะไม่สามารถควบคุมหรือมีแนวทางที่ชัดเจน ก็ต้องทดลองแนวทางก่อน แล้วถ้าเป็นไปได้ต่อไปก็จะชวนคนที่เขาสนใจเข้ามา แต่มันก็จะต้องผ่านกระบวนการคุยหรือออกแบบร่วมกันว่าทำอย่างไรที่จะไม่เกิดปัญหาในอนาคต หรือเกิดคนเข้าไปอยู่แล้วระบบบริหารจัดการมันจะเป็นอย่างไร ไม่เช่นนั้นมันจะกลายเป็นแบบใครๆ ก็อยากทำ พออยากทำแล้วเราควบคุมอะไรไม่ได้ หรือแนวทางไม่ชัดเจน จะเป็นปัญหาในอนาคต

เราจะทดลองสัก 2-3 รูปแบบก่อน แล้วถ้ามันพอเป็นไปได้อันนี้จะถูกขยายออกไปเป็นนโยบาย ซึ่งทางผู้ว่าฯ ชัชชาติ (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร-กทม.) เองก็มีแนวคิดอันนี้อยู่ ตอนนี้เขามีสำนักงานที่อยู่อาศัย กทม.ที่จะเข้ามาดูแลเรื่องนี้อยู่ ถ้าเราเข้าไปปรับปรุงต้องเช่าระยะยาว เพราะไม่อย่างนั้นมันจะไม่คุ้มทุนกับการลงทุนในการที่จะเข้าไปปรับปรุง เพราะหลายแห่ง สมมุติตึกหนึ่งต้องไปปรับปรุง 5 ล้านบาท แล้วให้เช่า 5 ปีแล้วมันไม่คุ้มเพราะเราไม่ได้เก็บค่าเช่าเยอะ” วรรณา กล่าว

ด้าน บวร ทรัพย์สิงห์ นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า การสนับสนุนอาคารหรือที่ดินสำหรับแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด รัฐสามารถใช้มาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจให้เจ้าของที่ดินมาเข้าร่วมโครงการได้ เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหา “หาบเร่แผงลอย” หากเอกชนสนับสนุนที่ดินให้ผู้ค้าสามารถย้ายเข้าไปทำกินได้ รัฐก็สามารถใช้มาตรการภาษี รวมถึงมาตรการผังเมืองเพื่อให้สร้างอาคารได้สูงขึ้น!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:41 น. แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
15:40 น. 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
15:35 น. สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ
15:20 น. ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
15:14 น. 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน

แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ

เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี

  • Breaking News
  • แอดมิทด่วน! \'เอ๊ะ จิรากร\'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
  • \'อนุสรณ์\'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
  • สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ
  • ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย  3 อำเภอในยะลา ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
  • \'ทวี\'เผย\'กกต.\'ประสาน\'ดีเอสไอ\'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘สวนสัตว์มนุษย์’ บาดแผลยุคอาณานิคม

‘สวนสัตว์มนุษย์’ บาดแผลยุคอาณานิคม

3 พ.ค. 2568

สร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

26 เม.ย. 2568

ประชากรโลก2พันล้านคน ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม

ประชากรโลก2พันล้านคน ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม

19 เม.ย. 2568

เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายเดิม แม้จะยกเลิก-แก้ไขไปแล้ว

เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายเดิม แม้จะยกเลิก-แก้ไขไปแล้ว

12 เม.ย. 2568

ระวัง‘ปาร์ตี้โฟม-ไฟรั่ว’ ภัยอันตรายช่วงสงกรานต์

ระวัง‘ปาร์ตี้โฟม-ไฟรั่ว’ ภัยอันตรายช่วงสงกรานต์

5 เม.ย. 2568

‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’  แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’ แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

29 มี.ค. 2568

สังคมไทยเริ่มตื่นตัว  สิทธิ‘ผู้ต้องหา-นักโทษ’

สังคมไทยเริ่มตื่นตัว สิทธิ‘ผู้ต้องหา-นักโทษ’

22 มี.ค. 2568

ระดมนักวิชาการไทย  รับมือ‘ทรัมป์2.0’เขย่าโลก

ระดมนักวิชาการไทย รับมือ‘ทรัมป์2.0’เขย่าโลก

15 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved