ตั้งแต่กลุ่มนิติราษฎร์ เคลื่อนไหวทางการเมืองภายใต้อุดมการณ์ “นิติรัฐ ประชาธิปไตย” อันเป็นสูตรสำเร็จที่ครอบงำการเมืองทั่วโลก จับมือกับ“ไพร่หมื่นล้าน อย่าง ตี๋เอก-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” เจ้าของสมญา “สี จิ้นผิง เมืองไทย”ในมุมมองของ “สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ - ผู้แม่” ตั้ง “พรรคอนาคตใหม่”ลงสนามเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 จนกระทั่งถูกยุบพรรคเพราะสะดุดเหลี่ยมขาตัวเองกรณี “นิติกรรมอำพราง - กู้เงิน (พรรคอนาคตใหม่กู้เงินไพร่หมื่นล้าน 192 ล้านบาท)”
นโยบายหนึ่งที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องนั่นคือ การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเมื่อกลายร่างเป็น “พรรคก้าวไกล” การเคลื่อนไหวเรื่องนี้ก็ทวีความหนักแน่นจนถอยไม่ได้ แม้จะไม่มีกำหนดไว้ในนโยบายการหาเสียงอย่างชัดเจน เมื่อครั้งการเลือกตั้งทั่วไป14 พฤษภาคม 2566
หนักแน่นขนาดที่มีการต่อรองกลางที่ประชุมรัฐสภาในห้องประชุมสัปปายะสภาสถานทั้งจากพรรคการเมืองที่ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาลในขณะนั้น
ทั้งฝ่ายสมาชิกวุฒิสภา เพื่อรับรองให้ “พิธาคิโอ-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค ซึ่งได้คะแนนเสียงจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาเป็นอันดับหนึ่งได้ที่นั่งในสภา 151 ที่นั่ง
แต่ “พิธาคิโอ และ พรรคก้าวไกลก็ยังยืนยันจะเคลื่อนไหวแก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 พร้อมประกาศกลางที่ประชุมรัฐสภาว่า รัฐบาลก้าวไกลจะจัดวางพระราชอำนาจและพระราชฐานะพระมหากษัตริย์ใหม่ให้เหมาะสม โดยอ้างว่าสัญญากับประชาชนในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง
การได้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลชุดใหม่ขัดตาทัพเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วด้วยยุทธศาสตร์ 4 และภารกิจ 2 ซึ่งประกอบด้วย การสร้างพรรคก้าวไกลให้เป็นสถาบันการเมืองอย่างแท้จริง ขยายฐานเพิ่มจำนวนสมาชิกพรรคให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น และช่วยกันปักธง “ชุดความคิดพรรคก้าวไกลให้เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้พร้อมเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงมาถึง
ยุทธศาสตร์หนึ่งที่ หัวหน้าพรรคก้าวไกลคนใหม่ประกาศนำธงในยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ ร่วมกันผลักดันให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากประชาชน จึงอยากให้ช่วยกันรณรงค์เรียกร้อง ให้รัฐบาลทำประชามติว่าต้องการให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับหรือไม่ และ ส.ส.ร.ต้องมาจากประชาชนทั้งหมด เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ
โดยยุทธศาสตร์นี้ที่ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับนั้นในมาตรา 1 ซึ่งตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 หลังการปฏิวัติสยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งบัญญัติว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร อันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้
แต่บนเวทีก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน ซึ่งเป็นการเปิดตัวทีมผู้บริหารพรรคชุดใหม่ และแนวทางการดำเนินการของพรรคนั้นได้มีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเอาไว้อย่างชัดเจน โดยมาตรา 1 บัญญัติว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย ซึ่งแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญไทยฉบับเดิมๆ ตาม 6 หลักการของคณะราษฎร 2475 ที่หลักที่ 1 คือหลักเอกราชจะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
อย่าสร้างวาทกรรมสนตะพายมวลชน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีประชาชนเป็นไม้ประดับ”
อย่าสำรอกสำรากสืบสานอุดมการณ์คณะราษฎร 2475
เมื่อคิดจะกบฏแบ่งแยกการปกครองขัดหลักการคณะราษฎรก็ประกาศให้ชัดเลิกเป็น “บัณเฑาะก์” คลุมเครือพิรี้พิไรหลอกสนตะพายมวลชนให้อยู่กับปลักอยู่กับตมเลย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี