วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ทุนนิยมกับการเข้าถึงอาหาร

ดูทั้งหมด

  •  

“ทุนนิยมอาหารคืออะไร? ถ้าพูดง่ายๆ ในยุคปัจจุบันนี้พวกเราก็น่าจะอยู่ในระบบทุนนิยมอาหาร ในที่นี้ก็คืออาหารเราหาซื้อได้ถ้าเรามีเงิน ตามกำลังทรัพย์ของเรา และในขณะเดียวกันมันมีอาหารล้นเหลือ บางทีล้นเหลือจนกลายเป็นขยะอาหาร ในขณะที่บางที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ แต่ระบบทุนนิยมที่มีกลไกตลาดกำกับทำให้อาหารกลายเป็นสินค้า”

ผศ.ดร.สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในวงเสวนา “ทุนนิยมอาหารกับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล : ปฏิบัติการบนปากท้องของผู้คน” จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆ นี้ อธิบายความหมายของ “ทุนนิยมอาหาร” พร้อมเปิดประเด็นชวนคิด 4 ประการ คือ


1.การเก็งกำไรและผูกขาดอาหาร ธุรกิจด้านอาหารถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีกำไรสูงมาก อย่างบริษัทระดับโลกบางแห่งมีแบรนด์สินค้าในเครือเป็นร้อยแบรนด์ สามารถทำกำไรจากการผูกขาดการบริโภคได้ และเพื่อการทำกำไรก็ต้องเร่งการบริโภค จึงพยายามออกสินค้าใหม่ๆ เข้ามาในตลาดตลอดเวลา รวมไปถึงการมีร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตอยู่ในเครือบริษัทอีก ดังนั้นทุกๆ การบริโภคจึงเป็นการสร้างความร่ำรวยให้คนบางคน ตั้งแต่วัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็นอาหารสำเร็จรูป และร้านสะดวกซื้อที่ขายสินค้าวัตถุดิบรวมถึงอาหารจานด่วน

คำถามคือ “แล้วจะกระจายผลกำไรจากบริษัทใหญ่ที่ครอบงำตลาดได้อย่างไร?” ซึ่งจากประสบการณ์ที่ไปใช้ชีวิตในประเทศออสเตรเลีย มีข้อสังเกตว่า ในละแวกที่พักอาศัยไม่มีร้านอาหารจานด่วน (ฟาสต์ฟู้ด) เนื่องจากมีกฎหมายกำหนดให้แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดตั้งได้เฉพาะในสถานีบริการน้ำมันและห้างสรรพสินค้า ส่วนในย่านชุมชนนั้นจะสงวนพื้นที่ไว้สำหรับร้านอาหารของผู้ประกอบการในชุมชน หรือในสหรัฐอเมริกา มีขบวนการของคนผิวดำและผิวสีในชุมชนระดับฐานราก เรียกร้องพื้นที่ผลิตอาหารของตนเองแทนการซื้ออาหารแช่แข็ง เป็นต้น

2.อาหารกับสุขภาพ เช่น เคยไปหมู่บ้านชาวประมงแม้จะจับสัตว์น้ำได้มาก แต่ด้วยอาหารทะเลมีราคาแพง ทำให้ชาวประมงเลือกที่จะขายสัตว์น้ำที่จับมาให้ร้านอาหารมากกว่าจะบริโภคเอง แล้วไปบริโภคปลาที่เลี้ยงในฟาร์มของบริษัทบางแห่ง คำถามคืออาหารจากธรรมชาติใครเข้าถึงได้บ้าง? หรือมีช่วงหนึ่งที่มีข่าวเนื้อหมูเถื่อนทะลักเข้ามาในประเทศไทย มีเวทีหนึ่งชวนไปพูดคุย สิ่งแรกที่ถามไปในเวทีนั้นคือมีข่าวแล้วยังบริโภคเนื้อหมูหรือไม่? ซึ่งก็ยังบริโภคอยู่ หากเป็นต่างประเทศนี่คงเป็นเรื่องใหญ่ แต่ในเมืองไทยปัจจุบันก็เงียบไปแล้ว

3.สิ่งแวดล้อม ธุรกิจอาหารมักเชื่อมโยงตั้งแต่กับผู้ผลิต (เกษตรกร) และบางครั้งก็ผูกขาดไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ อาหารสัตว์ ขณะที่เมื่อดูปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากการเผาทางการเกษตร แม้จะมีภาพดาวเทียมระบุจุดความร้อน แต่ภาพนั้นก็ไม่ได้บอกว่าเกษตรกรที่เผาเป็นหนี้บริษัทอาหารมาก-น้อยเพียงใด และจากปัญหาการเผานี้ก็ต้องตั้งคำถามกับรัฐถึงนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชด้วย และ 4.อาหารกับชนชั้น คนมีกำลังทรัพย์ 1 คนอาจกินอาหารจานเดียวได้ แต่คนที่ฐานะไม่ดี อาจต้องสั่งแบบกับข้าว 1 จานสำหรับแชร์กันทั้งครอบครัว

ขณะที่ อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงบทบาทของ “เทคโนโลยีดิจิทัล” ที่ซ้ำเติมปัญหาการผูกขาด เช่น แพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่นที่ด้านหนึ่งอำนวยประสิทธิภาพทางธุรกิจและทำให้ต้นทุนลดลง แต่อีกด้านก็ถูกตั้งคำถาม อาทิ ในช่วงแรกที่แพลตฟอร์มเริ่มให้บริการ ก็จะต้องสร้างปรากฏการณ์เครือข่าย (Network Effect) หมายถึงมีผู้ใช้บริการกลุ่มหนึ่งเข้าสู่ระบบแล้วจะเหนี่ยวนำให้มีผู้เข้ามาเพิ่มมากขึ้น เช่น แพลตฟอร์มเรียกรถโดยสาร หากมีผู้ให้บริการรถมาเข้าร่วมจำนวนน้อย คนก็จะไม่นิยมใช้บริการ

ดังนั้นแพลตฟอร์มก็ต้องเสนอค่าตอบแทนในอัตราสูงมากๆ เพื่อดึงดูดให้เจ้าของรถนำรถมาร่วมให้บริการ พร้อมไปกับการเสนอโปรโมชั่นราคาถูกมากๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ ยิ่งมีจำนวนรถมากการให้บริการก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีผู้ใช้บริการมากขึ้น แต่การสร้าง Network Effect ก็ต้องใช้ทุนมหาศาลในการบิดเบือนกลไกตลาด เพราะต้นทุนที่แท้จริงของแพลตฟอร์มสูงกว่ารายได้ที่ได้รับจากผู้ใช้บริการอย่างมาก รวมถึงขยายไปให้บริการอื่นๆ ที่หลากหลาย เช่น ส่งเอกสาร ส่งอาหาร ร้านค้าออนไลน์ ฯลฯ เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานให้เพิ่มขึ้น

ซึ่งแพลตฟอร์มก็มีทั้ง “ข้อดี” เช่น ความสะดวกสบายในการเข้าถึง โอกาสในการจ้างงาน การใช้ประโยชน์จากข้อมูลกิจกรรมต่างๆ บนแพลตฟอร์ม ทำให้ภาคเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ (Informal Economy) ที่ไม่เคยมีข้อมูล สามารถรับรู้ข้อมูลได้มากขึ้น แต่ก็มี“ข้อกังวล” เช่น การครอบงำผู้บริโภค (Manipulate) อาทิ รับโฆษณาร้านอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคมองเห็นได้ง่ายโดยร้านที่ถูกมองเห็นในลำดับแรกๆ ก็มีโอกาสที่ผู้ใช้บริการจะกดสั่งอาหารก่อนร้านลำดับรองๆ ลงไป การบริโภคจึงอาจไมได้มาจากความต้องการของผู้บริโภคเอง

“แพลตฟอร์มมีอำนาจเหนือตลาด เพราะสามารถกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแพลตฟอร์มกับไรเดอร์ กับร้านอาหาร และกับผู้บริโภคได้ ในแง่ดีมันอาจทำให้เกิดการจ้างงาน แต่งานที่จ้างผ่านแพลตฟอร์มมันก็จะเป็นงานที่ไม่ค่อยมีความมั่นคงเท่าไร แล้วจากช่วง 10 ปีหลังที่ผ่านมา ที่เริ่มมีแพลตฟอร์มเข้ามาให้บริการ แล้วก็ 6-7 ปีหลังที่เป็นแพลตฟอร์มสั่งอาหาร เราก็เห็นอย่างชัดเจนว่าแนวโน้มของการจ้างงานในแพลตฟอร์มมันก็มีความไม่เป็นธรรม ก็คือค่าตอบแทนลดลง ในขณะเดียวกันก็มีไอเดียให้คนทำงานมากขึ้น” อรรคณัฐ กล่าว

ด้าน บวร ทรัพย์สิงห์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกลุ่ม “หาบเร่แผงลอย”หรือการทำการค้าบนพื้นที่สาธารณะ เช่น ทางเท้า เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินค้า (อาทิ หากไม่มีหาบเร่แผงลอยก็อาจต้องเข้าไปในห้างสรรพสินค้า) ซึ่งถูกมองอย่างมีอคติกับเมือง ทั้งนี้ หาบเร่แผงลอย เป็นอาชีพที่ใช้ต้นทุนน้อยและรองรับสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าไปทำงานในระบบได้

เช่น ต้องหารายได้พร้อมไปกับดูแลสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่มพึ่งพิง (อาทิ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ) ซึ่งอีกด้านก็หมายถึงการที่คนเหล่านี้ไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐมากเกินไป อนึ่ง นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว หาบเร่แผงลอยยังมีประโยชน์ในด้านสังคม เช่น ทำให้ผู้คนในเมืองมีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งหาไม่ได้ในร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตหรือช่วยรักษาความปลอดภัยบนพื้นที่สาธารณะในยามค่ำคืน

“หาบเร่แผงลอยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน ผลิตภัณฑ์จากชุมชนมีโอกาสที่จะขาย ไม่จำเป็นต้องขายผ่านทุนใหญ่ที่จะเป็นระบอบอยู่แล้ว ทุนเล็กๆ สามารถนำผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มเล็กๆ มาขายได้ โดยหาบเร่แผงลอยนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมาแปรสภาพเพื่อที่จะขาย ก็ช่วยให้ห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้ได้สามารถทำงานที่นอกเหนือจากกลไกทุนนิยมปกติ” บวร กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:53 น. เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย
22:09 น. ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’
21:53 น. ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา
21:47 น. เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
21:09 น. 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ
บุคคลแนวหน้า : 11 พฤษภาคม 2568
บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

(คลิป) เจ๊ปอง เผย! 'ตั๋วกาสิโน 10 ใบ' ลอเรนซ์โอ-กอร์ดอน ถัง คนสนิทตระกูลชินวัตร

เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้

‘กมธ.ป.ป.ช.’ ซ้ำดาบฮั้ว สว.! เรียก‘กกต.-ผู้ร้อง’ให้ข้อมูลอุดช่องโหว่-สาวขบวนการ

‘สหรัฐฯ-จีน’ถกคลี่คลายศึกกำแพงภาษี ‘ทรัมป์’เผยเป็นนิมิตหมายอันดี

กระตุ้นคนตายเพิ่ม?! คำถามตัวโตๆถึง‘รัฐบาล’ ขายน้ำเมา 'วันพระใหญ่’

  • Breaking News
  • เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย
  • ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’ ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’
  • ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย\'ตำรวจ\'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา
  • เช็คผลที่นี่!!! \'เลือกตั้งเทศบาล\'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
  • \'หมอวรงค์\'สอนมวย\'นพดล\' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง\'คนชั้น 14\' 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

‘สวนสัตว์มนุษย์’ บาดแผลยุคอาณานิคม

‘สวนสัตว์มนุษย์’ บาดแผลยุคอาณานิคม

3 พ.ค. 2568

สร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

26 เม.ย. 2568

ประชากรโลก2พันล้านคน ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม

ประชากรโลก2พันล้านคน ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม

19 เม.ย. 2568

เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายเดิม แม้จะยกเลิก-แก้ไขไปแล้ว

เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายเดิม แม้จะยกเลิก-แก้ไขไปแล้ว

12 เม.ย. 2568

ระวัง‘ปาร์ตี้โฟม-ไฟรั่ว’ ภัยอันตรายช่วงสงกรานต์

ระวัง‘ปาร์ตี้โฟม-ไฟรั่ว’ ภัยอันตรายช่วงสงกรานต์

5 เม.ย. 2568

‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’  แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’ แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

29 มี.ค. 2568

สังคมไทยเริ่มตื่นตัว  สิทธิ‘ผู้ต้องหา-นักโทษ’

สังคมไทยเริ่มตื่นตัว สิทธิ‘ผู้ต้องหา-นักโทษ’

22 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved