วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
‘หนี้’ทุนชีวิตในสังคมเหลื่อมล้ำ

ดูทั้งหมด

  •  

“บูดิเยอร์มองทุนอยู่ 4 ประเภท คือ 1.Economic (ทุนทางเศรษฐกิจ) เรามีเงินมาก-น้อยแค่ไหน? 2.Social(ทุนทางสังคม) เมื่อเรามีเงินเราก็จะมีพรรคพวกเพื่อนฝูง เมื่อเรามีพรรคพวกเพื่อนฝูงเราจะมี 3.Symbolic Capital(ทุนเชิงสัญลักษณ์) เราจะพยายามทำตัวให้ดูโดดเด่นและมีความสามารถเฉพาะตัวเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเมื่อเรามีความสามารถเฉพาะตัวที่โดดเด่น เราจะเป็นผู้กำหนดวิถีของกลุ่ม เราเรียกว่า 4.Culture (ทุนวัฒนธรรม)และการเป็นผู้กำหนดวิถีของกลุ่มจะกลับไปทำให้เราสะสมทุนได้มากขึ้น แล้วก็วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ”

ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายหัวข้อ “วัฒนธรรมหนี้แบบไทยๆ” ในงานสัมมนาประจำปี 2567 หัวข้อ“แก้หนี้เกษตรอีสานอย่างไรให้ยั่งยืน” จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา โดยยกทฤษฎีของ ปิแอร์ บูดิเยอร์ (Pierre Bourdieu) นักสังคมวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง มาอธิบาย “ทุน 4 ประเภท” ที่เกี่ยวพันกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์


ตัวละครสมมุติที่อาจารย์ธานี ยกมาอธิบายให้เห็นภาพ คือ “เจ้แหวน” กับ “ป้าพร” เจ้แหวนเป็นคนมีฐานะค่อนข้างดีในชุมชน มีเงินเก็บพอสมควร มีความรู้สามารถติดต่อราชการได้ มีลูกชื่อกำไล สะท้อนความคิดที่อยากให้ลูกมีฐานะดีกว่าตนเอง (ของมีค่าที่มีขนาดใหญ่กว่าแหวนคือกำไล) ขณะที่ป้าพรมีฐานะไม่ค่อยดี ไม่มีเงินเก็บ หาเช้ากินค่ำ มีความรู้แค่พออ่านออกเขียนได้ มีลูกชื่อสมใจ สะท้อนความคิดเรื่องไม่มีทรัพย์สินแต่ก็หวังให้ลูกมีฐานะดีกว่าตนเอง (สมใจ = สมดังตั้งใจ)

แน่นอนว่า “ทั้งเจ้แหวนและป้าพรต่างก็อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น” แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ในกรณี “คนที่มีต้นทุนชีวิตต่ำ (แบบเดียวกับป้าพร)” ก็มีทั้งคนที่เลือกจะไม่กู้เงิน ก้มหน้าก้มตาทำงานรายวันโดยหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้น และมักจบลงด้วยความหมดหวัง ใช้ชีวิตไปวันๆ กับการซื้อหวย เล่นการพนัน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้อยคนมากที่จะพบฉากจบแบบมีความสุข และคนที่เลือกกู้เงินมาลงทุนทำอะไรสักอย่าง โดยเอาอนาคตไปเดิมพันกับความเสี่ยง

“ถ้าป้าพรผ่อนไหว ป้าพรจะมีชีวิตที่มีทุน ทุนป้าพรทำอะไร? มีบ้าน เป็นที่รู้จัก มีธุรกิจ ส่งลูกเรียนหนังสือ การศึกษาก็ไม่ได้ราคาถูก ต้องกู้มาส่งลูกเรียนหนังสืออีก ต้องทำการเกษตรที่ดีขึ้น หรือใช้จ่าย ป้าพรจะมีชีวิตที่มีทุนที่น่าจะดีขึ้น ถ้าป้าพรผ่อนไม่ไหวเกิดอะไรขึ้น? อาย! ก็ทนไปเรื่อยๆ ทนไม่ไหวก็หมดหวัง ทำใจ เข้าวัด ซื้อหวย
เข้าบ่อน กินเหล้า ยกเว้นเจ้าหนี้เอาความรุนแรงมาข่มขู่” อาจารย์ธานี กล่าว

เมื่อตัดสินใจที่จะกู้เงิน คนต้นทุนชีวิตต่ำแบบป้าพร การจะไปกู้กับธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีเอกสารหลักทรัพย์ อีกทั้งธนาคารก็ประเมินความเสี่ยงยากเพราะไม่รู้จักผู้ขอกู้ ขยันหรือเปล่าก็ไม่รู้ ต้นทุนการติดตามก็ไม่คุ้มเพราะเงินก้อนที่ให้ไม่มาก ดังนั้น ก็อาจเลือกกู้เงินกับแหล่งทุนนอกระบบ เช่น ป้าพรอาจไปขอกู้กับเจ้แหวน เพราะเจ้แหวนรู้ว่าป้าพรบ้านอยู่ที่ไหน ประกอบอาชีพอะไร และป้าพรก็อาจเจรจาขอส่งดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ไม่ต้องมีวันกำหนดส่งเงินต้นแบบกู้เงินกับธนาคาร เพราะอยู่ในศักยภาพที่ป้าพรจะจ่ายไหว

ในทางกลับกัน “คนที่มีต้นทุนชีวิตสูง (แบบเดียวกับเจ้แหวน)” จะมีทางเลือก โดยหากเลือกไม่ปล่อยให้ผู้อื่นกู้เงิน ก็อาจจะต้องคิดต่อว่าจะนำเงินที่มีไปลงทุนอะไรดี แต่หากเลือกปล่อยให้ผู้อื่นกู้เงิน ก็จะมีบทสรุปอีก 2 ทาง หากลูกหนี้ผ่อนไหว เจ้าหนี้ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี แต่ถ้าไม่ไหวก็อาจเริ่มจากการทวงถาม นินทา ไปจนถึงใช้ความรุนแรง ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแต่ก็ใช้ต้นทุนไม่มาก ดังนั้น แล้วการให้กู้อาจเป็นทางเลือกดีกว่า

ดังนั้น อาจมองได้ว่า “หนี้คือธุรกิจการให้เช่าเงิน ระหว่างคนที่มีกับไม่มีเงิน ในสังคมที่เหลื่อมล้ำ” เป็นเกมของธุรกิจที่ไม่ต้องการกลไกกำกับดูแลเงินระยะยาว แต่ต้องการทำกำไรระยะสั้น (เก็บดอก-ทวงหนี้) ทั้งนี้ สิ่งที่เจ้าหนี้แบบเจ้แหวนจะได้รับ นอกจากทุนทางเศรษฐกิจคือรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปีแล้ว ยังมีเพื่อนฝูง เป็นที่รู้จัก มีคนเกรงใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เอื้ออำนวยให้สามารถผลิตซ้ำการสะสมทุนได้อีก หมุนวนแบบนี้ไปเรื่อยๆ ขณะที่ลูกหนี้แบบป้าพร การกู้เงินก็ทำให้มีทุน มีสังคม เริ่มมีตัวตนแม้ไม่มีชื่อเสียง และมีที่พึ่งพิง (เจ้แหวน) หากเดือดร้อนเรื่องเงิน

จากรุ่นแม่สู่รุ่นลูก อาจารย์ธานี ยกตัวอย่างต่อไปคือ“กำไล” ลูกเจ้แหวน กับ “สมใจ” ลูกป้าพร ทั้งคู่ทำงานตำแหน่งเดียวกัน บริษัทเดียวกัน แต่แตกต่างกันตรงที่กำไลฐานะดีกว่า สามารถไปท่องเที่ยวสังสรรค์กับเพื่อนสมัยเรียนได้บ่อยๆ มีคอนโดมิเนียมในเมืองไม่ต้องผ่อน ในขณะที่สมใจฐานะไม่ค่อยดี เช่าอพาร์ทเมนท์อยู่นอกเมือง ต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน และไม่ค่อยไปเที่ยวสังสรรค์กับเพื่อนฝูงเพราะจ่ายแพงๆ บ่อยๆ ไม่ไหว ซึ่งแม้ทั้งคู่ต้องการมี “บัตรเครดิต” แต่ในกรณีนี้บัตรเครดิตจะมีความสำคัญกับสมใจมากกว่ากำไล

“ถ้าเรามองแบบนี้ กำไลเราอาจไม่เห็นทุนเศรษฐกิจเพราะอยู่ที่แม่เขา แต่กำไลมีเพื่อนฝูง เป็นที่รู้จักและอยู่ในวัฒนธรรมกลุ่มวนกลับไปเรื่อยๆ ในชีวิต สมใจไม่มีทุนเศรษฐกิจ เพื่อนฝูงก็ไม่ค่อยมีเพราะทำแต่งาน ไปกินข้าวแพงก็จ่ายไม่ไหว ไม่ค่อยมีใครนึกถึงเพราะหายไปเสมอ อยู่นอกวัฒนธรรมกลุ่ม ชีวิตไม่ Secure (มั่นคง) อะไรคือทางออก? บัตรเครดิตใบเดียวทำให้เขามีเพื่อน ถูกนึกถึง อยู่ในวัฒนธรรมกลุ่ม เราจะมีสังคมได้โดยที่ไม่มีทุนเลยจริงๆ หรือ? แล้วเราจะอยู่กับความอดทนแบบนั้นได้นานแค่ไหน? ในสังคมแบบนี้” อาจารย์ธานี อธิบาย

จากตัวอย่างทั้งรุ่นแม่และรุ่นลูก อาจารย์ธานี ให้ข้อสรุปว่า “การเป็นหนี้อาจไม่ใช่การทำบาป...และคนเป็นหนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนไม่ดี” อย่างกรณีของสมใจ อาจเป็นคนที่มีระดับการควบคุมตนเองในเกณฑ์ปกติ เพียงแต่อยู่ในโลกของทุนนิยมที่ไม่มีการกำกับอย่างเหมาะสม ลองนึกถึงชีวิตประจำวันของเราทุกคน ต้องเจอกับโฆษณาสิ่งต่างๆ ไม่รู้เท่าไร? ถามว่าเราต้องการความอดทนกันมากขนาดไหน?

“แล้วเรามองเห็นอะไรจากชีวิตของตัวละครเหล่านี้?”มี 3 เรื่อง คือ 1.มูลค่าหนี้ที่ไร้เหตุผล ในฝั่งป้าพรและสมใจ อาจมองว่าไม่มีเงินก็ก้มหน้าทำงานไปจะกู้เพื่ออะไร 2.ทุนทางเศรษฐกิจ คนอื่นอาจมองเจ้แหวนว่าทำสัญญาเงินกู้เอาเปรียบ แต่สำหรับป้าพรจะมองว่าเป็นที่พึ่งเพราะไม่มีใครอื่นช่วยได้ และ 3.ความไม่มีประสิทธิภาพ แม้จะเป็นธรรมชาติของการทำงานในระบบขนาดใหญ่ แต่อีกมุมก็มองเห็นปัญหาการเข้าไม่ถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์

“แต่หากมองในมุมนักเศรษฐศาสตร์การเมือง” จะเห็น 3 เรื่องเช่นกัน คือ 1.หนี้เป็นปลายทางของปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ความเหลื่อมล้ำ ทุนนิยมเอาเปรียบ กลไกรัฐไม่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนทางการเงินที่แพงเกินไป 2.หนี้ในฐานะของทุนนั้นมีหลายรูปแบบ และแปรเปลี่ยนได้สอดคล้องกับการสะสมทุนในความหมายที่กว้างกว่าทุนทางเศรษฐกิจ หรือก็คือคนเราอยากมีชีวิตที่ดีขึ้นและ 3.วัฒนธรรมหนี้ทำให้เกิดดุลยภาพทางสังคม(ในระยะสั้น) ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่กระจายทางเลือกให้ทุกคนอย่างไม่เป็นธรรม การที่คนเป็นหนี้ก็เพราะมีทางเลือกในชีวิตไม่มากนัก!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:00 น. ภาพล่าสุด'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้
08:45 น. ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ภาพล่าสุด'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

'ไพศาล'แทงสวน! หาก'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่'นั่ง'รมว.วธ.'ได้

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

  • Breaking News
  • ภาพล่าสุด\'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ\' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้ ภาพล่าสุด'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้
  • ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ\'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2\' \'นายกฯ\'ควบ\'รมว.วัฒนธรรม\' ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved