วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : การป้องกันการบาดเจ็บในการเล่นกีฬา

สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : การป้องกันการบาดเจ็บในการเล่นกีฬา

วันเสาร์ ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย
  •  

ณ วันแข่งขันสิ่งที่สำคัญที่สุดของนักกีฬา คือ ความสมบูรณ์ของร่างกาย ทั้งทางด้านกาย ใจ ต้องสมบูรณ์สุดขีด ต้องถึง peak ของความสมบูรณ์ ความสามารถ ศักยภาพของตนเอง ทางร่างกายต้องฟิตเต็มที่ กิน ดื่ม(น้ำ)มาดี นอนดี ไม่เป็นโรค ไม่มีอาการบาดเจ็บ ไม่ฝึกมากไป (over train) ต้องมีพละกำลังที่จะวิ่ง ไล่ ฟัด โดยไม่หมดแรง ต้องเตรียมมาเพื่อพร้อมที่จะแข่งขัน ถ้ามีการต่อเวลาเป็น 120 นาทีบวกๆ เพราะบางครั้งมีการทดเวลา 8-9 นาที!! พูดง่ายๆ ต้องเล่นโดยพละกำลังไม่ตกตลอดการแข่งขัน

และใจต้องนิ่ง มีสมาธิ แน่วแน่ ไม่ตื่นเต้น ไม่กลัวไม่ว่าจะเล่นที่บ้านของตนเอง หรือเล่นนอกบ้าน สมัยผมเป็นนักเรียนประจำที่สหราชอาณาจักร ต้องเล่นรักบี้ โรงเรียนเราก็เล็กมาก มีนักเรียน 100 กว่าคน เวลาไปแข่งที่โรงเรียนใหญ่ๆ มีนักเรียนมากกว่าเราหลายเท่า คนเชียร์ข้างเขายั้วเยี้ยไปหมด ผม(พยายาม)ไม่สนใจกับคนนอกสนาม เสียงเชียร์ โดยคิดว่าเราไม่ได้ยินเสียอย่าง คนนอกสนามไม่ได้มาแข่งด้วย ข้างละ 15 คนเท่ากัน (ตัวเขาอาจจะใหญ่กว่าเรา(มาก)ก็ชั่งมัน) มีนิ้ว 10 นิ้วเท่ากัน และเวลาใครได้ลูกผมคิดเสมอว่า อีกข้างเล่นคนเดียว ต้องวิ่งผ่านเราถึง 15 คน!! คิดบวกไว้ครับ จะจริงไม่จริงมันสบายใจดี


พละกำลังและจิตใจจึงสำคัญที่สุดในวันแข่ง ส่วนเทคนิคการเล่นถ้าไม่รู้วันนั้นก็สายไปแล้ว แต่อย่างอื่นๆ ก็สำคัญ ตั้งแต่การอุ่นเครื่อง ยืดตัว ฯลฯ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ เพื่อความพร้อมของร่างกาย ฯลฯ

พละกำลังจะมาจากแป้งที่อยู่ในร่างกาย ในรูปแบบของ glycogen ในการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ร่างกายจะเอาพลังงานมาจาก 2 แหล่งเท่านั้น คือ แป้งและไขมัน แป้งมีไว้ออกกำลังกายที่หนัก เร็ว เช่น วิ่ง 100-200 -400 เมตร ยกน้ำหนัก ส่วนไขมันมีไว้ออกกำลังเบาๆ เช่น ถ้านั่งเฉยๆ อาจใช้แป้ง 50% ไขมัน 50% แต่พอลุกขึ้นเดินไปเดินมา พูด ยกไม้ยกมือ อาจจะใช้แป้งเพิ่มจาก 50% เป็น 60% ไขมันเป็น 40% ฯลฯ

ประเด็นมีอยู่ว่า แป้งในร่างกายมีน้อย คือ มี glycogen ในตับ 100 กรัม ในกล้ามเนื้อมี 400 กรัม ซึ่ง 500 กรัม glycogen จะให้พลังงานเพียง 2,000 กิโลแคลอรี่ (500 x 4 กิโลแคลอรี่) ส่วนไขมัน ถึงแม้คน คนนั้นจะแทบมองไม่เห็นไขมัน ก็ยังมีพลังงานจากไขมันถึง 70,000 หน่วย ฉะนั้นนักกีฬาจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวในเรื่องการกินไขมันเพิ่ม

แต่ก่อนที่จะพูดถึงสารอาหาร ขอพูดถึงการเตรียมตัวตั้งแต่ต้นสำหรับการป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

1) การตรวจสุขภาพเพื่อดูแลความสมบูรณ์ การค้นหาโรคของนักกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่มาจากพันธุกรรม จากโรคหัวใจ (cardiomyopathy) ตั้งแต่กำเนิด ต้องซักประวัตินักกีฬา ตรวจร่างกายทั้งตัว ความดันโลหิต ส่วนสูง รอบเอว ดัชนีมวลกาย – body mass index, BMI ประวัติโรคต่างๆ ของครอบครัว การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ โรค ยาประจำตัว ฯลฯ

นักกีฬาไทยอาจมีโรคโลหิตจางจากหลายๆ สาเหตุถ้ามีต้องรีบแก้ไข การกินอาหาร ตรวจว่าขาดสารอาหารอะไร วิตามิน เกลือแร่ เกลือแร่ที่ขาดอาจเป็นแคลเซียมที่ปกติต้องกินวันละ 1 กรัม (1,000 มิลลิกรัม) แต่ประชาชนมักกินเพียง 500 มก. แหล่งแคลเซียมที่ง่ายที่สุด คือ นม ซึ่งนม 1 แก้วมีแคลเซียมประมาณ 300 มก. ฉะนั้นถ้าไม่แพ้นม ดื่มนมวันละ 4 แก้วก็เพียงพอแล้ว ถ้ากลัวไขมันสูงก็ดื่มนมที่ไม่มีไขมัน แต่นักกีฬาคงไม่ต้องกลัวไขมันสูง เพราะออกกำลังกายหนักอยู่แล้ว

วิตามินที่คนไทย หรือคนทั่วโลก ขาดคือ วิตามิน D วิตามิน D มีหน้าที่ช่วยดูดซึมแคลเซียม และยังมีผลดีต่อร่างกายในหลายๆ รูปแบบ เช่น ต่อกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบประสาท หลอดเลือด ภูมิคุ้มกัน รวมทั้งถ้าขาดอาจทำให้เกิดมะเร็งด้วย ปรากฏว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน ขาดวิตามิน D ถึง 45%

วิตามิน D มาจากการสร้างวิตามิน D ของร่างกายเมื่อถูกแดดโดย 90% มาจากวิธีนี้ อีก 10% มาจากสารอาหาร เช่น ปลาแซลมอน เห็ดแห้ง ฯลฯ แต่วิตามิน D ที่ได้จากอาหาร มักต้องกินเป็นกิโลๆ ทุกวัน วิตามิน D จากอาหารจึงไม่พอ ส่วนการถูกแดด ควรเป็นช่วงใกล้ๆ เที่ยงวัน ถึงแม้จะขอให้โดนแดดเพียง 20 นาที แต่คนไทย
น้อยคนที่จะสะดวก หรือยอมถูกแดดในช่วงเที่ยงวัน

ด้วยเหตุนี้ผมจึงมีความเห็นว่าคนไทยทุกคน โดยเฉพาะนักกีฬา ผู้สูงอายุควรตรวจเลือดหาระดับวิตามิน D ในเลือด ซึ่งผมมั่นใจว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของชาวไทยจะขาดวิตามิน D และเมื่อขาดควรกินวิตามิน D แต่ไม่ควรกินวิตามิน D โดยไม่ได้ตรวจเลือด

ร่างกายต้องการวิตามิน D เพียง 800 I.U. ต่อวัน แต่วิตามิน D มีจำหน่ายที่ 20,000 I.U. ในราคาที่ถูกมาก คือประมาณ 4-5 บาทที่ รพ.จุฬาฯ แพทย์มักให้กิน 1 เม็ด (20,000 I.U.) ทุกสัปดาห์ หรือทุก 2 สัปดาห์ อย่างผมเองพบว่ากิน 1 เม็ด ทุก 6 วัน กำลังดีสำหรับตัวผม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : ความสูง 191 ซม.ของบูม-กษิดิศ ท่านได้แต่ใดมา? (ตอนที่ 1) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : ความสูง 191 ซม.ของบูม-กษิดิศ ท่านได้แต่ใดมา? (ตอนที่ 1)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : จะออกกำลังกาย มีชุดแล้ว...มีความรู้เรื่องโภชนาการการกีฬา (แล้ว) หรือยัง? (ตอนที่ 2) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : จะออกกำลังกาย มีชุดแล้ว...มีความรู้เรื่องโภชนาการการกีฬา (แล้ว) หรือยัง? (ตอนที่ 2)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : New Year’s Resolution ตั้งเป้าหมายใหม่ยังไง?..ให้ปังและไม่พัง สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : New Year’s Resolution ตั้งเป้าหมายใหม่ยังไง?..ให้ปังและไม่พัง
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 2) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 2)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 1) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 1)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาโอลิมปิกกินอะไรกัน? สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาโอลิมปิกกินอะไรกัน?
  •  

Breaking News

มิตรภาพแน่นแฟ้น! 'ปูติน-สี จิ้นผิง'ร่วมชมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะ

อดทนต่อคำปรามาส! 'นิพิฏฐ์'ขอบคุณทุกฝ่าย ยืนหยัดต่อสู้'คดีชั้น 14'

มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 9-15 พ.ค.68

(คลิป) แนวหน้าTAlk : 'กูพูดไม่ได้' ย้อนอดีตเพื่อนรัก สุรนันทน์ ถึง บุญทรง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved