วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...เบญจมาส เป็งเรือน
ลงมือสู้โกง โดย...เบญจมาส เป็งเรือน

ลงมือสู้โกง โดย...เบญจมาส เป็งเรือน

เบญจมาส เป็งเรือน
วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
‘แรงงาน’ไม่ใช่‘สินค้า’ในระบบเศรษฐกิจ

ดูทั้งหมด

  •  

เราทุกคนคงจะคุ้นชินกับคำถามที่ว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” ไม่ว่าคำตอบจะเป็นครู หมอ ทหาร หรือตำรวจ ทุกคนต่างใฝ่ฝันถึงอาชีพที่มั่นคง มีอนาคตที่ดี และได้รับค่าตอบแทนที่สูง แต่อย่างไรก็ดีอาชีพเหล่านี้สะท้อนถึงอาชีพที่ต้องใช้ทักษะ ความรู้ในวิชาชีพ ความสามารถเฉพาะด้าน รวมถึงการใช้แรงงาน และแรงกาย

แต่เมื่อไรก็ตามเมื่อกล่าวถึง “แรงงาน” โดยตรง หลายๆ จะนึกถึงภาพผู้ใช้แรงงาน คนงาน ลูกจ้าง แม่บ้าน แรงงานก่อสร้าง รวมไปถึงแรงงานต่างด้าว ซึ่งการนิยามตามความหมายเหล่านี้มักจะสะท้อนออกมาจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและกำลังแรงงาน หรือนายจ้างและลูกจ้าง ในทางเศรษฐกิจนั่นเอง


ในทางเศรษฐกิจจะต้องประกอบไปด้วยกระบวนการผลิต ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์กระบวนการผลิตจะต้องอาศัยปัจจัยการผลิต 4 ประเภท อันได้แก่ ที่ดิน (Land) ทุน (Capital) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) และแรงงาน (Labour) ซึ่งแรงงานนับว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่มีส่วนสำคัญที่มาจากการกระทำของมนุษย์ เช่น แรงกาย สติปัญญา เพื่อก่อให้เกิดผลในทางเศรษฐกิจในรูปของกำไร ค่าจ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมระหว่างผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและกำลังแรงงาน

จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น “แรงงาน” จึงมีสภาพไม่ต่างจากการเป็น “สินค้า” ในลักษณะของการเอารัดเอาเปรียบ การถูกเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะจากกลุ่มทุน หรือนายจ้าง โดยใช้วิธีการขูดรีดด้วยค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน สภาพการทำงาน การไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลา รวมถึงความมั่นคงในการทำงาน

บทความนี้จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ และทำความเข้าใจปัญหา “แรงงาน” ผ่านแนวคิดเชิงวิพากษ์แบบมาร์กซิสม์ (Marxism) โดยเป็นมุมมองที่มุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมกับพลังทางเศรษฐกิจ ซึ่งการผลิตแบบนายทุนจะมีลักษณะกดขี่ผู้ใช้แรงงานในกระบวนการผลิตสินค้า โดยเฉพาะในโครงสร้างเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์ที่นายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ส่วนแรงงานเป็นผู้สร้างมูลค่าของสินค้าและบริการ โดยมีนายทุนเป็นผู้ขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน (Surplus Value Exploitation) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของแรงงานซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าที่แรงงานได้รับจากค่าแรง นอกจากนี้ นายทุนยังต้องอาศัยโครงสร้างส่วนบน (super structure) อันได้แก่ กฎหมาย ค่านิยม กลไกรัฐ ระบอบการเมือง เพื่อให้ระบบนายทุนสามารถดำเนินการสะสมทุนต่อไปได้ในสังคม

“แรงงาน” บนเส้นทาง “สายพานการผลิต”

ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยมักจะขับเคลื่อนผ่าน “กลไกของรัฐ” (State Apparatus) ในการปลูกฝัง ครอบงำทางสังคม ผ่านวาทกรรม “นโยบายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” (Economic Stability Policy) ซึ่งนโยบายเหล่านี้มุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทั้งระดับราคาภายในรวมถึงการรักษาดุลการค้ากับต่างประเทศในระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ รวมถึงการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันโดยใช้ “กลไกเชิงนโยบายเพื่อกดค่าแรงขั้นต่ำ” เป็นที่มาของวาทกรรมที่ว่า “แรงงานเป็นผู้เสียสละ” ในขณะที่มูลค่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจตกอยู่กับรัฐและกลุ่มนายทุน (กมเลศ โพธิกนิษฐ, พัชรินทร์ สิรสุนทร และวัชรพล พุทธรักษา. 2560) โดยภายใต้วาทกรรมเหล่านี้กลุ่มทุนไทยสามารถที่จะเติบโตและแสวงหากำไรส่วนเกินได้ด้วยการใช้แรงงานราคาถูก รักษาอัตราค่าจ้างให้คงที่เพื่อสามารถแสวงหากำไรในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงขอพาผู้อ่านทุกท่านย้อนเวลากลับไปในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีการประกาศเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจาก 159-221 บาท/วัน เป็น 222-300 บาท/วัน จนกระทั่งในปี 2556 ก็ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้งใน 70 จังหวัด ทำให้ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทยมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากัน อยู่ที่ 300 บาท/วัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300-310 บาท/วัน และปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้งในปี 2561 เป็น 308-330 บาท/วัน แต่อย่างไรก็ดีในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคพลังประชารัฐได้ประกาศนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400-425 บาท/วัน แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามนโยบายดังกล่าว

แม้ว่าค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยจะมีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่สูงกว่าค่าแรงในกลุ่มประเทศ CLMV อันประกอบไปด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม แต่อย่างไรก็ดีค่าแรงขั้นต่ำของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังเพิ่มขึ้นช้ากว่ากลุ่มประเทศ CLMV นับตั้งแต่ปี 2556 ประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งใหญ่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี ต่างจากกลุ่มประเทศ CLMV ที่ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3-16 ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน (สุจิต ชัยวิชญชาติ, ก้องภพ วงศ์แก้ว, ลูกหิน วราโชติเศรษฐ์. 2561)

อำนาจต่อรองที่ลดลง ชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มขึ้น

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าในปี พ.ศ. 2564 มีการจ้างงานจำนวนทั้งสิ้น 37.9 ล้านคน ลดลงร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 6.3 แสนคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7.3 แสนคน และลดลงจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวน 8.7 แสนคน เป็นการลดลงของผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนซึ่งลดลงถึงร้อยละ 21.7 ขณะที่แรงงานใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งมีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 49.3 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสอง ปี 2563 โดยตัวเลขอัตราการว่างงานเหล่านี้เป็นกลไกทางเศรษฐกิจสำคัญที่รัฐและนายทุนร่วมกันใช้เพื่อบั่นทอนอำนาจต่อรองของแรงงาน (กมเลศ โพธิกนิษฐ, พัชรินทร์ สิรสุนทร และวัชรพล พุทธรักษา. 2560) ทั้งจำนวนตัวเลขผู้ว่างงานที่ยังอยู่ในระบบจำนวนมาก รวมถึงแรงงานใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นการช่วยลดทอนอำนาจต่อรองของแรงงานและเป็นเครื่องมือที่รัฐใช้ในการควบคุมแรงงานได้มาตลอดหลายสิบปี

นอกจากนี้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติด้านภาพรวมของชั่วโมงการทำงานภาคเอกชนของปี 2564 ได้มีการระบุว่าอยู่ที่ 44.4 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นจาก 43.2 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในปี 2563 สะท้อนนัยการมีอำนาจของนายจ้างที่มีต่อแรงงานในการควบคุมชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างที่มีการปรับขึ้นในอัตราที่ต่ำ ดังนั้นแล้วภายใต้แนวนโยบายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Stability Policy) การลดต้นทุนการผลิตและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังกล่าว รัฐจึงมักเลือกใส่ใจในผลประโยชน์ของกลุ่มทุนมากกว่าผู้ใช้แรงงานผ่านการลดอำนาจการต่อรองของแรงงานลดลง (ปกป้อง จันวิทย์, 2547: 85-90) ส่งผลให้การขูดรีดเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ อย่างเป็นระบบภายใต้วาทกรรม “แรงงานเป็นผู้เสียสละ” ของรัฐไทยที่ไม่สอดคล้องกับหลักมนุษยนิยมและเปิดโอกาสให้ระบบทุนนิยมได้ดำเนินการสะสมทุนอย่างต่อเนื่อง

ทบทวนการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิแรงงาน

จากสภาพปัญหาของแรงงานในระดับประเทศและแรงงานทั่วโลกตามที่กล่าวมา ทำให้องค์การสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรเอกชน ร่วมกันออกแบบเครื่องมือในการป้องกันผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากธุรกิจ ตลอดจนกำหนดให้มีการเยียวยาเมื่อเกิดความเสียหายต่อสิทธิของประชาชน ด้วยข้อเสนอที่เรียกว่าหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) ทำให้เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2565) หรือ National Action Plan on Business and Human Rights (แผน NAP) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 และได้นำเอาหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) มาปรับใช้เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีความเติบโตอย่างยั่งยืน มีธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (Environmental, Social and Governance: ESG) รวมถึงการลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

พร้อมกันนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. จึงได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) และกลไกเยียวยา เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทจะไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผ่านการรายงานในแบบ 56-1 One Report โดยเริ่มบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2565 นี้

เครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับธรรมาภิบาลให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยการปรับหลักการสากลมาใช้ให้สอดคล้องกับหน่วยงานภายในประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่นอกจากจะยกระดับประเด็นด้านธรรมาภิบาลในประเด็นแล้ว ภาคเอกชนยังได้หันมาทบทวนการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิแรงงาน เช่น ไม่มีสัญญาจ้าง การจ้างงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายแรงงาน รวมถึงการขัดขวางจัดตั้งสหภาพแรงงาน อีกด้วย

นอกจากเครื่องมือการทบทวนการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยยกระดับด้านธรรมาภิบาลในภาคเอกชนแล้วนั้น ในปัจจุบันยังมีเครื่องมือที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ Handcheck เป็นเครื่องมือที่ใช้การประเมินสุขภาพขององค์กร ตรวจสอบการทำงานภายในองค์กร จัดทำโดย HAND Social Enterprise ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมด้านธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

จากสภาพปัญหาและความสนใจดังกล่าวทำให้ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสนใจการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งแม้แต่ประเทศไทยยังมีการรับเอาแนวคิดเหล่านี้เข้ามาปรับใช้กับการดำเนินงานในประเทศเพื่อให้ทันสมัยและเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าประเด็นธรรมาภิบาลแม้ว่าจะมีการพูดคุยเรื่องเหล่านี้มาอย่างยาวนาน แต่จนถึงปัจจุบันประเด็นเหล่านี้ยังไม่เคยหายไปจากสังคมและไม่ได้เก่าไปสำหรับการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ และนับวันการตระหนักถึงการเป็นองค์กรหรือบริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้ไปสู่สังคมที่ดีและอนาคตที่ดีได้

 

เบญจมาศ เป็งเรือน Hand Social Enterprise

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
10:30 น. 'สุชาติ'เข้าทำเนียบวันแรก สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาฤกษ์
10:23 น. 'พิชัย'เผย ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมต่อสหรัฐฯ ย้ำรอพิจารณา
10:18 น. ล้วงย่ามพระ!‘สุชาติ’เล็งตั้ง‘ธนาคารพุทธศาสนา’ ดูแลทรัพย์สิน-แยกเงิน‘สงฆ์-วัด’
10:15 น. วิเคราะห์เจาะลึกผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ 'ดร.รุ่ง' หรือ 'วิทัย' ใครเหมาะคุมเสถียรภาพเศรษฐกิจ?
10:05 น. ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง
ดูทั้งหมด
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
นักการเมิอง มนุษย์ประเภทไหน
ทางออกที่ไม่มีใครได้อะไรเต็ม 100% แต่ประเทศชาติไม่ตกหุบเหววิกฤต
บุคคลแนวหน้า : 7 กรกฎาคม 2568
บทบรรณาธิการ 7 กรกฎาคม 2568
งกครองโลก (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'พิชัย'เผย ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมต่อสหรัฐฯ ย้ำรอพิจารณา

ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง

'ภูมิธรรม'บ่ายเบี่ยง! บอกไม่ทราบชงถอนร่างเอนเตอร์เทนเมนต์ฯ พรุ่งนี้หรือไม่

ญี่ปุ่นช็อก! คุณหมอ-นักธุรกิจหนุ่มวัย29ดับกะทันหัน ชาวเน็ตขุดโพสต์เก่าพบนอนวันละ3ชม.

'ภูมิธรรม'ย้อนถาม 'ปชน.' แน่ใจแล้วหรือ จับมือ'ภท.'ดัน'อนุทิน'นั่งนายกฯชั่วคราว

'ปราสาทตาควาย'คนตรึม! นทท.ไทยเตือน'ชายพิการ'ระวังลื่นล้ม เจอฟาดกลับ'ล้มก็ล้มบนแผ่นดินเขมร'

  • Breaking News
  • \'สุชาติ\'เข้าทำเนียบวันแรก สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาฤกษ์ 'สุชาติ'เข้าทำเนียบวันแรก สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาฤกษ์
  • \'พิชัย\'เผย ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมต่อสหรัฐฯ ย้ำรอพิจารณา 'พิชัย'เผย ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมต่อสหรัฐฯ ย้ำรอพิจารณา
  • ล้วงย่ามพระ!‘สุชาติ’เล็งตั้ง‘ธนาคารพุทธศาสนา’ ดูแลทรัพย์สิน-แยกเงิน‘สงฆ์-วัด’ ล้วงย่ามพระ!‘สุชาติ’เล็งตั้ง‘ธนาคารพุทธศาสนา’ ดูแลทรัพย์สิน-แยกเงิน‘สงฆ์-วัด’
  • วิเคราะห์เจาะลึกผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ \'ดร.รุ่ง\' หรือ \'วิทัย\' ใครเหมาะคุมเสถียรภาพเศรษฐกิจ? วิเคราะห์เจาะลึกผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ 'ดร.รุ่ง' หรือ 'วิทัย' ใครเหมาะคุมเสถียรภาพเศรษฐกิจ?
  • ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาคอร์รัปชันอยู่ตรงไหนในระบบทุนนิยมไทย

ปัญหาคอร์รัปชันอยู่ตรงไหนในระบบทุนนิยมไทย

28 ก.ย. 2565

‘แรงงาน’ไม่ใช่‘สินค้า’ในระบบเศรษฐกิจ

‘แรงงาน’ไม่ใช่‘สินค้า’ในระบบเศรษฐกิจ

18 พ.ค. 2565

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved