วันเสาร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...ทวิตียา บูรณเกียรติศักดิ์
ลงมือสู้โกง โดย...ทวิตียา บูรณเกียรติศักดิ์

ลงมือสู้โกง โดย...ทวิตียา บูรณเกียรติศักดิ์

ทวิตียา บูรณเกียรติศักดิ์
วันพุธ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
เด็ก ดี (เพรส) : ปัญหาภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าในเด็กพิการ

ดูทั้งหมด

  •  

“ภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้า” อาจไม่ใช่คำใหม่ในช่วง 2-3 ปีให้หลังมานี้ กลุ่มคนวัยเรียนและวัยทำงานเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้นมีทั้งจิตแพทย์และผู้ที่มีประสบการณ์การรักษามาแบ่งปันความรู้ แนวทางการสังเกตตัวเอง แนะนำวิธีป้องกันอย่างที่เราอาจเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างเพราะต่างก็ทราบกันดีว่าความเจ็บป่วยทางจิตใจถึงแม้จะไม่ได้ก็ให้เกิดการสูญเสียโดยตรง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและพรากความสุขไปจากผู้ป่วยได้ 

ทว่าเมื่อมองจากมุมของเด็กที่มีความพิการแล้วภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้ากลับกลายเป็นเรื่องที่แสงแห่งความสนใจแทบจะไม่เคยส่องไปถึงเลย จากสถิติตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปลายปี 2565 ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่า ประเทศไทยมีคนพิการรวมทั้งสิ้นกว่า 2.1 ล้านคนนับจากผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ในจำนวนนั้นมีเด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา 1.3 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 63แต่ที่น่าเป็นห่วงคือในจำนวนเด็กนับล้านนี้มีเด็กจำนวนไม่น้อยเลยที่ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าอยู่ ความเป็นจริงอันน่าเศร้านี้ถูกสะท้อนด้วยข้อมูลจากการศึกษาการสำรวจภาวะซึมเศร้าในเด็กพิการทางการมองเห็น อายุ 12-17 ปี ในโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา) และกรุงเทพฯ จำนวน 215 คน พบว่าร้อยละ 22.2 มีภาวะซึมเศร้า และต้องการความช่วยเหลือเรื่องการปรึกษาทางสุขภาพจิต (เบญจพร ปัญญายง, ตติยา ทุมเสน, 2545) และการศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักเรียนพิการทางการได้ยินชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มนักเรียน พิการทางการได้ยินสูงถึงร้อยละ 57.3 โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (จตุรพร แสงกูล, กนกวรรณ โมสิกานนท์, 2559) อีกหนึ่งข้อค้นพบที่น่าสนใจจากการศึกษาทั้งสองคือปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า พบว่า 1 ใน 3 อันดับแรกของทั้งสองการศึกษาเป็นเรื่องครอบครัว ทั้งพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว และพ่อแม่ของเด็กจึงอาจอนุมานได้ว่านอกจากสถานศึกษาที่ควรมีนโยบายการดูแลจิตใจของเด็กแล้วสถาบันครอบครัวของเด็กพิการก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่รัฐควรให้ความสำคัญและใส่ใจดูแลด้วย


การนำเสนอปัญหานี้ไม่ใช่การตราหน้าว่าเป็นความล้มเหลวของใครแต่เป็นเพราะเราต่างก็อยากเห็น สังคมที่ทุกคนถูกมองเห็นในฐานะมนุษย์เสมอกัน

เริ่มด้วยตัวชี้วัดผู้ป่วยที่ถูกกำหนดด้วย “ช่วงวัย”ผู้ป่วยเด็กหลายคนจึงไม่ถูกนับเข้าในสถิติ

ตามนิยามระบบคลังข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขนั้นผู้ป่วยซึมเศร้าคือประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โรคจิตเวชที่พบบ่อยในเด็กคือโรคสมาธิสั้น ภาวะการเรียนรู้บกพร่อง และพัฒนาการช้า ดังนั้น ตัวชี้วัดในกลุ่มเด็กจึงถูกกำหนดตามโรคเหล่านี้ ซึ่งในสภาพการณ์จริงอ้างอิงจากข้อมูลของสายด่วนกรมสุขภาพจิตพบว่าผู้เข้ารับบริการมีอายุเริ่มต้นที่ 10 ขวบเศษๆ อีกทั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เราก็มักจะเห็นข่าวการสูญเสียในเด็กและเยาวชนจากปัญหาสุขภาพจิตโดยหลายกรณีมักมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าแต่เรากลับคว้าพวกเขาไว้ไม่ทัน คงจะดีหากมีการปรับตัวชี้วัดที่เดิมถูกคิดจากจิตแพทย์ผู้ใหญ่มาเป็นตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดผ่านการมีส่วนร่วมของจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาอื่นด้วย

เมื่อตัวชี้วัดดังกล่าวยังไม่มีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์และตัวเลขจริง เด็กไทยหลายคนไม่ถูกจัดเข้ากลุ่มผู้ป่วย คงไม่ต้องพูดถึงกลุ่มเปราะบางอย่างเด็กพิการทั้งเด็กพิการที่เข้าศึกษาในโรงเรียนทั่วไปและโรงเรียนเพื่อผู้พิการ ท้ายที่สุดเมื่อประเด็นนี้แทบไม่ถูกรับรู้ถึงการมีอยู่ตั้งแต่แรก จึงนำมาสู่ความท้าทายอีกข้อคืองานวิจัยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าในเด็กพิการ

การศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าในเด็กพิการมีจำนวนจำกัด

จากความพยายามในการค้นคว้างานวิจัยหรือบทความที่มีประเด็นการศึกษาในเรื่องภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าในเด็กพิการในไทย พบว่า มีจำนวนไม่มากนัก อาจจะด้วยเงื่อนไขความอ่อนไหวของประเด็นและกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ความเข้มงวดของกระบวนการพิจารณา และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้นักวิจัยในบ้านเราไม่สามารถลงไปศึกษาประเด็นนี้ได้อย่างกว้างขวาง

ส่วนในต่างประเทศได้มีการศึกษาประเด็นโรคทางจิตเวชในเด็กและวัยรุ่นทั้งที่มีและไม่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disability) ในประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ และ เวลส์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่ว่าการศึกษาในประเด็นนี้ยังมีน้อยโดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเด็กที่มีและไม่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเกี่ยวกับความชุกของโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวชอื่นๆ และผลสรุปยังกล่าวอีกว่าเด็ก และวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อโรคจิตเวช การพิจารณาถึงปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ครอบครัวของเด็กเผชิญอยู่เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าการสนับสนุนต่างๆ จะตรงกับความต้องการของทั้งเด็กและครอบครัวเอง (Emerson, Square, 2540) ผลการศึกษานี้ยังเป็นเครื่องเน้นย้ำชั้นดีว่าเมื่อโรคซึมเศร้าไม่ได้เลือกผู้ป่วย ทั้งเด็กที่มีและไม่มีความบกพร่องทางสติปัญญาต่างก็กลายเป็นผู้ป่วยได้ดังนั้นการป้องกันและเยียวยาก็ไม่ควรถูกแบ่งแยกเช่นเดียวกัน

การศึกษาเปรียบเทียบในลักษณะนี้ก็เป็นอีกประเด็นหัวข้อที่น่าสนใจและการทำวิจัยในแง่มุมที่หลากหลายภายใต้ร่มภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าในเด็กพิการก็ถือเป็นแนวทางที่หวังว่าจะได้เห็นจากนักวิจัยไทยในอนาคต

การทำงานของกระทรวงศึกษาธิการด้านสุขภาพจิต

หากจะพูดถึงเด็กประถมศึกษาแต่ไม่พูดถึงโรงเรียนก็คงเป็นไปไม่ได้ และหากจะพูดถึงโรงเรียนก็คงต้องพูดถึงกระทรวงศึกษาธิการด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ การสำรวจสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนไทยโดยรวม พบว่ามีแนวโน้มมีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อย ๆ กระทรวงศึกษาธิการก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เริ่มมีการนำแอปพลิเคชัน School Health HERO เข้ามาใช้ในโรงเรียนเพื่อช่วยเฝ้าระวังและส่งต่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่เพียงแค่ครูเท่านั้นที่ใช้ได้แต่ผู้ปกครองที่สังเกตเห็นอาการของเด็กก็สามารถใช้เช่นกัน ข้อมูล ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2565 มีนักเรียนที่ได้รับการเฝ้าระวังแล้ว 432,668 คน จากจำนวนนักเรียนทั่วประเทศกว่า 7 ล้านคน มีการขอรับการปรึกษามาแล้ว 4,962 ราย อยู่ระหว่างการดูแลช่วยเหลือ นอกจากความช่วยเหลือจากครูและผู้ใกล้ชิดนักเรียนสามารถเข้าใช้งานระบบ Mental Health Check-in ได้ทาง www.วัดใจ.com เพื่อประเมินสุขภาพจิตตนเอง และขอรับการปรึกษาจากบุคลากรด้านสุขภาพจิตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตามเราสามารถวางใจว่าประเด็นนี้ได้รับการแก้ไขแล้วก็คงจะพูดได้ไม่เต็มปาก เมื่อยังไม่ทราบว่าในจำนวนสี่แสนกว่าคนนั้นรวม
นักเรียนที่มีความพิการเข้าไปแล้วหรือยัง คุณครูในโรงเรียนเฉพาะความพิการได้รับรู้เรื่องนี้หรือไม่ และเว็บไซต์ www.วัดใจ.com เองก็เหมือนจะไม่ได้รองรับการใช้งานจากนักเรียนที่เป็นคนพิการด้วย เป็นที่น่าสงสัยว่านี่คือการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่หากไม่ได้สนับสนุนผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

ทั้งหมดทั้งมวลที่ได้กล่าวมานี้อาจเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของปมปัญหาที่ถูกมองข้ามมาอย่างยาวนาน เราไม่ได้ต้องการเรียกร้องความสงสารให้แก่เด็กกลุ่มนี้เพราะพวกเขาต่างก็มีสิทธิ เกียรติและศักดิ์ศรีเสมอกับเราทุกคน ปัญหาและความทุกข์ใดก็ตามที่เกิดขึ้นกับเขาไม่ใช่เรื่องเล็ก นอกจากการทบทวนตัวชี้วัดผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องได้รับปรับปรุง และเครื่องมือด้านการสอดส่องดูแลสุขภาพจิตที่ต้องปรับให้รองรับผู้ใช้งานทุกกลุ่มก็ยังมีก้าวใหม่ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการโดยเร็วอีกเช่นกัน

นั่นก็คือการสนับสนุนให้เกิดสำรวจสุขภาพจิตในเด็กพิการทุกประเภทและจัดทำสรุปเป็นข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ หน่วยงานเอกชนหรือองค์กรอื่นๆ ก็จะสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาโครงการ กิจกรรมหรือนวัตกรรมที่จะเข้ามาเสริมกลไกการแก้ไขปัญหาได้และอาจเกิดเป็นความร่วมมือกันเพื่อขยายผลได้ ภาครัฐเองควรเปิดพื้นที่รับฟังปัญหาในประเด็นภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าในเด็กพิการโดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมาพูดคุยและหาทางออกร่วมกันก่อนนำมาสังเคราะห์เป็นนโยบายเพื่อบังคับใช้ต่อไปเพราะเมื่อใดก็ตามที่นโยบายถูกออกแบบจากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องจริงเมื่อนั้นมันจะทำงานได้อย่างแท้จริง สุดท้ายเมื่อมีข้อมูลเปิด มีนโยบายจากการมีส่วนร่วม ก็ควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรทางการศึกษาที่ทำงานกับเด็กพิการโดยตรงเพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการสอดส่องดูแลและเป็นหน่วยช่วยเหลือที่ไวและใกล้ที่สุดเมื่อเด็กต้องการ นี่เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นจากการเห็นปัญหาในระดับสายตาของพลเมืองเท่านั้น เชื่อว่าหากมองจากมุมอื่นๆ ก็คงจะทางออกที่หลากหลายขึ้นเช่นกัน

ทวิตียา บูรณเกียรติศักดิ์ HAND Social Enterprise

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
06:00 น. ‘พิชัย’โวเจรจาภาษีสหรัฐราบรื่น คาดเก็บไทย20% ลุ้นประกาศก่อนเส้นตาย1ส.ค.นี้
06:00 น. ‘ไมค์ ภิรมย์พร’ รับไม้ต่อเพลงประกอบละคร‘ผาแดง นางไอ่’ เพลงที่ 2 ‘บ่วงฮัก’
06:00 น. ‘มท.1’สั่งอธิบดีปภ. พร้อมรับมือน้ำท่วม ฝนถล่มหนักทั่วไทย ห่วงพายุลูกใหม่‘วิภา’
06:00 น. ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา มอง‘ทักษิณ’คนตกยุคทางการเมือง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ไม่ปรับใหญ่อยู่ยาก
06:00 น. ‘บิ๊กเล็ก’ไม่นิ่ง ฮึ่ม!ผลสอบชัดระเบิดใหม่ ‘ทบ.’ปูนบำเหน็จ3ทหาร
ดูทั้งหมด
ชุดทหารพรานก็ไม่รอด!! เขมรแต่งเครื่องแบบคล้ายชุดทหารพรานไทย สวนสนามต้อนรับ'ฮุน มาเนต'
ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน
(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า
‘ไพศาล’ปูดตั้ง‘วิษณุ’หัวหน้าทีมแก้ต่างคดี‘คลิปเสียง’ เปรียบรัฐบาลใช้ช่างทำรองเท้าไปทำฟัน
'ผอ.พศ.'แจงแล้ว! ปม'บิ๊กเต่า'สวดไม่จริงใจแก้ปัญหา ยันทำตามหน้าที่ ไม่ใช้ความรู้สึกตัดสิน
ดูทั้งหมด
นายกฯ ตัวจริง คือนักโทษพักคดี
บุคคลแนวหน้า : 19 กรกฎาคม 2568
ป่าช้าแตก
พม่าจัดเลือกตั้งปลายปีนี้ไทยควรสนับสนุนด้วยความยินดี
โกงไปจนวันสิ้นอำนาจรัฐ หรือหมดลมหายใจ
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตกปลาทั้งคืนไหว! เช้าขับรถกลับบ้านหลับในหวิดตกสะพาน

โจรขโมย'หลวงพ่อพระเบา'พระพุทธรูปคู่อ.หนองหาน ชาวบ้านเชื่อไม่เกิน7วันได้คืน

'รอง ผอ.พศ.'แนะมองลึกกว่าข่าวฉาว แยกแยะ'จีวรจากใจ' ย้ำ'พุทธศาสนาไม่เคยสึกไปพร้อมใคร'

'ลอนดอน'ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป! 'คนไทย'เตือนภัยโจรใช้วัตถุคล้ายระเบิดทุบกระจกรถก่อนฉกทรัพย์

‘เจิมศักดิ์’สวน‘ทักษิณ’ชงถมทะเล ย้อนฟังนักวิชาการเคยเตือนแล้วทำเมื่อไรกระทบสิ่งแวดล้อมแน่

โนหนึ่งโลก! 'จีน'ผงาดค้นพบแร่แรร์เอิร์ธชนิดใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในมองโกเลีย

  • Breaking News
  • ‘พิชัย’โวเจรจาภาษีสหรัฐราบรื่น คาดเก็บไทย20% ลุ้นประกาศก่อนเส้นตาย1ส.ค.นี้ ‘พิชัย’โวเจรจาภาษีสหรัฐราบรื่น คาดเก็บไทย20% ลุ้นประกาศก่อนเส้นตาย1ส.ค.นี้
  • ‘ไมค์ ภิรมย์พร’ รับไม้ต่อเพลงประกอบละคร‘ผาแดง นางไอ่’ เพลงที่ 2 ‘บ่วงฮัก’ ‘ไมค์ ภิรมย์พร’ รับไม้ต่อเพลงประกอบละคร‘ผาแดง นางไอ่’ เพลงที่ 2 ‘บ่วงฮัก’
  • ‘มท.1’สั่งอธิบดีปภ. พร้อมรับมือน้ำท่วม ฝนถล่มหนักทั่วไทย ห่วงพายุลูกใหม่‘วิภา’ ‘มท.1’สั่งอธิบดีปภ. พร้อมรับมือน้ำท่วม ฝนถล่มหนักทั่วไทย ห่วงพายุลูกใหม่‘วิภา’
  • ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา  มอง‘ทักษิณ’คนตกยุคทางการเมือง  ‘รวมไทยสร้างชาติ’ไม่ปรับใหญ่อยู่ยาก ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา มอง‘ทักษิณ’คนตกยุคทางการเมือง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ไม่ปรับใหญ่อยู่ยาก
  • ‘บิ๊กเล็ก’ไม่นิ่ง ฮึ่ม!ผลสอบชัดระเบิดใหม่ ‘ทบ.’ปูนบำเหน็จ3ทหาร ‘บิ๊กเล็ก’ไม่นิ่ง ฮึ่ม!ผลสอบชัดระเบิดใหม่ ‘ทบ.’ปูนบำเหน็จ3ทหาร
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เด็ก ดี (เพรส) : ปัญหาภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าในเด็กพิการ

เด็ก ดี (เพรส) : ปัญหาภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าในเด็กพิการ

29 มี.ค. 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved