nn เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ เครือซีพี... เป็นบริษัทไทยไม่กี่รายที่ได้รับรางวัลด้านความยั่งยืนระดับโลก...และสิ่งที่สะท้อนความสำเร็จเป็นอย่างมากในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายด้านความยั่งยืน... คือยังได้รับเชิญให้ร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนจากองค์กรระดับโลก อาทิ การได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานะ Lead จากกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ UNGC ซึ่งมีเพียง 38 บริษัทจากทั่วโลกได้รับสถานะนี้ ทั้งยังได้รับรางวัลเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีจริยธรรมสูงที่สุดในโลกจากสถาบัน Ethisphere รวมถึงได้เข้าร่วมคณะกรรมาธิการธุรกิจเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำหรือ Business Commission to Tackle Inequality (BCTI) ของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council on Sustainable Development – WBCSD) และยังได้รับอีกหลายรางวัลในระดับประเทศ เช่น รางวัลธุรกิจที่ยั่งยืน จากเวที Sustainable Business Awards (Thailand) โดยองค์กร Global Initiative และรางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ฯลฯ ทั้งนี้ปัจจัยประการสำคัญที่ทำให้เครือซีพีประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน คือการที่ผู้นำและพนักงานของทุกกลุ่มธุรกิจ(14 กลุ่ม)ได้นำยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง จนสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างน่าพอใจ
นี่คือที่มาของการที่เครือซีพี มอบรางวัลความยั่งยืนดีเด่น หรือ CP for Sustainability Awards เป็นครั้งแรกแก่บริษัทในเครือฯ...โดยรางวัลความยั่งยืนดีเด่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ ปี 2563 แบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล ประเภทที่ 1 เป็นโล่รางวัลสำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนดีเด่นในด้านต่างๆ รวมจำนวน 12 รางวัล ได้แก่ ด้านการสร้างคุณค่าทางสังคม มี 2 บริษัท คือ 1. บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ จากกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร 2.บมจ.ซีพี ออลล์ จากกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย (CPALL) ด้านการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี มี 2 บริษัท ได้แก่ 1. บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟจากกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร 2. บมจ.ซีพี ออลล์ จากกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย (CPALL) ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม ได้แก่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จากกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม ส่วน ด้านการศึกษา ได้แก่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ด้านการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ 1. กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ 2. บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จากกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ ได้แก่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ จากกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ บมจ.สยามแม็คโคร จากกลุ่มธุรกิจธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย (MAKRO) และ ด้านการจัดทำรายงานความยั่งยืนโดยสมัครใจ ได้แก่ 1.กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร (ข้าวโพด) 2.กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
ประเภทที่ 2 เป็นใบประกาศเกียรติคุณ ด้านอุบัติเหตุเป็นศูนย์ หรือ Zero Accident สําหรับหน่วยงานของกลุ่มธุรกิจ ที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ติดต่อกันมากว่า 5 ปี รวมทั้งสิ้น 12 หน่วยงาน ได้แก่ 1. โรงเพาะฟักลูกกุ้งท่าบอน-CPF 2. ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งปะทิว-CPF 3.กิจการเพาะฟักลูกกุ้งสิชล-CPF 4.กิจการเพาะฟักลูกกุ้งสิงหนคร-CPF 5.ศูนย์กระจายสินค้าสำโรง-CPALL 6.ศูนย์กระจายสินค้าโชคชัยร่วมมิตร- CPALL 7.ศูนย์กระจายสินค้า CDC ภูเก็ต-CPALL 8.ศูนย์กระจายสินค้า CFDC สุราษฎร์ธานี-CPALL 9.แม็คโครสาขาหนองคาย-MAKRO 10.โรงงานปรับสภาพเมล็ดพันธุ์ สาขาโรงงาน 1-กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร(ข้าวโพด)11. บริษัท ซี.พี.สตาร์เลนส์ จำกัด-กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร(CPA) 12. โรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ ชัยนาท-กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร(CPA)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี