วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
เศรษฐศาสตร์วันหยุด : รัฐต้องเลิกบิดเบือนตลาด

เศรษฐศาสตร์วันหยุด : รัฐต้องเลิกบิดเบือนตลาด

วันอาทิตย์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : เศรษฐศาสตร์วันหยุด ข่าวเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทย
  •  

nn รายงานของกรมการค้าภายใน ชี้ว่าราคาเนื้อหมูและเนื้อไก่ ปัจจุบันปรับตัวลดลงมาบ้างแล้ว และอยู่ในสถานการณ์ที่ทรงตัว...ซึ่งกรมการค้าภายในมักจะบอกเสมอว่าเป็นผลมาจากการที่กรมได้หารือกับผู้ประกอบการและผู้ลิตรายใหญ่อย่างต่อเนื่องหาทางออกร่วมกันในการกำหนดราคาสินค้าให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนและช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน และหลังจากนี้ราคาเนื้อหมูและเนื้อไก่จะทยอยปรับราคาลดลงอีก...ไม่รู้ที่กรมการค้าภายในสื่อสารออกมานั้น...ชัวร์หรือไม่?? หรือแท้จริงแล้ว...ควรยกความดีให้กับกลไกตลาดที่ปรับสมดุลราคาระหว่างความต้องการกับการผลิต….แต่ที่แน่ๆๆ...ผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่สามารถตอบแทนเกษตรกรรายเล็กได้ จริงอยู่ว่ารายใหญ่มีต้นทุนที่แข่งขันได้และมีการบริหารจัดการที่ดี... หากรายเล็กชีวิตต้องเดินต่อไป ที่สำคัญหมูรอบใหม่เพิ่งจะนำเข้าเลี้ยงได้ไม่นาน ก็เรียกรายใหญ่มาหารือเพื่อดึงราคาให้ต่ำลง คือ ความร่วมมือที่เป็นไปได้ คำถามสำคัญคือรายเล็กจะอยู่ได้ไหมถ้าต้องขายขาดทุน...แล้วจะมีมาตรการช่วยเหลือปัจจัยการผลิตหรืองบประมาณสนับสนุนให้เท่าไร???

ขอตั้งคำถาม ว่า อะไรคือราคาที่เป็นธรรมสำหรับเกษตรกรและผู้บริโภค หลายคนอาจกังขา...ผู้บริโภคคือคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องรักษาไว้ ขณะนี้เกษตรกรเป็นคนกลุ่มน้อยแต่สวมหมวก 2 ใบ ในฐานะผู้บริโภคและผู้ผลิตที่แบกทั้งภาระค่าครองชีพและต้นทุนวัตถุดิบสูงไปพร้อมกัน เราควรสนับสนุนเกษตรกรหรือผู้บริโภค เลือกใครดี???


คำถามต่อเนื่อง คือ มาตรการควบคุมหรือตรึงราคา ช่วยแก้ปัญหาให้ภาคประชาชนได้จริงหรือ??? หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ เพราะทุกคนคือประชาชนหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานสำคัญ คือ กลไกตลาด ทำงานตามอุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) ที่วันนี้ที่บอกว่าคุมราคาอยู่ ตรึงราคาได้ แต่สินค้าหลายรายการปรับขึ้นไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะการตรวจตลาดเพ่งเล็งสินค้าที่อยู่ในบัญชีควบคุมเป็นหลัก ตกหนักที่คนกลุ่มนี้ ทั้งที่รัฐผ่านประสบการณ์มาก็มาก เมื่อไม่ให้ขึ้นก็ปรับลดขนาดลง หนักเข้าต้องกักตุนเพราะขายก็ขาดทุนเพื่อ...เห็นอนาคตอยู่ตรงหน้า

ช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ได้อ่านรายงานข่าวของสำนักหนึ่งที่อ้างถึง รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ให้แนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผลตามหลักวิชาการ ไว้อย่างน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับความสำคัญของกลไกตลาด ว่า รัฐบาลควรเลิกคุมราคาอาหาร เพราะเป็นการทำลายแรงจูงใจของเกษตรกรและผู้ผลิตอาหารในการขยายการผลิต จำเป็นต้องท่องสูตร “ราคาแพงดีกว่าขาดตลาด” เพราะราคาสินค้าแพง เกษตรกรจะมีแรงจูงใจเพิ่มการผลิตอย่างรวดเร็วและราคาสินค้าก็จะลดลงเองตามธรรมชาติเมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น หากรัฐบาลยิ่งควบคุมราคาการผลิต เกษตรกรก็จะไม่มีแรงจูงใจเพราะทำแล้วไม่ได้กำไรและหยุดการผลิตในที่สุด ซึ่งสินค้าอุปโภคก็ไม่แตกต่างกัน...

ล่าสุด ผู้ผลิตไข่ไก่ประกาศราคาแนะนำไข่คละหน้าฟาร์มจาก 3.40 บาท/ฟองเป็น 3.50 บาท/ฟอง มีผลตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุน ปริมาณผลผลิต และราคาอาหารสัตว์ที่ปรับขึ้น กลไกตลาดเริ่มดีขึ้นกำลังซื้อเริ่มกลับมา แต่ยังไม่มาก แต่ครั้งนี้ ผู้บริโภครับรู้และเข้าใจถึงภาคต้นทุนวัตถุดิบของเกษตรกรมากขึ้น และยืนยันที่จะกินเมนูไข่ต่อไป ขณะที่กรมการค้าภายใน ระบุว่า ราคาดังกล่าวเป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และเป็นการขึ้นตามกลไกตลาด เนื่องจากปริมาณไข่ในระบบปรับลดลง หากปรับราคาขึ้นไปแล้ว ขายไม่ได้ ก็จะปรับราคาลงมาเอง หากกำลังซื้อยังดี แต่ปริมาณไข่มีน้อย อาจปรับราคาเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาด

ถ้าคำตอบของคำถามคาใจ คือ กลไกตลาด ก็อยากให้เครื่องมือนี้ทำงานให้สมบูรณ์สักครั้ง โดยรัฐเป็นกรรมการอยู่ในสนามพร้อมเป่านกหวีด หากธรรมชาติของกลไกตลาดทำงานผิดพลาด ก็สามารถยกเลิกกลับไปใช้มาตรการคุมเข้มได้ แต่ถ้าราคาสินค้าปรับขึ้น-ลง ตามกลไกต้องปล่อยไหลให้ฟันเฟืองทำงานให้ครบลูป ก็น่าจะนำมาปฏิบัติได้...ขอเชียร์กลไกตลาด 100%

l พงษ์พันธุ์ l

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : เงินของไทยปี’68  สะท้อนความอ่อนแอกำลังซื้อในประเทศ เศรษฐศาสตร์วันหยุด : เงินของไทยปี’68 สะท้อนความอ่อนแอกำลังซื้อในประเทศ
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ไม่ต้องกลัวเหล็กขาดแคลน  หลังยกเลิก มอก.เหล็กเตาIF เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ไม่ต้องกลัวเหล็กขาดแคลน หลังยกเลิก มอก.เหล็กเตาIF
  • คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3% คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3%
  • จับตาสงครามการค้าสหรัฐ-จีนกระทบเศรษฐกิจไทย จับตาสงครามการค้าสหรัฐ-จีนกระทบเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ยกเลิก มอก.เหล็กเตาIF  ต้องเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ยกเลิก มอก.เหล็กเตาIF ต้องเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : เหล็กจีนจากเตาIF  รัฐบาลควรตระหนักและทบทวนได้แล้ว เศรษฐศาสตร์วันหยุด : เหล็กจีนจากเตาIF รัฐบาลควรตระหนักและทบทวนได้แล้ว
  •  

Breaking News

'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'

'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย

'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล

'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved