วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
เศรษฐศาสตร์วันหยุด : นัยศก.โลกที่มีผลต่อส่งออกไทย

เศรษฐศาสตร์วันหยุด : นัยศก.โลกที่มีผลต่อส่งออกไทย

วันอาทิตย์ ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : ข่าวเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทย เศรษฐศาสตร์วันหยุด
  •  

nn แม้ว่าตัวเลขการส่งออก 8 เดือนแรกของปียังคงมีอัตราการเติบโต และ ภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ หลังจากเปิดประเทศ และการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้า ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปี2565 จะเติบโตได้ระดับ 3-3.5% แต่ว่าช่วงไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจโลกซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ กำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งปัจจัยที่ที่เพิ่มขึ้นนั้น สิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า เช่นภัยแล้ง น้ำท่วม และความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน ฯลฯ ผลที่เกิดขึ้นคือเศรษฐกิจโลกที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 เกิดความไม่แน่นอน ในหลายภูมิภาคทั่วโลก

สิ่งที่สะท้อนภาพเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกตอนนี้คือ การชะลอตัวของกำลังซื้อที่ลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อโลกอยู่ในระดับสูงบางประเทศเงินเฟ้อสูงขึ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ โดยเหตุผลหลักมาจากราคาพลังงาน ทำให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ เร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงิน ของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ในระดับต่ำ แน่นอนว่าภาวการณ์เช่นนี้กดกำลังซื้อของครัวเรือนทั่วโลก จะสะท้อนได้จากยอดการค้าปลีกทั่วโลกที่เริ่มแผ่วลงตั้งแต่ในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 เมื่อกำลังซื้อของโลกลดลง การผลิตทั่วโลกก็มีแนวโน้มแผ่วลงด้วยเช่นกัน นอกจากความต้องการที่ลดลงแล้ว แนวทางควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวดของประเทศเศรษฐกิจหลักในเอเชีย คือ จีน ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการผลิตสินค้าบางประเภทโดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ชิพเซมิคอนดักเตอร์ ในหลายประเทศที่เป็นซัพพลายเชนของจีนเกิดภาวะสะดุดลงในช่วงกลางปี และในระยะต่อไปยังมีโอกาสสะดุดลงได้อีกในช่วงที่เหลือของปี และกรณีปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนก็มีส่วนทำให้ความต้องการสินค้าในหมวดโลหะจากจีนปรับลดลงต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าในหมวดดังกล่าวในบางประเทศ เช่น ไทย


ปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เข้ามากระทบเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสสุดท้าย เช่น 1.ภัยแล้งรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ราคาอาหารทั่วโลกยังคงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่งโดยเฉพาะราคาข้าวโพด และภัยแล้งยังส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะในจีน ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อกิจกรรมการผลิตในบางเมืองหลักของจีน เช่น เซี่ยงไฮ้ 2.ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจขยายวงและรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกรณีจีนและไต้หวัน ส่งผลต่อการผลิตและส่งออกชิพเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีฐานการผลิตหลักที่ไต้หวัน ดังนั้นจะเกิดผลกระทบด้านลบต่อกระบวนการผลิตสินค้าในกลุ่มยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในระยะต่อไป จากเหตุผลข้างต้นทำให้สามารถแบ่งกลุ่มเศรษฐกิจแต่ละประเทศทั่วโลกออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ1.ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกที่แรงส่งทางเศรษฐกิจมีทิศทางชะลอตัวลง และ 2.กลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงชัดเจนว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย คือ สหภาพยุโรปและอังกฤษ เนื่องมาจากค่าครองชีพที่เร่งตัวในระดับสูงจากวิกฤตพลังงานในยุโรป ราคาอาหารที่เร่งตัว ต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นเร็วตามการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง

กรณีของยุโรปนั้น ส่งผลต่อการส่งออกของไทย ในสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งไทยส่งออกไปยุโรปสูงถึง 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ราว 16% ของมูลค่าส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าวไปทั่วโลก อย่างไรก็ตามสินค้าไทยบางกลุ่มก็ได้รับอานิสงส์เชิงบวก เช่น สินค้าหมวดอาหาร อาทิ ผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง/แห้ง และไก่แปรรูป ซึ่งมูลค่าการส่งออกหมวดอาหารคิดเป็น 20% ของการส่งออกสินค้าของไทยทั้งหมด

l พงษ์พันธุ์ l

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • โครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 2  มาแล้ว!! โครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 2 มาแล้ว!!
  • ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : นายกรัฐมนตรี คือศูนย์กลางของปัญหา เศรษฐศาสตร์วันหยุด : นายกรัฐมนตรี คือศูนย์กลางของปัญหา
  • คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ก.พาณิชย์...ตื่นได้แล้ว  อุตสาหกรรมเหล็กไทยกำลังจะตาย เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ก.พาณิชย์...ตื่นได้แล้ว อุตสาหกรรมเหล็กไทยกำลังจะตาย
  • ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank
  •  

Breaking News

(คลิป) ระทึก! นักกฎหมายดัง ฟันฉับ! สึนามิการเมือง จ่อถล่มรัฐบาล ส.ค.นี้ กวาดเรียบ!

ประเดิมส.ค.นี้!กำหนดวันเปิดสนามไทยลีกฤดูกาลใหม่

สตม.โชว์ผลงาน! รวบ'ชาวจีน'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่

เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved