วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
เศรษฐศาสตร์วันหยุด : วิกฤตครั้งต่อไปจะใช้ชื่อว่าอะไรดี????

เศรษฐศาสตร์วันหยุด : วิกฤตครั้งต่อไปจะใช้ชื่อว่าอะไรดี????

วันอาทิตย์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 07.29 น.
Tag : ข่าวเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทย เศรษฐศาสตร์วันหยุด
  •  

nn ประเทศไทย..เพิ่งจะครบรอบ 27 ปีของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” (ปี2540)...มีเหตุเกิดขึ้นหลายอย่างครั้งนั้น...คนจำนวนมากมายตกงานหลายบริษัทล้มละลาย...แต่ก็มีบางคนได้แปรวิกฤตเป็นโอกาส(กำไรจากค่าเงินบาท) และ กลุ่มการเงินข้ามชาติก็เข้ามาช้อนซื้อสินทรัพย์ดีๆ ไปในราคาถูก (ด้วยการระดมทุนในประเทศไทยด้วยการออก“บาทบอนด์”นี่แหละ)

เด็กรุ่นหลังจำนวนไม่น้อยว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย...จึงขออนุญาตหยิบเอา...สาเหตุของวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้สรุปไว้มา
บอก...1. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2530-2539 แม้จะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง แต่โตด้วยหนี้....2. ปัญหาหนี้ต่างประเทศ ช่วงปี 2532-2537 ประเทศไทยเปิดเสรีทางการเงินทำให้กู้เงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก ปลายปี 2540 หนี้ต่างประเทศของไทยปรับเพิ่มขึ้นสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด และสัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำเพียง 70.40 % ขณะที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีการบริหารความเสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยน เพราะเราฟิกค่าเงินบาทไว้ที่ 25 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ 3. การลงทุนเกินตัวและฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ช่วงปี 2530-2539 4. ความไม่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ปลายปี 2539 ประเทศไทยเกิดปัญหาขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงกับสถาบันการเงินในประเทศ จนรัฐบาลต้องสั่งปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 18 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง ต่อมาเดือนมีนาคม 2540 กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้สถาบันการเงินเพิ่มทุนอีก 10 แห่ง และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 รัฐบาลต้องสั่งปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 16 แห่ง วันที่ 5 สิงหาคม 2540 ปิดอีก 42 แห่ง รวมเป็น 58 แห่ง 5.ความไม่มีประสิทธิภาพต่อการดำเนินนโยบาย ปี 2536 ประเทศไทยมีนโยบายให้มีการจัดตั้ง BIBF อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี แต่ไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการที่ยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ ทำให้ระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศไม่มีเสถียรภาพ 6.การโจมตีค่าเงินบาท (currency attack) ปัญหาเศรษฐกิจที่สะสมมานานทำให้นักลงทุนต่างชาติถือโอกาสโจมตีค่าเงินบาท ซึ่งเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และนักลงทุนสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือโจมตีค่าเงิน


แต่ภาพของเศรษฐกิจไทยตอนนี้ก็ต้องยอมรับว่ายังไม่ดี..แต่ก็ไม่สามารถใช้คำว่า“วิกฤตเหมือน ปี 2540” ได้ เพราะโจทย์ที่ท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันแตกต่างไปจากตอนนั้น...ตอนนี้โจทย์ของเศรษฐกิจไทยมีทั้งประเด็นเฉพาะหน้า เช่น ความคาดหวังของนักลงทุนต่อสถานการณ์และนโยบายเศรษฐกิจไทย ส่วนโจทย์ที่เกิดจากปัจจัยที่มีความไม่แน่นอนและปัญหาเชิงโครงสร้าง คือ 1. ปัญหาหนี้ในระดับสูงทั้งภาครัฐและครัวเรือน2. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และสงครามการค้าในรูปแบบต่างๆ 3. ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก 4. การเตรียมตัวกับการที่ไทยกำลังเข้าสู่ Aged society ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนแรงงานและภาระด้านสาธารณสุขในระยะยาว และ 5. การเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ต้องยอมรับว่าปัญหาช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งทยอยได้รับการแก้ไขมานานแล้ว...ส่วนปัญหารอบนี้มีความซับซ้อนและแตกต่างจากปี 2540 เพราะโจทย์ส่วนใหญ่เป็นโจทย์ระยะกลาง-ยาว ซึ่งอาจนำไปสู่การสะสมปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจในอีกรูปแบบหนึ่ง....

แต่ช่วงกว่า 10 ปีมานี้...เราเข้าสู่การบริหารประเทศของรัฐบาลที่ 3 แล้ว...แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างยังไม่ได้ถูกหยิบเอามาแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมเลย...ผลงานของ3 รัฐบาล ขณะนี้เห็นแต่การอัดเงินเข้าสู่ระบบเท่านั้น...!! น่าเป็นห่วงความแข็งแกร่งของเสถียรภาพทางการเงินการคลังที่ได้สร้างมา...จะทนรับปัญหาที่กำลังก่อตัวอยู่นี้ได้อีกกี่ปี

พงษ์พันธุ์

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : นายกรัฐมนตรี คือศูนย์กลางของปัญหา เศรษฐศาสตร์วันหยุด : นายกรัฐมนตรี คือศูนย์กลางของปัญหา
  • คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ก.พาณิชย์...ตื่นได้แล้ว  อุตสาหกรรมเหล็กไทยกำลังจะตาย เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ก.พาณิชย์...ตื่นได้แล้ว อุตสาหกรรมเหล็กไทยกำลังจะตาย
  • ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank
  • โจทย์หินเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง จับตารัฐบาลจะรับมืออย่างไร โจทย์หินเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง จับตารัฐบาลจะรับมืออย่างไร
  •  

Breaking News

ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'

รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved