วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / โลกการค้า
โลกการค้า

โลกการค้า

วันพฤหัสบดี ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
กนง.คาดปี’64เศรษฐกิจฟื้น โจทย์ใหญ่ปัจจุบันคือสภาพคล่องของครัวเรือนและภาคธุรกิจ

ดูทั้งหมด

  •  

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 25 มีนาคม 2563 ....โดยคณะกรรมการ กนง. มีเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อยังสอดคล้องกับภาพที่ได้ประเมินไปในการประชุมนัดพิเศษ (20 มีนาคม) โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวแรงจากการระบาดของโควิด-19 เป็นสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มลดลงจากที่ประมาณการไว้เดิมมาก การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอลงมาก และผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มหดตัวในทุกองค์ประกอบ ยกเว้น การใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้จากการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่าช้า

คณะกรรมการ จึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัว 5.3% ในปี 2563 และคาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวได้ 3% ในปี 2564 หากการระบาดในไทยควบคุมได้ตามที่กระทรวงสาธารณสุขคาด และจำนวนนักท่องเที่ยวทยอยกลับมาฟื้นตัว และประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 มีแนวโน้มติดลบ โดยคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ลบ 1% และปี 2564 มีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่0.3% ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงเร็ว และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานมีแนวโน้มติดลบ นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมี แนวโน้มติดลบตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่ลดลงมาก แม้อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดจะปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากภัยแล้ง


นอกจากนี้ คณะกรรมการประเมินว่า ประมาณการเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมีความไม่แน่นอนสูงมากโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าของโลกและไทยจะเปลี่ยนแปลงไปหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายทั้งนี้เศรษฐกิจไทยเผชิญความไม่แน่นอนจากทั้งต่างประเทศและในประเทศ 5 ปัจจัย ได้แก่ 1.การระบาดของโควิด-19ที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าที่คาด หรืออาจมีการคิดค้นวัคซีนและยารักษาได้เร็วกว่าที่คาด 2.ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินโลกที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลาง 3.ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น และการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการเจรจาการค้าระหว่างสหราชอาณาจักรและยุโรป ซึ่งยังมีความไม่แน่นอน 4.ความไม่แน่นอนของการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งอาจออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หรือมาตรการต่างๆ อาจมีผลน้อยกว่าที่คาด 5.ความเสี่ยงของภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าคาด ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตและรายได้ภาคเกษตร และไม่สามารถรองรับแรงงานที่ย้ายมาจากภาคอื่นๆ ได้

คณะกรรมการเห็นว่า ความเสี่ยงในระบบการเงินโดยรวมมีความเปราะบางมากขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่หดตัวแรง ซึ่งส่งผลต่อรายได้ภาคครัวเรือนและธุรกิจ ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพสินเชื่อด้อยลง นอกจากนี้สภาพคล่องในระบบการเงินตึงตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดตราสารหนี้คณะกรรมการจึงเห็นควรให้ติดตามความเสี่ยงและจุดเปราะบางต่างๆ อย่างใกล้ชิด และให้ ธปท. เตรียมเครื่องมือเชิงนโยบายให้พร้อมใช้ เพื่อดูแลระบบการเงินให้มีเสถียรภาพและมีความมั่นคงในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งประสานกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมดำเนินการเชิงรุกป้องกันไม่ให้เกิด ความเสี่ยงเชิงระบบ ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงิน กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้รอประเมินการปรับตัวของตลาดการเงินและการลดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินเพิ่มเติม และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) ให้พร้อมรองรับความไม่แน่นอนที่มีอยู่สูงในอนาคต

นอกจากนี้ คณะกรรมการเห็นว่า มาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบของรัฐบาลที่ได้ประกาศไป และมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นมาตรการที่แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า คณะกรรมการจึงมีมติ 4 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% ต่อปี ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย0.25% ต่อปี จาก 0.75% เป็น 0.50% ต่อปี เนื่องจากเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษมีความเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่หดตัวแรง

คณะกรรมการเห็นว่า โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจการเงินไทยในปัจจุบันแตกต่างจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 โดยปัจจุบันไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศในระดับที่สูง และระบบสถาบันการเงินไทยมีความมั่นคงและมีเงินกองทุนสูง สภาพคล่องในระบบการเงินมีเพียงพอในระดับมหภาค ความท้าทายในปัจจุบันคือการเร่งช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการเร่งดำเนินมาตรกาเพื่อช่วยพักชำระหนี้ ลดอัตราการผ่อนชำระ หรือเลื่อนการชำระ เพื่อบรรเทาผลกระทบเฉพาะหน้า สำหรับขั้นถัดไปต้องเร่งปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ต้องการสภาพคล่องสามารถเข้าถึงสภาพคล่องที่มีเพียงพอในระดับมหภาค (Distribution of Liquidity) เช่น การสนับสนุนสินเชื่อต้นทุนต่ำแก่ธุรกิจและครัวเรือนที่มีศักยภาพ ควบคู่กับกลไกการค้าประกันสินเชื่อที่ช่วยจัดสรรสินเชื่อไปยัง SMEs ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้

คณะกรรมการเห็นตรงกันว่า ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสภาพคล่องของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ครั้งนี้ให้ตรงจุด โดยเห็นว่า ธปท. ได้ประสานกับสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินอื่นอย่างใกล้ชิดอย่างรวดเร็วและทันการณ์ ภายใต้สถานการณ์ที่มีแนวโน้มลุกลามและขยายวงกว้างขึ้น เพื่อร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนในการกำหนดมาตรการขั้นต่ำ
เพื่อบรรเทาภาระหนี้และสนับสนุนสภาพคล่อง เพิ่มเติมแก่ลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจที่มีศักยภาพ และเห็นว่ามาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และมาตรการของภาครัฐที่ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นมาตรการแก้ปัญหาที่ดำเนินการได้ทันการณ์และตรงจุดกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างมีประสิทธิผล

นอกจากนี้ คณะกรรมการเห็นว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาวะปัจจุบัน นโยบายการเงินและนโยบายการคลังจำเป็นต้องประสานกันอย่างใกล้ชิด และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเร่งดำเนินมาตรการทางการเงินการคลังต่างๆ เพื่อช่วยกันประคับประคองและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป

กระบองเพชร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:25 น. ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก
09:15 น. 'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่
09:06 น. รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'
09:06 น. ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568
08:59 น. 'มทภ.2' นำสิ่งของพระราชทาน จาก'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา
ดูทั้งหมด
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!
‘สม รังสี’เปิดไทม์ไลน์แฉ‘แรงจูงใจ’เบื้องหลัง‘ฮุน เซน’เล่นเกมกฎหมายถอดสัญชาติกัมพูชา
ดูทั้งหมด
‘อนุทิน VS แพทองธาร’เรื่อง‘กาสิโน’
ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ
ไร้เพื่อน?
บุคคลแนวหน้า : 10 กรกฎาคม 2568
รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568

'นิธิพัฒน์'ซัดเจ็บ! 'นักการเมืองสันดานเสีย' หวังประโยชน์ส่วนตน ทำชาติป่วน

'แพรรี่'เทศน์พระเอี่ยวสีกา สึกออกมาก็แค่ตาแก่คนหนึ่ง สีกาก็ร้ายไปเป็นเปรตแน่นอน

'ทรัมป์'ร่อนจดหมายภาษีอีก8ประเทศ 'บราซิล'อ่วมเจอรีดภาษีนำเข้า50%เซ่นปม'โบลโซนาโร'

'สมเด็จฮุน เซน'กลัวมากถ้า'คนไทย'จะรักตนเอง แซะเจ็บไทยควรโฟกัสผู้นำตัวเองดีกว่า

  • Breaking News
  • ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก
  • \'กอบศักดิ์\' ฟันธง \'ภาษีทรัมป์\' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่ 'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่
  • รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง \'ก๊ก อาน\' รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'
  • ยิปซีพยากรณ์\'ดวงรายวัน\'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568 ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568
  • \'มทภ.2\' นำสิ่งของพระราชทาน จาก\'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ\' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา 'มทภ.2' นำสิ่งของพระราชทาน จาก'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

10 ก.ค. 2568

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

3 ก.ค. 2568

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

26 มิ.ย. 2568

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

19 มิ.ย. 2568

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว  การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

12 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

5 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

29 พ.ค. 2568

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

22 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved