วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน
รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

จักรพงษ์ เมษพันธุ์
วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
เงินสำรอง 6 เดือนยังพออยู่มั้ย?

ดูทั้งหมด

  •  

ช่วงโควิดเชื่อว่าหลายคนน่าจะเห็นความสำคัญของเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินกันมากขึ้น ทั้งที่โดยปกติต้องบอกเลยว่าหัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่เวลาพูดบรรยาย คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญ

บ้างอาจคิดว่าโชคร้ายคงไม่เกิดกับตัวเอง คนอื่นที่โดนเพราะเขาซวย แต่เราเป็นคนโชคดี หรือในอีกมุมหนึ่ง ถ้าคนเราเก็บสะสมเงินได้ ก็อยากที่จะนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ มากกว่าที่จะพักหรือกันไว้สำรองในทรัพย์สินที่สภาพคล่องสูง แต่ผลตอบแทนต่ำ พูดให้ง่ายคือ มีเท่าไหร่ลงทุนให้หมดดีกว่า ไม่อยากเผื่อเอาไว้ เสียดายผลตอบแทน


จนมาปี 2563 นี่แหละ ที่ทำคนส่วนใหญ่เริ่มเห็นความสำคัญของเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เข้าทำนอง “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”

“เงินสำรอง” กับ “ประกัน” นี่คล้ายกันตามหลักบริหารความเสี่ยงทางการเงินเลย ก็คือ เราไม่สามารถเตรียมมันตอนที่เกิดปัญหาแล้วได้ ไม่มีใครขายประกันให้เราตอนที่เราเกิดเรื่องไปแล้ว เงินสำรองก็เช่นกัน ถ้าไม่สะสมมาก่อน ก็ต้องรับแรงกระแทกทางการเงินกันไป

ผ่านมาแล้วผ่านไป ไม่ว่ากัน คำถามคือ หลังจากโควิดครั้งนี้ผ่านพ้น (อยากให้ผ่านไปเร็วๆ จังวุ้ย) ชีวิตกลับมาตั้งหลักเป็นปกติกันได้ คนไทยเราจะเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินกันมั้ย และอีกข้อที่หลายคนสงสัยกันคือ จะต้องเก็บสะสมเผื่อฉุกเฉินไว้มากแค่ไหน เพราะโควิดครั้งนี้ยาวนานเหลือเกิน จนหลายคนเริ่มสงสัยว่า เงินสำรอง 6 เดือนตามตำรา จะยังเพียงพออยู่หรือเปล่า หรือเงินสำรองก็จะต้องนิว นอร์มอล ไปกับเขาด้วย

จากที่ได้พูดคุยกับลูกศิษย์ที่ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด รายได้ถูกลด หรือบางคนถูกให้ออกจากงาน ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ปี 2563 พบว่าหลายคนที่มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6 เดือน ยังสามารถเอาตัวรอดได้สบายครับ

ถ้าเป็นประเภทถูกลดรายได้ลง (บางคน 25-30%) อันนี้ผ่านได้สบายเลย เพราะคิดง่ายๆ ว่า ถ้าเรามีเงินสำรอง 6 เท่าของรายได้ การขาดหายไปของรายได้สัก 25% หรือ 1 ใน 4 จากของเดิม ก็จะมีเงินสำรองไว้เติมเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปในแต่ละเดือนได้ 24 เดือน ซึ่งถือว่ามีเวลาเพียงพอให้เราหยิบจับทำอะไรใหม่ๆ ได้ทันเวลา

แต่ถ้าเป็นกรณีรายได้หายไปทั้ง 100% เลย อันนี้ก็คิดง่ายๆ ว่าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินที่เตรียมไว้ 6 เดือน ก็จะชดเชยรายได้ของเราไปได้ 6 เดือนพอดี จะว่าไปก็ไม่มาก แต่ถ้าตั้งใจสู้ ตั้งสติแล้วตั้งหลักกันใหม่จริงๆ ก็ถือว่า พอไหวอยู่นะ

หลายคนเข้าใจผิด คิดว่ามีเงินสำรองแล้วไม่ต้องทำอะไร ซึ่งไม่ถูกนะครับ ถ้าชีวิตของคุณพลิกผันไปจนถึงจุดที่คุณต้องแคะกระปุกเงินสำรองออกมากินใช้ แสดงว่าคุณกำลังอยู่ในสภาวะฉุกเฉินแล้ว เขาถึงเรียกเงินเก็บก้อนนี้ว่า Emergency Fund ยังไงหละ

ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งตกงานในช่วงล็อกดาวน์มีนาคม 2563 ส่งข้อความมาเล่าถึงความโชคร้าย แต่ก็ยังสาธยายถึงความโชคดีอยู่บ้าง ที่เขามีเงินเก็บสำรองเผื่อฉุกเฉินพร้อมรับมือวิกฤติได้สบาย ไม่กังวลมาก

ผ่านไปอีก 6 เดือน เข้าสู่เดือนกันยายน น้องคนนี้ส่งข้อความมาอีกครั้งถามว่าเงินสำรองจะหมดแล้วทำยังไงดี ผมก็เลยถามไปว่าแล้ว 5 เดือนที่ผ่านมาทำอะไรเพื่อหารายได้ให้กลับมาเท่าเดิมบ้าง สมัครงานใหม่มั้ย หาอาชีพเสริมหรือเปล่า หรือลองรับจ้างฟรีแลนซ์ หารายได้มาพยุงไม่ให้เงินสำรองร่อยหรอหรือเปล่า

น้องเขาตอบมาแล้วเหมือนตลกร้าย บอกไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะคิดว่ามีเงินสำรองแล้วน่าจะปลอดภัย

ในเวลาฉุกเฉินอย่างเช่นสงคราม ที่ต้องรบกันยาวไม่รู้จบเมื่อไหร่ เขายังต้องคุมเสบียง ควบคุมการกินการใช้ให้ได้นานที่สุด อีกทั้งยังต้องคิดหาเสบียงเพิ่มเพื่อรองรับการศึกที่อาจจะยืดเยื้อด้วย แต่นี่ชิลเลย กลายเป็นเบาสบายคลายกังวลไป 6 เดือน หลังจากนั้นโคตรเครียด

ที่ว่าตลกร้าย เพราะน้องมันก็สวนมาว่า “ก็โค้ชสอนแต่ให้เก็บเงินสำรอง แต่ไม่ได้สอนนี่ว่าพอเกิดฉุกเฉินจริงขึ้นมา ต้องบริหารยังไง?” (เออว่ะ ... ก็จริงของมัน)

อย่างไรก็ดี ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าคนไทยในยุคโควิด-19 เห็นความสำคัญของ “เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน” หรือ Emergency Fund กันแล้ว และหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า “สำรองไว้แค่ 6 เท่าของรายได้ จะเพียงพอหรือเปล่า” หลายที่เริ่มมีสอนกันแล้วว่าสมัยนี้ต้องสำรอง 12 เดือน 18 เดือน หรือไม่ก็ไปโน้นเลย24 เดือน

โดยส่วนตัวผมยังคิดว่า เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6 เท่า (หรือ 6 เดือน) ยังเพียงพออยู่นะครับ ถ้าเราเข้าใจด้วยว่า เราต้องปรับตัวอย่างไรในสภาวะการเงินแบบฉุกเฉิน ประกอบกันไปด้วย

เช่น เมื่อถูกลดเงินเดือน โอที หรือคอมมิชชั่น จนทำให้ชีวิตต้องแคะกระปุกเงินสำรอง ผมว่าถ้าเราเป็นคนที่กระตือรือร้นพอ เราจะต้องไม่อยู่นิ่ง หรืออุ่นใจเกินไปกับเงินที่แม้จะลดไปเล็กน้อย หรือเพียงบางส่วน

ฟังดูเหมือนง่าย แต่เอาเข้าจริงไม่ง่ายนะครับ โดยเฉพาะพนักงานประจำที่ติดกับ Comfort Zone อยู่นานๆ การขาดหายไปของรายได้บางส่วน จะยังไม่ทำให้คนบางคนขยับตัวทำอะไรเพิ่มมาก ยิ่งถ้ามีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอยู่ คนกลุ่มนี้จะเลือกแคะกระปุก มากกว่าตื่นตัวว่า “เฮ้ย! รายได้ลด หาอะไรทำเพิ่มดี”

หรือบางทีไม่ต้องรอให้ปัญหาเกิดกับเราหรอก แค่เพื่อนในบริษัทเดียวกัน แต่อยู่คนละแผนก ถูกลดเงินเดือน หรือถูกให้ออก แม้จะไม่โดนเรา แต่ผมว่าเราก็ควรคิดอะไรบ้างได้แล้ว อย่าไปอุ่นใจว่ามีเงินสำรองแล้วจะโอเค เพราะในโลกการเงิน สารตั้งต้นของสมการการเงิน คือ รายได้ ถ้ารายได้กระทบกระเทือนมันจะทำให้ระบบการเงินโดยรวมของเราพังทันที ดังนั้นแค่ได้ยินอะไรระแคะระคาย ก็ต้องขยับตัวได้แล้ว

หรือในอีกมุมหนึ่งที่ผมพูดเป็นประจำในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นั่นคือ “หมดยุคของการมีรายได้ทางเดียวไปนานแล้ว” ดังนั้นหากเรามีแหล่งรายได้เสริมแถมยังมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้ด้วย แบบนี้สำรองแค่ 6 เดือน ก็ยังพาชีวิตไปรอดได้

คิดง่ายๆ ว่าแหล่งรายได้แต่ละแหล่งเป็นเหมือนเครื่องยนต์ ถ้ามีเครื่องยนต์ตัวเดียว แล้วมันดันทะลึ่งดับขึ้นมา ชีวิตเราก็ไปไหนไม่ได้ แต่ถ้าเรามีเครื่องยนต์หลายตัว ดับไปบางตัว ก็อาจยังพอตะเกียกตะกายไป ไม่ต้องหยุด หรือปล่อยให้ชีวิตพังไปพร้อมเครื่องยนต์ที่ดับไป

กล่าวโดยสรุป เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6 เดือน ยังเพียงพออยู่ครับ ยังใช้เป็นเกณฑ์ในการสะสมเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงได้ ส่วนที่เหลือออมเกิน 6 เดือนก็สามารถจัดสรรไปลงทุนได้ตามเป้าหมายการเงินของตัวเอง

แต่ถ้าใครกังวลแล้วอยากสำรองไว้สัก 12, 18, 24 หรือแม้กระทั่ง36 เดือน ก็ไม่ได้ผิดกติกาอะไร เพราะความรู้สึกปลอดภัยสบายใจของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันครับ

สุดท้ายมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเผื่อไว้ ยังไงก็ดีกว่าไม่มีอะไรเป็นกันชน เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินให้กับเราเลย

ปีนี้น่าจะเป็นปีที่ผมบรรยายเรื่องเงินฉุกเฉินแล้วมีคนฟังมากขึ้น

ผมเชื่ออย่างนั้นนะ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ’ ตั้งโต๊ะคุยชีวิตกว่าจะมีวันนี้ที่ Money Freedom กับโค้ชหนุ่ม Money Coach และคุณเผ่า Jitta

‘จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ’ ตั้งโต๊ะคุยชีวิตกว่าจะมีวันนี้ที่ Money Freedom กับโค้ชหนุ่ม Money Coach และคุณเผ่า Jitta

6 ก.ค. 2568

ยุคนี้ ‘ขยันเลอะเทอะไม่ได้’ ต้องโฟกัส พัฒนาให้เร็วขึ้นเสมอ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน #CTC2025  โดยโค้ชหนุ่ม Money Coach

ยุคนี้ ‘ขยันเลอะเทอะไม่ได้’ ต้องโฟกัส พัฒนาให้เร็วขึ้นเสมอ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน #CTC2025 โดยโค้ชหนุ่ม Money Coach

29 มิ.ย. 2568

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง...

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง...

22 มิ.ย. 2568

ชอบ-ถนัด-สามารถ สูตรสร้างอาชีพเสริม

ชอบ-ถนัด-สามารถ สูตรสร้างอาชีพเสริม

15 มิ.ย. 2568

จัดการเงินออมครอบครัวให้ดี ชีวิตมีสุข

จัดการเงินออมครอบครัวให้ดี ชีวิตมีสุข

1 มิ.ย. 2568

อย่าฝากชีวิตไว้กับรายได้ในอนาคต

อย่าฝากชีวิตไว้กับรายได้ในอนาคต

25 พ.ค. 2568

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

18 พ.ค. 2568

“เปลี่ยน” เพื่อชีวิตการเงินที่ดีกว่า

“เปลี่ยน” เพื่อชีวิตการเงินที่ดีกว่า

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved