วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / โลกการค้า
โลกการค้า

โลกการค้า

วันพฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
‘รุกรวดเร็ว รถ-เรือ-ราง-ลิ้งค์’ รุกตลาดCLMVเพื่อหาโอกาสขยายสู่จีน

ดูทั้งหมด

  •  

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้จัดทำ White Paper 2022: CLMVT Connectivity Multimodal Transportation in the Next Normal หรือ “รุกรวดเร็ว รถ-เรือ-ราง-ลิ้งค์” เพื่อนำเสนอ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการเตรียมความพร้อมโอกาสของโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้ากระจายสินค้าไปยังเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจของไทยและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMVT โดยใช้การเชื่อมโยงเครือข่ายสำคัญภายในประเทศในลักษณะการขนส่งแบบ Multimodal Transport อีกทั้งเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต โดย สรท. รวบรวมข้อมูลแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคต ตลอดจนปัญหาข้อจำกัด เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนสำหรับพัฒนาแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการให้ทราบถึงโอกาสในการขนส่งสินค้าไปยังประเทศ CLMV และเชื่อมไปยังจีน

White Paper ฉบับนี้จึงได้รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์รายละเอียดโดยหยิบยก เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนในการขนส่งไว้เป็นทางเลือกในการกำหนดรูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ทั้งระบบทางราง ทางถนน (บก) และทางน้ำ วิเคราะห์ความท้าทาย โอกาส อุปสรรค ในแต่ละรูปแบบของการขนส่งทางเลือก เชื่อมโยงภายในประเทศไปยัง Corridor สำคัญต่างๆ รวมถึงการขนส่งทางถนน ไปยังกลุ่มประเทศ CLMVT และการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางจากลาว-จีน


ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยและประเทศจีนซึ่งเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจและสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ โดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์นี้โดยวางตำแหน่งตนเป็นศูนย์กลางการผลิตและห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก (SupplyChain) โดยกำหนดกรอบพัฒนาเศรษฐกิจออกเป็น 2 ส่วน คือ แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบก (The Silk Road Economic Belt)ซึ่งครอบคลุมการขนส่งทางถนนและรถไฟความเร็วสูงและเส้นทางสายไหมทางทะเล ด้วยความสำคัญดังกล่าว ประเทศไทยจึงมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์นี้ไปสู่ภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนผลักดันความร่วมมือกับประเทศจีนในด้านต่างๆ เช่น การคมนาคมขนส่งทางถนนเชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน CLMVT (Greater Mekong Subregion Economic Corridors : GMS) โครงการรถไฟไทย-จีน (Railway Cooperation between Thailand and China) ที่สนับสนุนช่องทางขยายการค้าและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนผ่านการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ทางราง และทางน้ำ

ในภาวะปัจจุบันที่มีแนวโน้มการแข่งขันรุนแรงไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพหรือด้านต้นทุนการประกอบธุรกิจจึงต้องคำนึงถึงเรื่องการจัดการ ทั้งด้านคุณภาพต้นทุน และการขนส่ง ซึ่งต้นทุนการขนส่งเป็นต้นทุนที่สำคัญต้นทุนหนึ่งในปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นในการเร่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนของผู้ผลิตในการส่งออกและนำเข้า ทั้งนี้ ภาครัฐบาลได้ให้ความสำคัญมากจนกำหนดไว้
ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการค้าของภูมิภาคอินโดจีน การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ พัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ในประเทศให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการทั้งเครือข่ายภายใน และการเชื่อมต่อไปสู่ต่างประเทศโดยพัฒนาระบบการเชื่อมโยงหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศไทยให้ปรับเปลี่ยนมาใช้หรือผสมผสานระหว่างการขนส่ง ทางบกทางน้ำ และทางรถไฟ หรือการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบ Multimodal Transport เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการขนส่ง เป็นการทดแทนการขนส่งทางถนนเพียงอย่างเดียว

รูปแบบการขนส่ง Transport Network Facilities โดยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งแบบ MultimodalTransport จะมีส่วนในการช่วยลดต้นทุนและเอื้ออำนวยต่อกระบวนการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ และทำให้การส่งมอบสินค้าภายใต้หลักการจัดการโลจิสติกส์ ข้อตกลงร่วมกันว่าจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเสรี (free flow) ซึ่งประเทศไทยอาจเป็น HUB ศูนย์กลางกระจายสินค้าของภูมิภาคนี้ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจึงควรให้การสนับสนุน และเร่งพัฒนารูปแบบการขนส่ง ต่อเนื่องหลายรูป แบบ Multimodal Transport ภายในประเทศเพื่อรองรับการเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งแบบไร้รอยต่อ (Seamless Connectivity)

จากผลการศึกษาโครงการดังกล่าวฯ จึงได้มีข้อเสนอแนะที่สำคัญต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการขนส่งทางเลือก เพื่อเพิ่มโอกาสในการขนส่งสินค้าผ่านโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศและเชื่อมโยงไปยังประตูการค้าชายแดนสำคัญไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศ CLMVT และ จีน ผ่านเส้นทางรถไฟ ลาว-จีน รวมถึงข้อเสนออื่นๆ อันจะเป็นการช่วยสนับสนุนการพัฒนา ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และกฎระเบียบ จากเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาควิชาการ ดังตัวอย่างข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้

1) การพัฒนาการใช้ระบบการส่งผ่านข้อมูลข้ามแดนทางศุลกากรของอาเซียน (ASEAN Customs Transit System : ACTS) ซึ่งเป็นระบบส่งผ่านข้อมูลแบบไร้เอกสาร ให้มีลักษณะเป็น Stop Inspection/Single Window Inspection โดยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบควรมีการดำเนินการภายใต้เอกสารฉบับเดียว มีการควบคุมและจัดการที่มีประสิทธิภาพ 2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและศุลกากร ประเด็น Cross Border Trade Agreement : CBTA การแลกเปลี่ยนสิทธิจราจรทางถนน ในเส้นทางถนนเพื่อเชื่อมโยงจากไทยไปยังประเทศเป้าหมายผ่านประเทศจีน การใช้ประโยชน์จากข้อตกลง CBTA เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง เช่น การเพิ่มเส้นทางการขนส่ง ปริมาณรถขนส่ง น้ำหนักบรรทุกการกำหนดมาตรฐานของรถและคนขับให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

3) การศึกษา Node ที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างโหมดการขนส่ง จัดสรรพื้นสถานีรถไฟที่เหมาะสม และมีศักยภาพที่สามารถเป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งทางบก และทางน้ำ โดยมีพื้นที่ที่ใช้กองเก็บสินค้า และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับรถบรรทุก 4) การจัดทำข้อมูล Freight Rate Database เพื่อเปรียบเทียบราคาค่าระวางอ้างอิงทางราง และระยะเวลาในการขนส่ง5) การยกระดับท่าเรือหลักของประเทศให้เป็น Smart Port รวมถึงการเพิ่ม Capacity และเครื่องมือยกหรือสิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าเรือ เพื่อยกระดับการให้บริการขนถ่ายในท่าเรือ ลดปัญหาความแออัด และลดปริมาณฝุ่น PM2.5

6) ยกระดับ ICD พื้นที่สำคัญ ให้เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการจริง เช่น นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา(บางกล่ำ) พระนครศรีอยุธยา (วังน้อย) และพื้นที่รอบกรุงเทพฯ บางนา พุทธมณฑล พระราม 2 บางใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าภายในประเทศลดความแออัดภายในท่าเรือหลักของประเทศ และสนับสนุนการส่งออก 7) เสนอให้จัดตั้งจุด Common Control Area (CCA) ในการตรวจสอบสินค้าร่วมกันระหว่าง 3-4 ประเทศในเส้นทาง รวมถึงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ให้ครบทุกกิจกรรมในพื้นที่ทั้ง ด่านรถบรรทุกและรถไฟอุปกรณ์ขนถ่ายในด่านใหญ่ที่สำคัญ เช่น แม่สอด แม่สาย มุกดาหาร นครพนม หนองคาย บ้านคลองลึก สะเดา เป็นต้น 8) การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยสร้างเครือข่ายพันธมิตร LSPs ในแต่ละประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกและเจรจา ในการขนส่งผ่านประเทศนั้นๆจุดชายแดนในแต่ละจุดควรมีประสานงาน และแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงเจรจาร่วมกันถึงการผ่อนปรนกฎระเบียบการขนส่งสินค้าระหว่างกันให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเป็นต้น

นอกจากนี้ โครงการศึกษาฯ ยังมีข้อเสนอแนะอีกหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ ของไทย ทั้งทางบก ทางรางและทางน้ำ ข้อเสนอแนะด้านกฎระเบียบของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และ ข้อเสนอแนะอื่นๆ อาทิ เร่งดำเนินการโครงการศึกษา โครงสร้างของการขนส่งสินค้าทางทะเลทั้งระบบ เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบาย และกลไกในการควบคุมค่าใช้จ่ายของการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ และการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่และผลักดันการปรับปรุงด้าน Soft side regulation และ Facilitation เพื่อช่วยสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้มีการให้การสนับสนุนและให้การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทั้งภาคอุตสาหกรรม ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการขนส่ง โดยเฉพาะ SMEs ได้มีความเข้าใจถึงผลกระทบและการเตรียมตัวในเรื่องการปรับตัว เพื่อที่จะสามารถแข่งขันการค้าระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค

กระบองเพชร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:32 น. เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ
16:24 น. 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
16:22 น. 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
16:19 น. 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
16:14 น. ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ

'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน

อดีตผู้พิพากษาเลคเชอร์ 6 ข้อ ‘ทักษิณ’ทำอย่างน้อย 4 ครั้ง เสี่ยงครอบงำ-‘พท.’อาจถูกยุบพรรค

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

  • Breaking News
  • เปิดศึกปลาร้า! \'กัมพูชา\'ซัดไทยใช้ตราสินค้า\'ปลาฮกเสียมเรียบ\'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ
  • \'กัน จอมพลัง\'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
  • \'ทิดประดิษฐ์\'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
  • \'สะพานเข้าชุมชนถล่ม\' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
  • ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้ ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

10 ก.ค. 2568

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

3 ก.ค. 2568

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

26 มิ.ย. 2568

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

19 มิ.ย. 2568

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว  การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

12 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

5 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

29 พ.ค. 2568

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

22 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved