nn เป็นเรื่องที่น่าตั้งข้อสังเกตไม่น้อยเลยนะ...เกษตรกรของไทยมากถึง 40% ทั้งประเทศ แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้แค่ 8.5% จีดีพี...คนที่รวยที่สุดในประเทศคือคนในกลุ่มทุนภาคการเกษตร...แต่เกษตรกรไทยยิ่งทำยิ่งจน...ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้..ช่วง 9-10 ปี...มีการพักหนี้เกษตรกร14 ครั้ง...แต่เกษตรกรก็ยังเป็นหนี้...ซ้ำร้ายกว่านั้น...กลายเป็นหนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้นอีก...ตัวเลขล่าสุด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)...ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของพี่น้องเกษตรกรไทย...แบกหนี้เสีย (NPL) 12%...พุ่งพรวดขึ้นมานับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19...การนี้ก็เลยต้องรอดูฝีมือของ คุณฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธ.ก.ส.ว่าจะทำให้ NPL ลดลงเหลือ 8.5% อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้หรือไม่(โดยไม่ตัดหนี้ขาย)...!! แต่กว่าจะถึงตรงนั้น...จะไม่พูดถึงนโยบายพักหนี้เกษตรกร..ท่าไม้ตายของพรรคเพื่อไทย..ที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้…เพราะดูเหมือนจะเป็นผลงานชิ้นแรกของรัฐบาลนี้...ซึ่งก็ใช้เงินงบประมาณไปกว่าหมื่นล้านบาท...โดยมี คุณจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (จากพรรคเพื่อไทย)...เป็นหัวหมู่ทะลวงฟันออกหน้ามาพูดจาและอธิบายเกี่ยวกับนโยบายนี้อย่างเด่นชัดอยู่คนเดียว...ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายนี้..แวดวงการเงิน...คงไม่ต้องเขียนถึงซ้ำอีกหลายคนคงได้อ่านในข่าวกันไปแล้ว...สิ่งที่ต้องรอดูกันต่อจากนี้อีก 3 ปี คือ ลูกหนี้ ธ.ก.ส.ที่เข้าเกณฑ์การพักหนี้รอบนี้ ประมาณ 2.6 ล้านราย...จะพ้นสภาพจากการเป็นหนี้ได้หรือไม่..หนี้จะลดลงหรือไม่..หรือหนี้จะเพิ่มขึ้นและกลับมาเป็นหนี้เสียอีกครั้งเมื่อหมดระยะเวลาการพักชำระหนี้...!! ไม่กี่วันก่อนหน้า...สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์... และ ข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาจากเครดิตบูโร...ชี้ว่ากว่า 90% ของเกษตรกรไทยมีหนี้สินเฉลี่ยมากกว่า 450,000 บาทต่อครัวเรือน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง...และเพิ่มขึ้น 75% ในรอบ9 ปี... ที่สำคัญคือครัวเรือนเกษตรกรกว่าครึ่งมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ (เป็นหนี้เรื้อรัง หรือ persistent debt) เพราะปริมาณหนี้สูงเกินศักยภาพ ทำให้การชำระหนี้ส่วนใหญ่จ่ายคืนได้เพียงดอกเบี้ยเท่านั้น...ผลจากการศึกษาทางวิชาการชี้ว่า...มาตรการพักหนี้เกษตรกรในอดีตไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน เห็นได้จากเกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มียอดหนี้สูงขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้ามาตรการ...เหตุจาก 77% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ ได้รับสินเชื่อใหม่ระหว่างการพักหนี้ ...50% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ ขาดการจ่ายภาระดอกเบี้ยที่ยังเดินอยู่ และเกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีแนวโน้มเป็นหนี้เสียสูงขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากวินัยทางการเงินที่ลดลง หรือเสียกำลังใจที่เห็นยอดหนี้คงค้างปรับสูงขึ้นมาก...สุดท้ายมีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะกลับเข้าไปพักหนี้ซ้ำอีกจนกลายเป็นติดกับดักหนี้ในที่สุด...!! มาถึงตรงนี้..ก็ได้แต่หวังว่าการพักหนี้เกษตรกรรอบนี้จะมีอะไรที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์กว่าครั้งก่อนๆ ที่ทำให้เกษตรกรไทยพ้นจากกับดักหนี้ได้...ที่สำคัญช่วงนี้ราคาสินค้าเกษตรสำคัญปรับตัวดีขึ้นจากผลที่หลายประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน...ดูสิว่าสุดท้ายแล้วอานิสงส์นี้จะตกถึงมือเกษตรกรไทย...หรือกลุ่มทุนภาคการเกษตร...nn
อนันตเดช พงษ์พันธุ์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี